++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

“บันทึกเลือด 7 ตุลา” บันทึกประวัติศาสตร์แด่วีรชนพันธมิตรฯ

  


              วางจำหน่ายแล้ว หนังสือ “บันทึกเลือด 7 ตุลา” ตีแผ่ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ 7 ต.ค.ผ่านมุมมองประชาชนผู้อยู่ในเหตุการณ์จริง บก.แจงเป็นหนังสือประวัติศาสตร์สำคัญเล่มหนึ่ง ด้าน “บล็อกเกอร์” เผยที่ตั้งใจเขียน เพราะพบว่าสื่อ ส่วนใหญ่จงใจเซ็นเซอร์ตัวเอง และบิดเบือนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ 7 ต.ค. ย้ำใครทำอะไรเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ดีใจกรรมการสิทธิฯ ทำความจริงให้กระจ่าง
      
       สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ร่วมกับ MBlog (Blog ASTVผู้จัดการออนไลน์) จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “บันทึกเลือด 7 ตุลา (กลางเสียงปืนและแก๊สน้ำตา)” โดยเป็นการรวบรวมบทความตีแผ่ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงจากการที่ตำร วจสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
      
       สำหรับหนังสือเล่มดังกล่าว เป็นผลงานของสมาชิก MBlog หรือบล็อกเกอร์จำนวน 16 รายซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.และได้นำประสบการณ์จริงในแต่ละแง่มุมที่ตนเองพบเจอมาถ่ายทอดลงในบล็อก
      
       นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ และ หนึ่งในบรรณาธิการคัดสรร หนังสือ “บันทึกเลือด 7 ตุลา” ชี้แจงว่า การจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้นั้น ตั้งใจว่าจะเป็นการถ่ายทอดข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผ่านสายตาข องประชาชนคนธรรมดา เพื่อเสนอแง่มุมที่หลายหลายและเป็นจริงมากที่สุด เพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้คนไทยรุ่นหลังได้รับรู้
      
       “บันทึกเลือด 7 ตุลา กลางเสียงปืนและแก๊สน้ำตา รวบรวมมาจากประสบการณ์จริงของบรรดาบล็อกเกอร์ของ MBlog ที่บันทึกลงใน mblog.manager.co.th ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ 7 ตุลาคม โดยเป็นตัวแทนของการถ่ายทอดเรื่องราวที่ประชาชนคนไทยนับหมื่นคนที่อยู่ในเหต ุการณ์จริง ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ ความเจ็บปวด และความสูญเสียจริง โดยข้อมูลที่นำมาเขียนไม่ได้ถูกกรองมาจากสื่อที่สามารถคัดกรองหรือบิดเบือนข ้อเท็จจริงได้
      
       “ก่อนหน้าที่หนังสือบันทึกเลือด 7 ตุลา จะออก เราเคยรวบรวม “หนังสือพาหัวใจไปกู้ชาติ” ที่กล่าวถึงเรื่องราวและภาพเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มาก่อนแล้ว แต่เราก็ไม่นึกว่าจะต้องมาอ่านเรื่องราวและรวบรวมเรื่องราวที่สะเทือนใจมากถ ึงขนาดนี้ ... แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหนังสือเล่มนี้จะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ต้องเก็บไว้ให้ลูก ให้หลาน ให้เหลน และให้คนไทยได้อ่านต่อไป” นายวริษฐ์ กล่าว
      
       ด้าน showshow หนึ่งในบล็อกเกอร์ผู้มีผลงานอยู่ในหนังสือ “บันทึกเลือด 7 ตุลา” กล่าวเปิดใจว่า สาเหตุที่เขียนถึงเหตุการณ์นี้ก็เพราะรู้สึกผิดหวังต่อการรายงานข่าว ความรุนแรงเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ของสื่อมวลชนหลายสำนัก ที่มีความเที่ยงตรงน้อยกว่าคนธรรมดาที่เห็นเหตุการณ์จริงและนำเหตุการณ์เหล่ านั้นมาเขียนบันทึกไว้
      
       “เราทำงานอยู่กับข้อมูล เป็นผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง ... เหตุการณ์ที่ทำให้เราเสียใจที่สุด คือ ตอนเช้าวันที่ 8 ตุลาคม เมื่อเราเปิดหนังสือพิมพ์ หรือดูข่าวทางโทรทัศน์ พบว่าสื่อมวลชนหลายสำนักทำไมรายงานข่าวแบบนั้น เช่นบอกว่าพันธมิตรพกระเบิดมาเอง หรือคนขาขาดอยู่แล้ว แต่พอเรามาเปิดดูบล็อก (MBlog) ที่บันทึกจากคนที่อยู่ในเหตุการณ์จริง เห็นของจริงมา เราก็ดีใจที่รู้ว่าข้อมูลที่เราได้รับมันเป็นความจริง และเราไม่ได้บ้าไปคนเดียว
      
       “แล้วเป็นอย่างไร ตอนนี้ กรรมการสิทธิฯ ก็ออกมาเปิดเผยรายชื่อผู้เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแล้วส ุดท้ายใครทำอะไรไว้ เมื่อเวลาผ่านไปข้อเท็จจริงมันก็ต้องปรากฏออกมา ซึ่งการที่มีคนเขียนบันทึกเหตุการณ์ไว้มันก็จะเป็นประวัติศาสตร์ที่เอาไว้ให ้คนรุ่นหลังมาเปิดดูว่าความจริงแล้วมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง”
      
       สำหรับผลงานของบล็อกเกอร์ showshow ในหนังสือเล่มนี้มี 2 เรื่องคือ “ฝากให้นายสมชาย-เยาวภา วงศ์สวัสดิ์อ่าน” และ “แด่น้องโบว์...ในความเศร้ามียิ้มปนน้ำตา” ซึ่งเขาได้กล่าวถึงผลงานของตนเองว่าเป็นการบันทึกจากสิ่งที่ตนเองพบเห็นและก ลั่นกรองมาเป็นความรู้สึกที่อยากถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้
      
       “อย่างเรื่อง “ฝากให้ นายสมชาย-เยาวภา อ่าน” เขียนถึงจดหมายที่พ่อแม่เขียนถึงน้องโบว์ (น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ผู้เสียชีวิตรายหนึ่งจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.) คือ คิดว่า ถ้าอดีตนายกฯสมชายได้อ่านแล้ว ถ้าเขายังมีความเป็นคนอยู่ก็น่าจะรู้สึกอะไรบ้าง หรือเรื่อง “แด่น้องโบว์...” ก็เขียนถึงวันที่ไปร่วมงานศพน้อง มันเป็นเหตุการณ์ที่เราไม่เคยเจอในชีวิต ที่พระราชินีทรงเสด็จพระราชทานเพลิงศพคนธรรมดาคนหนึ่ง และคำพูดที่ท่านตรัสก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นประชาชนของพระองค์จริงๆ” showshow กล่าว
      
       ทั้งนี้ หนังสือ “บันทึกเลือด 7 ตุลา (กลางเสียงปืนและแก๊สน้ำตา)” ยังมีบทความที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง อาทิ “ตุลาเลือด 7 ตุลาคม 2551” “หัวใจ รอยเลือด คนรัก แก๊สน้ำตา และอ้อมกอดของแม่” “7 ต.ค. 51 พันธมิตรเลว สร้างความเดือดร้อน และสมควรตาย?” “น้ำใจน้องพี่สีชมพู” “แม่หลวงไม่เคยทิ้งประชาชน เรื่องราวของสองพันธมิตรเหยื่อกระสุนที่เราจะไม่ทิ้งกัน” ฯลฯ
      
       ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อได้ที่สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ โทร 0-2629-4488 ต่อ 2205-2209 หรือร้านหนังสือทั่วไป
      
       “บันทึกเลือด 7 ตุลา(กลางเสียงปืนและแก๊สน้ำตา)”
       ISBN 978-974-582-352-5
       จำนวน 176 หน้า
       สำนักพิมพ์ บ้านพระอาทิตย์


from http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000149351 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น