++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุนชนที่ผลิตผ้าไหมทอมือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

The study of Factors that Effected on Small and Micro Community Enterprise Group Producing Handmade Silk in the Upper Northeastern
ราชันย์ วงษ์ทวี (Rachan Vongtavee)*
อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (Adisak Pongpullponsak)**
ดร.สิทธิชัย แก้วเกื้อกูล (Dr. Sittichai Kaewkuekool)***
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผ้าไหมทอมือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 10 จังหวัด โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 497 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS/PC เพื่อคำนวณค่าทางสถิติ ได้แก่สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test วิธีของ Duncan สรุปการวิจัยได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผ้าไหมทอมือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนทั้ง 7 ด้าน มีระดับการปฏิบัติโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ปัจจัยด้านการจัดการกลุ่ม ด้านการสั่งการ ด้านการรายงาน ด้านการประสานงาน ด้านการจัดคนเข้าทำงาน ด้านการวางแผน และ ด้านการจัดทำงบประมาณ
ABSTRACT
The purpose of this research was to study and compare the factors effect on management of and Micro Community Enterprise Group in 10 provinces in the Upper Northeastern. The samples were 497 persons. They were chosen by simple random sampling. Data was collected from a questionnaire survey. Precentage, mean, standardized test, t-test, F-test by Duncan Method. The result of this study reveals seven factors which interfere with the administrative procedures of the Upper North-eastern Provincial Handmade Silk Organization as follow in order of importance; Arranging, Commanding, Reporting, Cooperating, Employing, Planning, and Budgeting.
คำสำคัญ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าไหมทอมือ
Key words : Micro Community Enterprise Group, Handmade Silk
* นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
** รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
*** อาจารย์ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น