++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ผลของการใช้ตัวแบบวีดีทัศน์ต่อพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2


The Effect of Vediotape Modeling on Kingdergarten II Student’s Moral Behavior
ขวัญนภา นครคำสิงห์ (Khwonnapha Nakhonkhamsing) *
ดร.นิตย์ บุหงามงคล (Dr.Nit Bunga-mongkol) **
ปนัดดา ญวนกระโทก (Panadda Yuankratoek) ***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ตัวแบบวีดีทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 และเพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถทำนายพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนจากปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ เพศ ลำดับการเกิด ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของบิดา ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของมารดา และการอบรมเลี้ยงดู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนบ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) .ศรีสงคราม จ.นครพนม จากผลการประเมินพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนรายบุคคลโดยครูประจำชั้น เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนที่มีคะแนนต่ำโดยนำคะแนนมาเรียงจากน้อยไปหามาก จำนวน 30 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One - group Pretest - Posttest Design
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ 1) แบบวัดพฤติกรรมจริยธรรมเชิงรูปภาพมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 2) แบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนรายบุคคลโดยครูประจำชั้น มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .76 3) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยภูมิหลังของนักเรียนและแบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดู ปรับปรุงมาจากแบบสำรวจวิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตรของบิดา-มารดานักเรียนของ นิตย์ บุหงามงคล และคณะ (2538) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 5) วีดีทัศน์การ์ตูน จำนวน 10 เรื่อง กลุ่มทดลองได้ดูวีดีทัศน์ตัวแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที จำนวน 10 ครั้งติดต่อกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test dependent และ สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression)
ผลการวิจัยปรากฏว่า พฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยสามารถทำนายพฤติกรรมจริยธรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ABSTRACT
The objectives of this research were to study: 1) the effect of video tape modeling on Kindergarten II Student’s moral behavior, and2) the predictive variables on student’s moral behavior according to background factors including: (1) gender, (2) birth order, (3) father’s socio-economic status, (4) mother’s socio-economic status, and (5) child rearing practice. The sample were the Kindergarten II Students during the second semester of 2005 school year at Banpakoon School (Pakoon-padoong-wit), Srisongkram District, Nakornpanom Province, based on individual evaluation of student’ moral behavior by classroom teacher. They were selected by considering from one’s low score rank to high score rank, total of 30 students. The research design was One-Group Pretest-Posttest Design.
The instrument were constructed by the researcher: 1) the Moral Behavior Picture Scale with reliability coefficient of .81, 2) the Individual Evaluation of Student’s Moral Bahavior by the classroom teacher, with reliability coefficient of .76, 3) Ten Learning Management Plans, 4) the Student’s Demographic Data Questionnaire and Child Rearing Practice adapted from Nit Bunga-mongkon el al.’S (1995), with reliability coefficient of .83, and 5) Ten stories of the Cartoon Video Tape. The experimental group watched the Cartoon Video Tape constructed by the researcher for 4 times a week, 20-30 minutes each time, 10 weeks continuously. Data were analyzed calculating the mean, standard deviation, t-test dependent, and multiple regression.
The research findings found that: The experimental group student’s moral behavior for the posttest was higher than pretest at the .01 significant level. Child rearing practice variable could predict the student’s moral behavior at the .01 significant level.
คำสำคัญ : พฤติกรรมจริยธรรม ตัวแบบวีดีทัศน์
Key words : Moral Behavior, Video Tape Modeling
มหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
∗∗ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
∗∗∗ อาจารย์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น