++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ใครว่าโลกกลม สื่อมวลชนไทยเอ๋ย (บทความที่ผู้ล้ำยุคควรอ่าน)

โดย รศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง,รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย     25 ธันวาคม 2551 16:48 น.


“ความเชื่อมโยงความรู้ของมนุษยชาติ
       จะก่อให้เกิดการก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่”
      
       ปราชญ์นิรนาม

      
       Thomas L. Friedman ในปี 2005 ได้แสดงทัศนคติของเขาว่า “โลกใบนี้แบน” จากหนังสือที่ขายดีที่สุดของเขาเล่มหนึ่งคือ The World is Flat: A Brief History of the Twenty-First Century ฉบับแปลภาษาไทยว่า “ใครว่าโลกกลม” ที่ผู้เขียนคิดว่าคนไทยควรอ่านมากที่สุดเล่มหนึ่งเพื่อที่จะได้เข้าใจการเปล ี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้
      
       อันที่จริงคนที่ชื่อ Friedman มีที่โด่งดังอยู่หลายคน เช่น Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของChicago Schoolเจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์เมื่อหลายปีก่อน รวมถึงบุตรชายของเขา David Friedmanที่จบการศึกษาด้านฟิสิกส์แต่มาสอนกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ หรือ Benjamin Friedman ก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Harvard แต่นาย Thomas L. Friedman คนนี้เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์
      
       แนวคิดว่าโลกใบนี้แบนของนาย Thomas L. Friedman มีที่มาจากการที่โลกของมนุษยชาติในปัจจุบันมีข้อจำกัด หรือข้อกีดขวางลดน้อยลงไปเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากเกิดการรวมกันมากขึ้น ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่า สิ่งกีดขวางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภูเขา แม่น้ำ ที่ปิดกั้นวิสัยทัศน์ หรือโอกาสต่างๆ ของมนุษย์จะลดน้อยลงไป อันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี ทำให้การสื่อสารถึงกันของคนบนโลกนี้ทำได้สะดวกมากขึ้น
      
       การสื่อสารที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้าที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันในราคาถู กของคนในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดการไหลเข้า- ออกของปัจจัยการผลิต เกิดการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น outsourcing การนำเอางานในองค์กรไปให้ข้างนอกทำเนื่องจากถูกกว่า offshoringการไปตั้งหน่วยผลิตนอกพรมแดนตนเองเพื่อลดต้นทุน insourcingการที่รับทำงานที่ผ่านมือตนเองบ่อยๆ เช่น แทนที่จะเป็นผู้ที่รับส่งเครื่อง/อุปกรณ์ไปซ่อมก็รับเป็นผู้ซ่อมมันเองเสียเ ลยหากมีปริมาณคุ้มที่จะทำ (economy of scale) หรือแม้แต่การ opensourcing ที่เปิดให้มีการพัฒนาความรู้ต่อยอดไปได้เรื่อยๆโดยไม่ปิดกั้น เช่น โปรแกรม Linux ผลที่เกิดขึ้นก็คือ พรมแดนตามกฎหมาย หรือในเชิง ภูมิศาสตร์ เริ่มที่จะหมดความหมายไป
      
       การรับจ้างตรวจแบบภาษี call center โดยคนอินเดียจึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการ outsourcing และ/หรือ offshoring
      
       ความหมายอีกนัยหนึ่งที่กินความลึกไปกว่านั้นก็คือ การผูกขาดสามารถทำได้น้อยลงในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคโลกแบบของนาย Thomas L. Friedman เพราะอำนาจในการผูกขาดที่มีที่มาจากการสร้างอุปสรรคจากภาคเอกชนมิให้มีผู้ผล ิตหน้าใหม่เข้ามาสู่ตลาดได้มีน้อยลง เพราะโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และด้วยต้นทุนที่ถูกลง อุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ว่าจะโดย ขนาด (size) ของตลาดหรือทุน การควบคุมแหล่งวัตถุดิบ หรือการควบคุมเทคโนโลยี ทำได้น้อยลง คงเหลือแต่เพียงอุปสรรคจากภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียวที่จะสร้างอำนาจผูกขาดให ้เกิดขึ้นมาได้ เช่น การให้สัมปทาน หรือการออกใบอนุญาต
      
       การลดภาษีระหว่างรัฐ การเคลื่อนย้ายทุน แรงงาน หรือปัจจัยการผลิตอื่นๆ โดยเสรี หรือการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ที่แตกต่างกันให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงเป็นการทำให้โลกใบนี้ “แบน” มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอุปสรรคต่างๆ ที่ขวางกั้น วิสัยทัศน์ โอกาสของคนเริ่มที่จะหมดไปซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้โลกใบนี้สามารถก้าวไปข้ างหน้าได้จากการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างกัน
      
       ห ากโจทย์ในปัจจุบันของประเทศไทยคือ “การเปลี่ยนแปลง” ในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืองและสื่อสารมวลชนที่ล้าหลังเนื่องมาจากย ่ำอยู่กับที่เพราะมีการผูกขาดมานาน การสื่อสารกับมวลชน จึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการแก้ไข “ปัญหาธุรกิจการเมือง” เพราะข้อมูลที่ได้รับจะมีผลต่อการตัดสินใจของคน
      
       ปัญหาของการสื่อสารกับมวลชนในปัจจุบันก็คือ “การผูกขาด” เช่นเดียวกับในภาคเศรษฐกิจอื่นๆโ ดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสรรคที่มาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะโดยการให้ใบอนุญาต หรือการให้สัมปทาน ทำให้การสื่อสารบกพร่องเพราะสื่อให้เห็นว่า เกิดอะไร เกิดที่ไหน เกิดเมื่อไร แต่ไม่สามารถสื่อต่อไปได้อีกถึงรากเหง้าของปัญหาว่า “ทำไม” จึงเกิด
      
       ความกว้างของสื่อที่สามารถเข้าถึงมวลชนจึงแปรผกผันกับสาระที่ต้องการสื่อกับมวลอยู่เสมอมาโ ทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ที่มีลำดับความกว้างของการเข้าถึงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับจึงแปรผกผันกับสาระ ข้อเท็จจริงที่มวลชนต้องการรับรู้ กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ หากอยากจะรู้ว่าเหตุการณ์นี้ทำไมจึงเกิด คำตอบมักจะอยู่ในสื่อที่ไม่แพร่หลายมากอย่าง อินเทอร์เน็ต ในขณะที่ สื่อมวลชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุดอย่างฟรีทีวีกลับแทบไม่มีสาระอันเป็นการตอบคำถามที่อยากรู้แต่อย่างใดเลย
      
       เหตุผลก็คือโทรทัศน์ วิทยุ สามรถผูกขาดได้ด้วยอำนาจรัฐจากใบอนุญาต หรือ การให้สัมปทานในการใช้คลื่นความถี่ ในขณะที่ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เน็ตอำนาจรัฐในการสร้างอุปสรรคในการเข้าสู่คลาดข่าวสารทำได้ยากก ว่า
      
       ข ้อถกเถียงในเรื่องความเสียหายจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิจึงเป็นตัวอย่างที่ ดีที่แสดงถึงการผูกขาดทางความคิดของการสื่อสารกับมวลชนของสื่อไทยบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่ากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นหรือไม่ หรือ ในกรณีล่าสุดของรัฐมนตรีกษิต ภิรมย์ที่เห็นได้ชัดว่าการขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ของท่านมิใช่ “ตราบาป” ที่สื่อไทยบางส่วนกำลัง “ตีตรา” ให้ท่าน หากแต่เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติของอดีตข้าราชการคนหนึ่งมากกว ่า
      
       ในสื่อที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดไล่ลงมาตั้งแต่ โทรทัศน์ วิทยุ และแม้แต่หนังสือพิมพ์บางฉบับ ก็ไม่ปรากฏถึงสาระที่สำคัญว่า “ทำไม” จึงเกิด และขาดวิจารณญาณที่จะประเมินว่าความเสียหายที่เกิดนั้นคุ้มค่าหรือไม่ เช่นเดียวกับการใช้น้ำมันก๊าซโซฮอลล์กับความเสียหายของเครื่องยนต์ที่ใช้ ถ้าเครื่องฯ จะเสียเป็นเพราะใช้การใช้น้ำมันก๊าซโซฮอลล์จริงหรือไม่
      
       ทำไมการปิดทำเนียบฯ จึงมีผลกระทบน้อยกว่าการปิดสนามบินทั้งๆ ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารและหน้าตาของประเทศถ ้าตำรวจสหรัฐฯ ยอมให้ผู้ประท้วงการเข้าสู่สงครามเวียดนาม อิรัก หรืออัฟกานิสถาน ยึดทำเนียบขาวได้ ประธานาธิบดีจะยอมตามคำเรียกร้องของผู้ประท้วงหรือไม่ เรื่องนี้จะเป็นข่าวเล็กน้อยและมองข้ามได้เหมือนอย่างที่สื่อไทยได้กระทำหลั งเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลจริงหรือ
      
       การล่อลวงนักท่องเที่ยวต่างชาติจากสนามบินไปปล้น ฆ่า จะยิ่งเป็นข่าวใหญ่หากสถานทูตหรือสื่อต่างชาติมาทำข่าวกดดันทางการไทย สื่อไทยมักจะกระวีกระวาดรีบเร่งให้มีการดำเนินการจับกุมและระงับเหตุโดยเร็ว แต่ในทางตรงกันข้ามหากคนไทยกลุ่มหนึ่งอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเรียกร้องบ้างว่าถูกทำร้ายด้วยอาวุธสงครามจนมีคนตายหรือบาดเจ็บนับสิบติดต ่อกันทุกวันก่อนมีการเดินทางมาเรียกร้องกดดันที่สนามบิน ทำไมสื่อไทยส่วนใหญ่จึงสื่อสารกับมวลชนไปในอีกลักษณะหนึ่งราวกับว่าเรื่องที ่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาเรียกร้อง และผลกระทบจากความรุนแรงที่ได้รับไม่มีความสำคัญอันใดเลย
      
       ส ื่อไทยเอ๋ย สูเจ้ารู้หรือไม่ว่า การนิ่งดูดายต่อความเลวร้ายที่เกิดขึ้นต่อหน้า ก็เป็นบาปอย่างหนึ่งเช่นกัน มิหนำซ้ำยังเป็นความผิดพลาดทางจริยธรรมของการทำหน้าที่สื่อโดยตรง สูเจ้าละอายใจและสำนึกผิดบ้างไหมในบาปที่ได้ทำลงไป?
      
       ในเชิงมาตรฐานระหว่างประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้วัยรุ่นที่ถูกตำรวจกรีซยิงตายเพียง 1 คนและก่อให้เกิดการจลาจลอย่างรุนแรงติดตามมามากกว่า 2 สัปดาห์ หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์กวาดล้างนักศึกษาจีนที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุร ัสเทียนอันเหมิน ทั้งสองเหตุการณ์ต่างก็มาเรียกร้องกดดันต่อรัฐเหมือนกัน แต่จะให้กดดันเรียกร้องที่บ้านใครบ้านมันจะสำเร็จหรือ ทำไมรัฐบาลและสื่อต่างชาติจึงมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันกับกรณีปิดสนามบินไทย และสื่อไทยทำไมไปอ้างอิงมาตรฐานที่เป็น bad practice ของรัฐบาลและสื่อต่างประเทศ ไม่รู้ว่าจุดยืนของสื่อไทยเหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรเป็นมาตรฐานกันแน่ ช่างเป็นการกระทำที่น่าละอายและไร้ซึ่งจริยธรรมเสียเหลือเกิน?
      
       นอกจากสื่อไทยบางส่วนที่ถูกผูกขาดแล้ว การผูกขาดทางความคิดของการสื่อสารกับมวลชนของสื่อไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างย ิ่งกับสื่อที่รัฐสร้างอำนาจผูกขาดไม่ได้ในปัจจุบันอย่างสื่อหนังสือพิมพ์บาง ฉบับ จึงเป็นคำตอบเพียงประการเดียวที่อธิบายปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ได้ สื่อเหล่านี้ไม่รู้หรือว่าตนเองกำลังตกยุค เพราะมวลชนจำนวนไม่น้อยเริ่ม “ฉลาดและก้าวหน้า” กว่าสื่อจอมปลอมแล้ว
      
       ผู้เขียนอยากจะบอกว่า ในยุคของโลกแบน มันหมดสมัยแล้วที่อำนาจในการตีความจะถูกผูกขาดโดยสื่อสารมวลชนบางส่วนที่จอมปลอม ใจแคบ และมีอคติ เหมือนอย่างที่สื่อเส็งเคร็งเหล่านี้ได้กระทำกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2551 ที่ผ่านมา
      
       ใ ครว่าโลกใบนี้กลม? โลกใบนี้แบนแล้วในสายตาของมวลชนที่รู้ตื่นและรู้ทัน ความจอมปลอมของสื่อไทยบางส่วนที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อความเติบโตทางปัญญาของส ังคมไทย
      
       หมายเหตุ : เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับหน่วยงานที่สังกัด

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000151681

หนังสือของ Freidman ดีมากๆมี3เล่มจบอ่านแล้วรู้เลยว่าโลกเรามันเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ

ป ระเทศอย่างอินเดียกำลังกลายมาเป็นมหาอำนาจเพราะใช้ความได้เปรียบจากอินเตอร์ เน็ต งานหลายๆอย่างในอเมริกาเช่นการวิเคราะห์และหาข้อมูลถูก Outsouece มาทำในอินเดียและส่งคืนกลับไปในเช้าวันรุ่งขึ้นโดยอาศัยTimezone (คนอเมริกันส่งงานไปให้ตอนเย็นซึ่งเป็นตอนเช้าของอินเดียทำเสร็จส่งกลับไปก็ เป็นตอนเช้าของอเมริกาพอดี)

คนไทยยังต้องใส่ใจกับการใช้อินเตอร์เน็ต ให้มากกว่านี้ ทักษิณใช้สื่อ ใช้อินเตอร์เน็ตรบมานานแล้วโดยจ้างคนไปโพสต์ตามเว็บดังๆต่างๆรวมทั้ง Sms ตามรายการเพื่อให้เกิดกระแสทักษิณฟีเวอร์

หากพันธมิตรและผู้จัดการต้ องการถอนรากถอนโคนทักษิณขั้นเด็ดขาดควรหาแฮกเกอร์มาช่วยงานด้วย เดี๋ยวนี้แฮกเกอร์สามารถรู้ได้เลยว่าใครโพสต์ข้อความและมาจากเครื่องไหนรวมท ั้งยังสามารถส่งไวรัสไปทำลายหรือดึงข้อมูลกลับมาได้ด้วย

รบกับโจรจะให้พระไปบิณฑบาตอย่างเดียวไม่ได้หรอกครับ
ธุลีดิน

    หลักการพูดของพระพุทธองค์(เป็นธรรมอันไม่จำกัดกาล)
1.คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่พูด
2.คำพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาพูด
3.คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาพูด
4.คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่พูด
5.คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่พูด
6.คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่น พระองค์เลือกเวลาพูด
บ้านเมืองเป็นอย่างนี้เวลานี้สื่อไทยควรนำเสนออย่างไรกรุณาพิจารณาด้วย
นาคน้อย


    ยกตัวอย่าง
หนังสือพิมพ์อย่าง ไทเละ เดนิว มติชิน ข่าวกุ
โทรทัศน์ อย่าง ช่องสาม ช่องเจ็ด ช่องห้า รวมถึงเอ็นบีที
สื่อเหล่านี้ หากินกับการผูกขาด บ้างก็ผูกขาดสัมปทานรัฐ
บ้างก็ผูกขาดด้วยมายาคติของประชาชนทั่วไปที่มีต่อสื่อนั้น ๆ ว่า มีภูมิปัญญา เสนอข่าวตรงไปตรงมา หรือเพราะเราเป็นสื่อหัวสีอยู่แล้ว
สื่อเหล่านี้เป็นสื่อตกยุค ยังอยู่ในยุคล่าอาณานิคม ขณะที่ประชาชน ไปสู่ยุคหลังสมัยใหม่กันแล้ว
ส ื่อใดที่ไม่ปรับตัวตามสภาพสังคมและยุคสมัย หนำซ้ำสื่อใดที่ยังพยายามฉุดรั้งไม่ให้สังคมและภูมิปัญญาของประชาชนก้าวหน้า ไป สื่อนั้นก็จะถูกถีบตกเวทีไป
mon

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2552 เวลา 00:34

    ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ

    ตอบลบ