++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพล ต่อความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง


Selected Factors Affecting Conflict Management Among Head Nurses as Perceived by Professional Nurses of General Hospitals in The Central Region



บุญเรือน ภาณุทัต - Boonruen Panutat
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเสนา




เรณา พงษ์เรืองพันธุ์ - Rana Pongruengphant
รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิจัยประเมินผลและการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จุฬาลักษณ์ บารมี - Julalak Baramee
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิจัยประเมินผลและการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา



บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความส ามารถในการจัดการความขัดแข้งของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาช ีพ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง ได้แก่ การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 334 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับสูง การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่ วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.61, .64 และ .43) ตามลำดับ การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถร่วมกันพยากรณ์ ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้ โดยสามารถอธิบายการแปรผันตัวแปรเกณฑ์ได้ร้อยละ 50 การเสริมสร้างพลังอำนาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรเกณฑ์มากที่สุด (Beta = .39) และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ ไม่ทำให้ค่าการพยากรณ์เพิ่มขึ้นจากการสื่อสารระหว่างบุคคล และการเสริมสร้างพลังอำนาจ



Abstract


This research aimed to examine selected factors affecting conflict management among head nurses as perceived by professional nurses of general hospital in the central region. These factors were interpersonal communication, empowerment and organizational culture. The samples consisted of 334 professional nurses multistage sampling from 12 general hospitals. The instrument used in this study were questionnaires measuring interpersonal communication, empowerment, organizational culture and conflict management. The result indicated that total scores and sub scores of conflict management, interpersonal communication, empowerment and organization culture were rated at a high level. The interpersonal communication, empowerment and organizational culture had significant and positive correlation with conflict management (r=.61, .64 and .43 respectively) Two predictor variables in combination explained 50% of variance of conflict management. Empowerment was the strongest predictor (Beta = .39). The organizational culture could not explain more variance than that explained by interpersonal communication and empowerment.



ที่มา วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ม.ค.- เม.ย.2547


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น