++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

ม.ราม วิจัยขมิ้นชันหยุดโรคเหงาหลับ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     25 ธันวาคม 2551 11:20 น.
พืชสมุนไพรไทย "ขมิ้นชัน"ช่วยหยุดโรคเหงาหลับ
   
       มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับมหาวิทยาลัยในสกอตแลนด์ ท ดสอยขมิ้นชันฆ่าเชื้อโปรโตซัวขึ้นสมอง สาเหตุโรคเหงาหลับที่พบมากในแอฟริกา ชี้ แนวโน้มอาจจะระบาดในไทย ซึ่งจากเหตุจากภาวะโลกร้อน พร้อมเสนอขอรับทุนวิจัยในคนจากองค์การอนามัยโลก หวังพัฒนายาประสิทธิภาพสูงจากสมุนไพรสู้เชื้อดื้อยา
      
       ศ.อภิชาติ สุขสำราญ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า ทางภาควิชาเคมีมีโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัย Glasgow ทดสอบสาระสำคัญจากขมิ้นชันในสัตว์ทดลอง เพื่อศึกษาความเป็นพิษและการออกฤทธิ์ทำลายโปรโตซัวในตระกูลปรสิต ซึ่งเป็นสาเหตุจากโรคเหงาหลับแอฟริกา
      
       " โรคเหงาหลับแอฟริกา หรือโรคไข้แกมเบียน พบในแถบแอฟริกา แม้ว่ายังไม่พบในประเทศไทย แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน รวมทั้งการเดินทางข้ามถิ่นของทั้งคนและสัตว์"
      
       ศ.อภิชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยารักษาโรคเหงาหลับ เป็นยาสังเคราะห์ด้วยเทคนิคทางเคมีและเริ่มพบเชื้อดื้อยา ทำให้ยาที่มีอยู่ไม่ได้ผล ในขณะที่บริษัทยาขนาดใหญ่ปฏิเสธที่จะพัฒนายาใหม่ เนื่องจากโรคดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มโรคคนจน
      
       “ เราสามารถพัฒนายาตัวใหม่ที่ราคาถูก สามารถทดแทนยาที่ใช้อยู่ จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากถึง ซึ่งจากการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง เราพบว่า “เคอร์คิวมิน” เป็นสาระสำคัญของขมิ้นชันและขิง พืชในตระกูลเดียวกัน ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการฆ่าเชื้อโปรโตซัว
      
       จากการเปรียบเทียบระหว่างสารสกัดสมุนไพรกับยาที่ใช้ในปัจจุบัน พบว่าสมุนไพรมีประสิทธิภาพดีกว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคดื้อยาต่อยาสังเคราะห์ได้ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ขอรับทุนจากหน่วยงานสนับสนุนการวิจับระดับสาก ล เช่น องค์การอนามัยโลก รวมถึงแพทย์ที่รับช่วงไปศึกษาต่อในกลุ่มคนไข้ เนื่องจากโรคเหงาหลับเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก หลังจากเชื้อเข้าสมองแล้ว จะทำให้ประสาทส่วนกลางตาย ระบบหัวใจผิดปกติ ไตล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด ”
      
       สำหรับข้อดีของสารสกัดสมุนไพรอย่างขมิ้นชัน คือ ไม่เป็นพิษ หรือหากมีพิษก็อยู่ในปริมาณที่น้อย “ถ้าเราจะพัฒนาขมิ้นชันมาเป็นยาแผนปัจจุบันคาดว่าจะทำได้ง่ายกว่ายาที่สังเค ราะห์ทางเคมี นอกจากเราจะทำการวิจัยในสัตว์ทดลองแล้ว กว่าที่จะได้เป็นยามาใช้ได้จริงนั้น จะต้องผ่านการวิจัยในคน เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9510000151470

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น