++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ที่ได้รับการสอน..

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ที่ได้รับการสอนแบบ กระบวนการวิจัย โดยเน้นโครงงาน
Critical Thinking Ability of Prathomsuksa V Students in Science Subject of Quality of Material Using Research-Based Method Specific
on Project Approach
นุศรา ทองนุ่น (Nootsara Thongnoon)*
ดร. นิตยา เปลฃื้องนุช (Dr.Nitaya Pleungnuch)**
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ที่ได้รับการสอนแบบกระบวนการวิจัย โดยเน้นโครงงาน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโกรกสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 21 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบกระบวนการวิจัย จำนวน 17 แผน ใช้เวลา 21 ชั่วโมง และแบบบันทึกผลหลังกิจกรรม แบบประเมินผลงานนักเรียนและ 2)แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดปรนัย จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น 0.71
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบกระบวนการวิจัย หลังการทดลอง นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 20.38 คิดเป็นร้อยละ 80.95 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา จำนวน 17 คน และจำนวนนักเรียนที่ผ่าน สูงกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
ABSTRACT
The objective of this study was to study critical thinking ability of Prathomsuksa V Students in Science Subject of Material Using Research Based Method taught by research process. The sample were 21 Prathomsuksa V Students, Ban Kroksamrong Scholl, the Office of Nakon Rachasima Educational Service Area 7, who were studying during the first semester of 2006 school year.
There were 2 types of instrument: 1) Seventeen Learning Management Plans teaching by research process, for 21 hours, and The Record Form after the activity, the Students’ performance assessment, and 2) the Critical Thinking Ability Test with an objective form, for 30 items.
The research findings, found that the average scores of critical thinking ability of students taught by research process after the experiment was 20.38 or 80.95%. Students could pass criterion of 70% based on standard criterion of the Office of Educational Standard and Quality Assurance, 17 students, or 80.95% of total number of students.
Considering each aspect of , inferential ability aspect, assumption determination aspect, deductive aspect, interpretation aspect, and ability aspect. For the argument aspect, found that after the experiment, the students showed their critical thinking ability higher than the criterion in every aspect.

คำสำคัญ : การสอนแบบกระบวนการวิจัย โดยเน้นโครงงาน, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Key words : research-based method specific on project approach, critical thinking
*มหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพื้นฐาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น