++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ทุ่มพันล้านระดมสถาปนิกยกเครื่องสถานีอนามัย หลังพบ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่เอื้อผู้ป่วย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

       เตรียมแปลงโฉมสถานีอนามัย 1 หมื่นแห่งทั่วประเทศ หลังสำรวจพบ 80% เก่า ใช้บริการลำบาก ไม่เอื้อต่อผู้สูงอายุ พิการ ป่วยเรื้อรัง คนท้อง ระดมสถาปนิก นักออกแบบ ดัดแปลง สอ.เก่า ปรับปรุง น่าใช้บริการ ไม่เชย
      
      
       วันที่ 13 มกราคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข และสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) จัดงานแถลงข่าว “สถาปัตยกรรมใหม่ : ศูนย์สุขภาพชุมชนในทศวรรษหน้า” โดยนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปี 2552 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติให้จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบบร ิการปฐมภูมิ ยกระดับสถานีอนามัย (สอ.) ให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีแพทย์ พยาบาลและบุคลากรพร้อมดูแลประชาชนอย่างแท้จริงประมาณ 1,100 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สถานีอนามัยเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนที่ให้บริการปฐมภูมิ (primary care) อย่างมีคุณภาพ ใกล้บ้านใกล้ใจ รับใช้ชุมชนอย่างแท้จริง
      
       “ สำหรับงบประมาณจะจัดสรรเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นงบลงทุนในระบบบริการและระบบสนับสนุน วงเงินประมาณ 800 ล้านบาท และส่วนที่สอง งบค่าตอบแทน วงเงิน 300 ล้านบาท รวม 1,100 ล้านบาท โดยมอบหมายให้คณะกรรมการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักปร ะกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นผู้พิจารณาสนับสนุนแผนการบริหารงบพัฒนาบริการปฐมภูมิ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”นพ.วินัย กล่าว
      
       ด้าน นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) กล่าวว่า จากการสำรวจสถานีอนามัยทั้งระบบซึ่งมีอยู่ประมาณ 10,000 แห่ง ซึ่งเป็นแบบที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2525 และมีการแก้ไขปรับปรุงเมื่อปี 2536 จนกระทั่งถึงปัจจุบันประมาณร้อยละ 30 แต่ยังพบว่าสถานีอนามัยอีกร้อยละ 80 ต้องการการปรับปรุงเพิ่มเติม รวมถึงการสร้างสถานีอนามัยใหม่ในพื้นที่จำเป็น เช่น กิ่งอำเภอใหม่ สถานีอนามัยที่เก่าแก่มาก หรือ ต้องการเปลี่ยนสถานที่ก่อสร้างสถานีอนามัยใหม่ โดยเน้นให้สถานีอนามัยที่ปรังปรุงขึ้นใหม่ มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย มีความสะดวกสบายน่ามาใช้บริการมากขึ้น
      
       “ก ารปรับปรุงสถานีอนามัยที่ผ่านมา เป็นการต่อเติมอาคารขึ้นเอง โดยเฉพาะบริเวณชั้นล่างจากเดิมที่เป็นใต้ถุงโล่งก็มีการสร้างผนัง ติดแอร์ เพิ่มเคาน์เตอร์ ซึ่งทำให้ความใกล้ชิดระหว่างชุมชนกับสถานีอนามัยห่างเหินจากเดิม รวมทั้งโครงสร้างเก่าซึ่งเป็นแบบ 2 ชั้น ทำให้ลำบากในการเข้ารับบริการ ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพชุมชน ที่มีผู้สูงอายุผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรังจำนวนมากรวมถึงผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือ แม้แต่หญิงตังครรภ์”นพ.โกมาตร กล่าว
      
       นพ.โกมาตร กล่าวต่อว่า การออกแบบสถานีอนามัยศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาและสถาปนิกอิสระ ระดมความคิดส่งแบบประกวดโดยเน้นว่า เป็นออกแบบเพื่อปรับปรุงดัดแปลงสถานีอนามัยแบบเก่า พร้อมกับการสร้างสถานีอนามัยแบบใหม่ขึ้นมาเป็นต้นแบบที่สามารถยืดหยุ่น ให้มีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยจะคัดเลือกให้เหลือ 4 แบบ และมีการกำหนดงบประมาณเบื้องต้นขั้นต่ำประมาณ 500,000 บาทต่อสถานีอนามัย 1 แห่ง ส่วนแนวคิดของสถานีอนามัยแบบใหม่ ต้องรองรับ เอื้อต่อการทำกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการดูแลรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมทางสุขภาพ ที่จะเน้น การรักษา ป้องกัน ส่งเสริม และการฟื้นฟูสภาพ ที่สำคัญต้องเอื้อต่อการดูแลสุขภาพของคนทั้งครอบครัว ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดหรืออกแบบให้เหมาะกับสภาพชุมชน และเกิดความใกล้ชิดกันระหว่างสถานีอนามัยกับคนในชุมชน
      
       นพ.โกมาตร กล่าวีกว่า ขณะนี้มีแบบที่ผ่านเข้ารอบ จำนวน 15 แบบ เป็นแบบปรับปรุง จำนวน 8 แบบ และแบบใหม่ จำนวน 7 แบบ โดยจะมีการตัดสินผลงานรอบตัดสินโดยพิจารณาจากการนำเสนอผลงาน ในวันที่ 14 มกราคม 2552 และประกาศผลการตัดสินวันที่ 15 มกราคม 2552 ผลงานที่ชนะเลิศจะนำไปจัดแสดงในงาน “มหกรรมสุขภาพชุมชน 2552” (Community Health & Primary Care Expo 2009) ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2552 ด้วย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003680

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น