++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อัตราอุบัติการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic Meningitis) จังหวัดเลย ปี 2545


The Incidence RAte of Eosinophilic Meningitis Loei Province 2002



พจนา ศรีเจริญ
นิพนธ์ พัฒนกิจเรือง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย



บทคัดย่อ


โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับต้นของประชากรจังหวัดเลย ในการนี้จึงได้ศึกษาอัตราอุบัติการและความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเสียงของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อพยาธิด้วยวิธี Dot-bot ELISA จากกลุ่มตัวอย่าง 421 คน เป็นผู้เคยป่วยด้วยโรคนี้ในช่วงปี 2544-2545 จาก รง.506 จำนวน 44 คน และประชาชนทั่วไป ที่อาศัยในพื้นที่เดียวกันกับผู้ป่วย 377 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไค-สแควร์ พบว่า อัตราอุบัติการของผู้เคยป่วยด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ ร้อยละ 0.3 และอัตราอุบัติการด้วยโรคเดียวกันของประชาชนทั่วไป ร้อยละ 1.4 ส่วนความไวและความจำเพาะจองการตรวจเลือดพบ ร้อยละ 17.1 และ 93.5 ตามลำดับ สำหรับอาการและอาการแสดงของการเจ็บป่วยพบมากที่สุด คือ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง กินยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น และปวดตึงต้นคอ ตามลำดับพฤติกรรมเสี่ยงในการกินอาหารดิบมากที่สุด ได้แก่ ผักดิบ ปูดิบ ปลาดิบ กุ้งดิบ ปลาจ่อม (หมัก 1 สัปดาห์) หอยดิบทุกชนิดตามลำดับ พฤติกรรมในการดื่มน้ำ คือ ดื่มน้ำไม่ต้ม พฤติกรรมเสี่ยงจากการสัมผัสมากที่สุด ได้แก่ แช่น้ำในการหาปลา จับสัตว์น้ำ ลุยน้ำเกี่ยวข้าวหรือดำนา และลงอาบน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า มีเพียงพฤติกรรมเสี่ยงในการกินอาหารดิบและจากการสัมผัสน้ำมีผลต่อการเกิดโรค จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนต ระหนักเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการประกอบอาหาร การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการให้ความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกระทำอย ่างต่อเนื่องต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น