++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

ความรู้ เกี่ยวกับวันตรุษจีน (Chinese new year)

 



"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ"

 ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย


ความรู้เกี่ยวกับ "วันตรุษจีน"

น ับเป็นประเพณีนิยม ในวันตรุษจีน ที่เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนชาติจีนแผ่นดินใหญ่และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน    นั่นแสดงว่าเป็นสัญญาณอันดีที่จะมีงานรื่นเริง การสวมใสเสื้อสีแดงสด อันเป็นสีที่เป็นศิริมงคลของพี่น้องชาวจีน อาจจะบอกดว่าเป็นวันครอบครัว ที่ จะได้พบปะสังสรรค์ กินเลี้ยงอย่างมีความสุข ...อันเป็นวันที่เปี่ยมไปด้วยการให้ทาน การทำบุญทำกุศล  หรือแม้กระทั่งที่วัดจีนประชาสโมสร  ก็มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ทำทานในวันขึ้นปีใหม่  นำมาซึ่งความปิติ-มีความสุขเปี่ยมล้น  มีผลทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ทำงาน-ค้าขายให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป...

เ ทศกาลจีนมีอยู่มากมาย ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่ ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง

          คืนก่อนวันปีใหม่ คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่

    ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน


              ป ระวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว


              ต รุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น


              ว ันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมาก ที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายใ ห้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง


              เ มื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones"(อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ใ นวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน



จับฉ่าย.คอม

ตรุษจีน : มงคลอาหารไหว้

 กับข้าวไหว้บรรพบุรุษทำไมมักเหมือนกันทุกครั้ง เช่น ลูกชิ้นปลาผัดต้นกระเทียม เป๊าฮื้อน้ำแดง ขนมกุ๊ยช่าย ฯลฯ เป็นข้อบังคับเหมือน หมู เป็ด ไก่ หรือเปล่า คำตอบคือ เมนูกับข้าวไหว้เจ้า หลายบ้านจะคล้ายๆ กัน เพราะนิยมทำกับข้าวที่มีความหมายมงคล ก็เหมือนที่คนไทยนิยมมีขนมมงคล 9 อย่างในเครื่องขันหมาก มีขนมทองหยิบ ทองหยอด ในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่


 อ ย่างไรก็ตามแต่ละบ้านอาจไหว้เมนูไม่เหมือนกัน และการแปลความหมายก็อาจต่างกัน การคิดเหมือนคิดต่าง การทำเท่ากันหรือไม่เท่ากันในเรื่องธรรมเนียมของแต่ละบ้านนั้นเป็นเรื่องธรร มดา

เพราะคนจีนและคนไทยต่างก็มีพื้นความคิดที่เหมือนกันว่า กับข้าวคาวหวานที่ใช้ไหว้หรือทำบุญ นิยมเลือกที่มีความหมายมงคล



ชุดของไหว้ที่เป็นของคาว 5 อย่าง ได้แก่ หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร (ต่อมากุ้งมังกรหายาก จึงเปลี่ยนเป็นเป็ดสำหรับคนจีนแต้จิ๋ว และเปลี่ยนเป็นปลาหมึกแห้ง สำหรับคนจีนแคะ)

หมู มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ด้วยความอ้วนของตัวหมู สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดี

ไก่ มีมงคล 2 อย่างคือ
1. หงอนไก่สื่อถึงหมวกขุนนาง ความหมายมงคลจึงเป็นความก้าวหน้าในงาน
2. ไก่ขันตรงเวลาทุกเช้า สะท้อนถึงการรู้งาน

ตับ คำจีนเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับคำว่า กัว ที่แปลว่าขุนนาง

ปลา คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ฮื้อ โดยมีวลีมงคล อู่-ฮื้อ-อู่-ชื้ง แปลว่า ให้เหลือกินเหลือใช้ ไหว้ปลาเพื่อให้มีเงินเหลือกินเหลือใช้มาก ๆ

กุ้งมังกร ไหว้ด้วยรูปลักษณ์ของกุ้งที่หัวใหญ่ มีก้ามให้ความรู้สึกถึงอำนาจวาสนา



ชุดกับข้าว หลากหลายอย่าง บางบ้านเหมือน บางบ้านต่าง ซึ่งก็ไม่เป็นไร

1. ลูกชิ้นปลา จีนแต่จิ๋วออกเสียงว่า ฮื้อ-อี๊ แปลว่า ลูกปลากลมๆ ฮื้อหรือปลา คือให้เหลือกินเหลือใช้ อี๊ แปลว่ากลมๆ หมายถึงความราบรื่น

2. ผัดต้นกระเทียม เพราะคนจีนแต้จิ๋ว เรียกกระเทียมว่า สึ่ง พ้องเสียงกับสึ่งที่แปลว่านับ ไหว้ต้นกระเทียม เพื่อให้มีเงินมีทองให้ได้นับอยู่เสมอ

3. ผัดตับกับกุยช่าย ตับคือ การเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับกัวที่แปลว่า ขุนนาง กุยช่ายเป็นการพ้องเสียงของคำว่ากุ่ย แปลว่า แพง รวย

4. แกงจืด คนจีนเรียกว่า เช็ง-ทึง เช็ง แปลว่า ใส หวาน ซดคล่องคอ การไหว้น้ำแกงก็เพื่อให้ชีวิตลูกหลานหวานราบรื่น

5. เป๊าฮื้อ เป๊า หรือ เปา แปลว่า ห่อ ส่วน ฮื้อ คือเหลือกินเหลือใช้ ไหว้เป๊าฮื้อ เพื่อห่อความมั่งคั่เหลือกินเหลือใช้มาให้ลูกหลาน

6. ผัดถั่วงอก คนจีนแต้จิ๋วเรียกถั่วงอกว่า เต๋าแหง๊ แต่ภาษาวิชาการเรียกว่า เต้าเหมี่ยว เหมี่ยว แปลว่า งอกงาม ไหว้ถั่วงอกเพื่อให้งอกงามรุ่งเรือง

7. เต้าหู้ เป็นคำเรียกแบบชาวบ้านที่อาจเรียกเป็นเต้าฮกก็ได้ ฮก คำนี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงเต้าหู้ว่า โต ฟู ฟู แปลว่า บุญ ความสุข

8. สาหร่ายทะเล เรียกว่า ฮวกฉ่าย ถ้าออกเสียงเป็นฮวดไช้ ก็แปลว่า โชคดี ร่ำรวย



ชุดขนมไหว้ ก็ล้วนมีความหมายมงคล เช่นกัน

1. ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน

2. ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม

3. ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่างๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว

4. ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต

5. ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพอง

ฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต

ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แปลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงาม และชีวิตหวานอย่างขนม

6. ขนมอี๊ อี๊ หรืออี๋ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ต้มกับน้ตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน



ชุดผลไม้ที่มีความหมายมงคล เช่น

1. ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่ายๆ แบบชาวบ้านก็คือโชคดี

2. กล้วย จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เก็ง-เจีย จะเล่นเสียงว่า เก็ง-เจีย-เก็ง-ไล้ แปลว่า ถึงโชคเข้ามา กับอีกความหมายว่า กล้วย มีผลมากมายแถมเป็นเครือ จึงมีมงคลให้ลูกหลานมากๆ มีวงศ์วานว่านเครือสืบสกุล

3. องุ่น จีนแต้จิ๋วเรียกว่า พู่-ท้อ พู่ ก็คือ งอก หรืองอกงาม ท้อ ก็คือ พ้องเสียงกับลูกท้อที่เป็นผลไม้มงคล อายุยืน

4. สับปะรด คนจีนแต้จิ๋วเรียก อั้งไล้ แปลว่า เรียกสีแดงมา สีแดงเป็นสีของโชค ก็ประมาณว่าเรียกโชคเข้ามา คนจีนทางใต้นิยมไหว้สับปะรดมาก


ช ่วงเทศกาลสารทจีน และไหว้สิ้นปีที่มีไหว้ผีไม่มีญาติ จะมีการไหว้กับข้าวที่ทำเป็นปริมาณมากๆ เช่น ผัดหมี่หม้อใหญ่ๆ ข้าวหอมหม้อใหญ่ๆ และเผือกนึ่งหัวใหญ่ ซึ่งความหมายของเผือกมาจากลักษณะนามที่เรียกเผือกว่าหัว ไหว้เผือกจึงไหว้เพื่อให้มีหัวมีหาง แปลว่า เพื่อให้ครบหัวครบหาง ครบสมบูรณ์ดี

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"

ตรุษจีน กับทุกกิจกรรมทำเพื่อให้เฮง-เฮง







 ทำไมการไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภจึงเปลี่ยนทิศทุกปี


  ทุกครั้งที่ใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีน  ผู้เขียนมักถูกระหน่ำถามถึงทิศที่ไช้ซิ้งเอี๊ย  หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จลงมา  เพราะต้องเปลี่ยนทุกปี  ตลอดจนเวลาไหว้  และหลายครั้งก็จะมีมือใหม่ขอถามถึงของที่ต้องไหว้เพราะอยากไหว้บ้าง





เ นื่องจากเนื้อแท้ของการไหว้ไช้ซิ้งเอี๊ย  หรือการไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ  คือการไหว้รับทิศที่โลกจะหมุนเข้าหา  ณ  เวลาแรกของวันตรุษจีน  ทำให้ธรรมเนียมไหว้ใช้ซิ้งเอี๊ย  จะต้องเป็นกลางดึกคืนวันสิ้นปีของจีนขณะย่างเวลาเข้าวันตรุษจีนเสมอ

ของไหว้เด่นจริงๆ  ที่การไหว้อื่นๆ  ของจีนไม่มีคือ  การนิยมไหว้ กิมฮวย  คำเต็มจะเรียกว่ากิมฮวยอั้งติ้ว  แปลง่ายๆ  ว่าดอกไม้ทองผ้าแพรแดง  ดั้งเดิมเป็นเครื่องประดับหมวกยศของจอหงวนและขุนนางผู้ใหญ่ใช้ออกงานสำคัญ

 เกิดเป็นธรรมเนียมต่อมาว่าคนจีนนิยมนำกิมฮวยมาปัก ประดับที่กระถางธูป  เพื่ออวยพรให้ลูกหลาย  ก้าวหน้ารุ่งเรืองได้เป็นใหญ่เป็นโต  แล้วเกิดเป็นความนิยมว่ากิมฮวยนี้จะซื้อคู่ใหม่มาเปลี่ยนในวันตรุษจีน  โดยนำมาไหว้ใช้ซิ้งเอี๊ย  เพื่อให้เป็นสิริมงคลก่อน

ของไหว้พิเศษอีกอย่างที่หลายบ้านน่าจะมีเหมือนกัน คือ  ข้าวสารบางบ้านใส่จานไหว้  แต่ที่บ้านผู้เขียนอาม้าจะใส่ในกระถางธูป  ให้เป็นที่ปักธูปไปเลย  แล้วข้าวสารนี้เมื่อไหว้เสร็จก็จะถูกนำมาหุงทานกันเพื่อให้เฮงเฮง

 เช่นเดียวกับของไหว้อื่นๆ  ก็ล้วนต้องการให้มีความหมายอวยพรเฮงๆ  อันได้แก่

•  ขนมอี๋  ขนมบัวลอยที่ทำจากข้าวเหนียว  ปั้นเป็นลูกกลมๆ  ต้มกับน้ำตาลหวานใส  เวลาเคี้ยวก็ทั้งนุ่มและหวาน  เป็นการอวยพรให้ทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิตล้วนง่ายและหวาน
• ขนมจันอับ  ซึ่งเป็นขนมแห้งๆ  ๕  อย่างอันได้แก่  ข้าวพอง  ถั่วตัด  งาตัด  ถั่วเคลือบ  และฟักเชื่อม  โดยข้าว-ถั่ว-งา  คือธัญพืช  คนจีนแต้จิ๋ว  เรียกว่า  เจ๋งจี้  ธัญก็ดี  เจ๋งจี้ก็ดี  ล้วนมีความหมายว่างอกงาม  ปลูกแล้วงอกง่าย  ขอให้ชีวิตได้เจริญก้าวหน้าเหมือนธัญพืชที่งอกง่าย
• ส้มไหว้  ๑ จาน  กี่ผลก็ได้แต่นิยมให้เป็นส้มสีทอง  โดยความนิยมไหว้ส้มมาจากคำเรียกส้มคำหนึ่งว่า  ไต้กิก  แปลตรงตัวตามหลักก็คือ  มหาสิริมงคล  แต่ถ้าแปลง่ายๆ  อย่างชาวบ้านก็คือโชคดี
• ชาน้ำไหว้เพื่อให้ใสๆ  ซดคล่องคอ  ขอให้ชีวิตคล่องๆ  ไม่ติดขัด  ทำอะไรก็คล่องแคล่วชำนาญ
• ชาใบก็ไหว้ได้ถ้าไม่อยากชงชาน้ำ  หรือจะไหว้ทั้งชาน้ำชาใบ  เพื่อให้มีสต็อกอาหารเก็บไว้กินไม่มีขาด
• กระดาษเงินกระดาษทองก็ไหว้  เพื่อให้มีเงินมีทองนั้นแล
•  ดอกไม้เพื่อความสดชื่น  บางบ้านเน้นจัดไหว้แต่สีแดง  เพื่อให้เฮงเฮง  กับอีกหนึ่งปัญหาที่มักงงกันว่าขนมอี๋ก็ดี  ชาก็ดีจัดวางกี่ที่เพราะบางบ้าน  ๓ ที่  บางบ้าน  ๕ ที่  กรณีนี้มาจากการมีใช้ซิ้งเอี๊ยหลายองค์หลายแบบ

แบบหนึ่ง  คือไช้ซิ้งเอี๊ยมีองค์บู๊กับองค์บุ๋น  อีกแบบคือ โหงวโหล่วไช้ซิ้งเอี๊ย  หมายถึงเทพเจ้าแห่งโชคลาภประจำธาตุทั้ง ๕  คือ  ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไม้  ธาตุไฟ  และธาตุทอง  ถ้ามีครบในดวงชะตาก็จะนำพาให้ชีวิตราบรื่นรุ่งเรือง  กับแบบที่เป็นไช้ซิ้งเอี๊ย ๕ หน้า  หมายถึง  ๕ทิศ   สะท้อนแก่นแท้ของธรรมเนียมตรุษจีนว่า  ทำเพื่ออวยพรให้เฮง เฮง  ก็จริง  แต่ในรายละเอียดอาจมีแตกต่างกันแล้วแต่นิยม

ทำไมการให้เงินตรุษจีน  จึงเป็นเงินอวยพร

  กิจกรรมเด่นอย่างหนึ่งของเทศกาลตรุษจีน  ซึ่งเด็กๆ  จะชอบมากคือการได้เงินแต๊ะเอีย  หรือจะเรียกว่า  อั่งเปา  ที่แปลว่าซองแดงก็ได้จากผู้ใหญ่  โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน  แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ

โดยแต่โบราณ   เรียกเงินนี้ว่า  เงินเอี๊ยบส่วยจี๊
 เอี๊ยบ แปลว่า กด , อัด , ห้าม
 ส่วย แปลว่า อายุ

  เอี๋ยบส่วยจี๊  เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา  ตามตำรา  ๑๐๐  ธรรมเนียมจีนโบราณ  ที่ผู้เขียนมี  บอกว่าดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี  ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง ๑๐๐ อัน ร้อยด้วยด้ายแดงผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง  เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊  โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า  ส่วนที่แปลว่าอายุนี้  พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย  ที่แปลว่าผี  ปีศาจ  และคำว่า  ซวย  เอี๊ยบส่วย  หรือเอี๊ยบซวย  จึงแปลว่า  ห้ามความซวยหรือผี  ปีศาจมาสู่

 เงินร้อยด้ายแดงทั้งพวงนี้  ดั้งเดิมเด็กๆ  คงห้อยไว้กับเชือกผูกเอว  เกิดคำว่าแต๊ะเอีย  แปลว่า  ถ่วงเอว
  บางบ้านมีการวางส้มสีทองและลิ้นจี่ไว้ที่หมอน  แล้วให้เด็กๆ รับประทานก่อนนอนในคืนวันตรุษจีน  เรียกผลไม้นี้ว่า  เอี๊ยบส่วยก้วย  เพื่ออวยพรให้โชคดี  ซึ่งคนจีนในไทยไม่ได้นำธรรมเนียมวางเอี๊ยบส่วยก้วย  ไว้ที่หมอนให้ลูกหลานทาน  แต่จะเป็น  การนำส้มสีทองหรือ ไต้กิก  ๔ ผล  ไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่หรือญาติมิตรที่นับถือกันมากกว่า  เรียกธรรมเนียมนี้ว่า  ไป๊เจีย

โดยมีเคล็ดธรรมเนียมว่า  เมื่อเรารับส้ม ๔ ผล ที่ห่อในผ้าเช็ดหน้าผู้ชายของผู้ให้มา  ก็ให้นำไปเปลี่ยน  โดยนำส้มของแขกออกมา  ๒ ใบ  แล้วใส่ส้มของเราเข้าไปแทน  ๒  ใบ  ผูกห่อผ้าเช็ดหน้าคืนแขกไป  ดังนั้นส้มสีทอง ๔  ผลนี้  ก็จะมีส้มของแขก  ๒ ใบ  กับของเราอีก  ๒ ใบ  ถือเป็นการนำโชคดีมามอบให้และแลกเปลี่ยนโชคกันด้วย

 ส่วนเงินสิริมงคนั้น  จะมีอีกตำราของผู้เขียนเรียกว่า  เงินเอี่ยมเส่งจี่  หมายถึงเหรียญเงินที่พิชิตความไม่ดี  คำเต็มๆ  คือจับยี่แซเสี่ยวเอี่ยมเส่งจี๋  เป็นเงินเหรียญรูป  ๑๒ ปีนักษัตร  สำหรับเป็นเครื่องรางคุ้มครองทุกดวงชะตาให้สันติสุขปลอดภัย

 แล้วต่อมาเงินเอี๊ยบส่วยจี๋  ที่เป็นเหรียญ  ๑๐๐ อันร้อยเชือกแดงก็ดี  เป็นเงินเอี่ยมเส่งจี๋ ๑๒ นักษัตรก็ดี  ต่อมาก็พัฒนาเป็นการให้ธนบัตรใหม่ๆ ใส่ซองแดง  เรียกว่าเงินอั่งเปาก็ได้  เงินแต๊ะเอีย  ก็ดี  สืบมาโดยคำนึงว่าเงินเอี๊ยมส่วยจี๋ได้หายไป  หากเคล็ดการให้ก็ยังคงเพื่ออวยพรนั่นเอง  เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับว่า
 ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้เด็กเล็กๆ  นี่คือการอวยพรให้เจ้าตัวน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง
 ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว  ก็เพื่ออวยพรให้เจริญก้าวหน้าสุขภาพแข็งแรง
  หากเป็นลูกที่ทำงานแล้วให้พ่อแม่  ก็คือเพื่ออวยพรให้ท่านแข็งแรงอายุยืนยาว  โดยการที่ลูกให้พ่อแม่  และพ่อแม่ให้ลูกนั้น  ต้องเป็นเงินของใครของมัน  ไม่ใช่ว่าลูกให้พ่อแม่  เมื่อพ่อแม่รับเงินอั่งเปาจากลูกก็ส่งคืนเงินทั้งซองกลับไป  แต่ต่างฝ่ายต่างควรเตรียมเงินของตนไว้ให้เรียบร้อย

 และเพื่อให้ครบถ้วนความรู้  แม้ว่าผู้เขียนจะเคยเล่าไปแล้วก็ตาม  นั่นคือ  ธรรมเนียมการให้เงินเป็นเลขคู่สี่  โดยเริ่มต้นนับแต่จำความได้  ผู้เขียนจะได้เงินแต๊ะเอียจากคุณพ่อเป็นแบงก์ร้อยใหม่  ๔ ใบ  แล้วปีต่อมาก็เบิ้ลเป็นแบงก์ร้อยใหม่ๆ ๘ ใบ  ปีถัดมาก็เป็นเงินใหม่ ๑,๒๐๐ บาท  คือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี  แต่ต้องให้หาร ๔ ลงตัว  ปีต่อมาเป็นแบงก์ ๕๐๐  ๔ ใบ  เป็นเงิน  ๒,๐๐๐ บาท

 ที่เล่าถึงประสบการณ์จริงตรงนี้  เพื่อเล่าถึง  ๒  ความนัยว่า  นัยหนึ่ง  คือ  มงคลพรเลข ๔  จากความหมายพ้องเสียงสี่ว่า  ให้เพื่อ...ซี้วี่อู่หอซิว  แปลว่า  ทุกชาติทุกเวลาให้มีแต่รับเข้ามา   ให้เพื่อ...อู่จี๊อู่สี่  แปลว่า  ให้มีเงินมีอานาจวาสนา

 ส่วนการให้เพิ่มทุกปี  เพื่ออวยพรตัวผู้ให้ว่า  ขอให้ท่านการค้าก้าวหน้ากว่าเดิม  จึงให้ลุกๆ เพิ่มได้ทุกปี  จนไปสะดุดเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี  คุณพ่อก็ถือว่าไม่ให้ลดลงแต่จะให้เท่าเดิม  แม้ว่าบางปีนั้นคุณพ่อบอกว่า...ต้องกัดฟันก็ตาม

ซึ่งเคล็ดธรรมเนียมเหล่านี้  หากบ้านใดจะทำเหมือนหรือไม่เหมือนอย่างไร  ก็ล้วนไม่เป็นไรทั้งสิ้น  อยู่ที่ตัวของทุกท่านว่า  มีความสุขสบายใจ  ขอให้บ่วงสื่อยู่อี่  ทุกเรื่องสมปราถนานะคะ

ทำไมตรุษจีน  จึงจุดประทัดและเชิดสิงโต

  ขอเริ่มจาธรรมเนียมจุดประทัดก่อนว่า  เกิดจากในอดีตมีคนหัวใสนำดินระเบิดไปบรรจุในบ้องไม้ไผ่เล็กๆ  แล้วจุด  เสียงไม้ไผ่ระเบิดก็ดังสนั่นหู  เด็กเล็กได้ยินก็ร้องจ้า  บรรดาสุนัขและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต่างพากันกลัวเสียงประทัดวิ่งหนีกันได้

 ทำให้มีคนคิดว่าเสียงดังโป้งป้างของประทัด  น่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนได้  ซึ่งเหนียนคำนี้เป็นเสียงจีนกลาง  จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า  นี้  แปลว่า  ปี  คนจีนโบราณเชื่อว่าช่วงสิ้นปีที่อากาศหนาวเย็นจัดคนไม่สบายกันมาก  เพราะเจ้าตัวเหนียนออกมาอาละวาด  การจุดประทัดเสียงดังน่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนและโรคภัยไข้เจ็บให้ตกใจกลัวหนีไ ปได้

แล้วต่อมาธรรมเนียมนี้ก็ปรับไปว่า  จุดประทัดให้เสียงดังๆ นี้จะเรียกโชคดีให้มาหา  บ้างก็ว่า  เพื่อให้สะดุดหูเทพเจ้า  ท่านจะได้มาช่วยคุ้มครอง

 ส่วนการเชิดสิงโตวันตรุษจีน  ที่บางท้องที่จัดเป็นพิธีแห่มังกรใหญ่โต  ธรรมเนียมนี้มีความเป็นมาอย่างไร   จำได้ว่าเคยเขียนเรื่องการเชิดสิงโตไว้ในตอนความรู้จากคำ...สิงห์  ปัจจุบันอยู่ในหนังสือขุมทรัพย์ความรู้ซ่อนอยู่ในคำจีน

โดยคนจีนเรียกการแสดงเชิดสิงโตว่า  ไซ่จื้อบู่  แปลง่ายๆ ว่า  ระบุลูกสิงโต  จัดอยู่ในหมวดการแสดงสวมหน้ากากสัตว์  จากบันทึกของราชวงศ์เหนือ...ใต้  (พ.ศ. ๘๕๐ – ๑๑๓๒)  เมื่อชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง  มีการแสดงเชิดสิงโตเพื่อไล่ผีที่เชื่อว่า มาลงกินผู้ชายและสัตว์เลี้ยง  ก่อเกิดเป็นความเชื่อว่า  เชิดสิงโตช่วยไล่ภูตผีปีศาจได้  ก็เลยเข้าคู่กันเหมาะมากกับการจุดประทัดวันตรุษจีน

ส่วนการแห่มังกร  ก็เริ่มจากในสมัยราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน  (พ.ศ. ๒๕๔ – ๓๓๙)  จัดเป็นการแสดงเล็กๆ  แล้วมาจัดเป็นโชว์ใหญ่ที่สวยตระการตาในสมัยราชวงศ์ฮั่น  (พ.ศ. ๓๓๗ – ๗๖๓)  โดยเริ่มต้นจะมาจากตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูสวรรค์ก็จะกลายเป็นปลามัง กรมีฤทธิ์เดช  โดยปลามังกรนี้  คือสัตว์ยิ่งใหญ่มีพลังอำนาจ  ใครได้พบได้ชมก็จะได้รับพลังช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีทำมาหากินได้ผลบริบูรณ ์

 แต่เนื่องจากทั้งการเชิดสิงโตและแห่มังกรนี้  ผู้แสดงต้องมีความสามารถพิเศษในเชิงกายกรรมต่อตัว  การสมดุลตัว  ที่สุดของการเชิดสิงโตคือการได้ซองอั่งเปา  สุดยอดของการแห่มังกรคือ  การต่อตัวขึ้นไปเพื่อหยิบซองอั่งเปาบนไม้สูง
 ที่เมื่อทำได้  ความหมายของการได้ซองอั่งเปานี้คือ  การจะได้โชคดีกันถ้วนหน้าตลอดปีทีเดียว









  เพลง : เถียนมี่มี



ศิลปิน : เตื้งลี่จวิน



เถียนมี่มี่ หนี่เซี้ยวเตอะเถียนมี่มี่



ฮาวเซี้ยงฮัวเอ๋อ คายจ้ายชุนฟงลี



คายจ้ายชุนฟงลี







จ้ายน๋าลี จ้ายน๋าลีเจี้ยนกั่วหนี่



หนี่ตี้เซี้ยวหลงเจ๋อะยังโซวซี หว่ออีซือเซี่ยงปู่ชี



อา....จ้ายหม่งลี







หม่งลี หม่งลี เจี้ยนกั่วหนี่



เถียนมี่ เซี้ยวเตอะตั่วเถียนมี่



ซื่อหนี่ ซื่อหนี่ หม่งเจี้ยนลีจิ้วซื่อนี







จ้ายน๋าลี จ้ายน๋าลีเจี้ยนกั่วหนี่



หนี่ตี้เซี้ยวหลงเจ๋อะยังโซวซี หว่ออีซือเซี่ยงปู่ชี



อา....จ้ายหม่งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น