ชื่อ: นายประชุม สุริยามาศ
อีเมล: msuriyamas@hotmail.com
หัวเรื่อง: ข้อมูลเขื่อน ลำปาวที่น่าสนใจ?
ข้อความ:
เรียนคุณบอน@kalasin
เขื่อน ลำปาวได้ปล่อยน้ำลงมาท่วมไร่นาของพี่น้องเกษตรกร/ชา วนา มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ที่ผมมีข้อมูล เนื่องจากผมสนใจ เขื่อน ลำปาวมานานแล้ว และปี ๒๕๔๘ เกิดน้ำท่วมหนักไม่เฉพาะเกษตรกร/ชาวนาที่อาศัยอยู่ใต้เขื่อน ลำปาวเท่านั้น น้ำปริมาณมหาศาลยังไหลเลยไปท่วมพื้นที่ไร่นาเกษตรกร/ชาวนา ในบริเวณปากน้ำปาวที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำชีเป็นพื้นที่มหาศาลอีกด้วย ผมจึงพยายามค้นข้อมูลว่าเป็นเพราะเหตุได? และพบว่าขนะนี้ชลประทานกาฬสินธุ์กำลังดำเนินโครงการปรับปรุงเขื่อนลำปาวให้เก(บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก ๕๐๐ ล้าน ลบ.ม.จาก ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม.(ปริมาตรเก็บกักปกติ)เป็น ๑,๙๓๐ ล้าน ลบ.ม.ทั้งๆที่เขื่อนลำปาวเคยเก็ บกักน้ำได้สูงสุดถึง ๒๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.ประสิทธิภาพเหลืออยู่เพียง = ๑,๔๐๐x๑๐๐/๒๕๑๐ = ๕๕.๗๗% เท่านั้น ภาคอิสานไม่ขาดน้ำหรอกครับ เพียงแต่เขื่อนได้เสื่อมสภาพลงมากเท่านั้น ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนมากจึงต้องปล่อยทิ้ง และพอเข้าหน้าแล้ง ก็ไม่มีน้ำจ่ายให้เกษตรกร/ ชาวนาดังที่เป็นข่าว งบประมาณโครงการปรัลปรุงเขื่อน จำนวน ๑,๘๒๐ ล้าน บาท (ครม.สัญจร สมัยรัฐบาลคุณทักษิน ฯ หลับตาอนุมัติไว้จำนวน ๓,๐๐๐ - ๓,๕๐๐ ล้าน บาท.)คุณเชื่อหรือไม!่ว่า รายละเอียดงานปรับปรุงเขื่อน ลำปาวในครั้งนี้ มีการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มเติมอีก ๑ แห่ง ผมกลัวจริงๆว่า ถ้าเขื่อน เก็บน้ำไม่ได้ตามที่ออกแบบไว้ เขื่อนก็จะปล่อยน้ำเป็นปริมาณมหาศาลในเวลาที่รวดเร็ม พี่น้องเกษตรกร/ชาวนาต้องติดตามนะครับ ผมยังมองไม่เห็นทางเลยว่า จะแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้อย่างไร? (มีข้อมูลน้ำไหลลงเขื่อนถึงปีละ ๒,๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. ผมจึงคิดว่าทุกปี จะยังต้องปล่อยน้ำทิ้งอยู่อีกประมาณ ๓๐๐ - ๓๖๐ ล้าน ลบ.ม.เหมือนเดิมครับ วิธีช่วยตัวเองของเกษ๖รกร/ชาวนาก็คือ จะต้องปรับเปลี่ยนจากทำนาอย่ างเดียวมาเป็น เกษตร "ทฤษฎีใหม่"นะครับ เพราะอิสานเหนือ ฝนยังตกตามฤดูกาลอยู่ เพียงแต่จะทิ้งช่วงเท่านั้น ถ้า เก็บน้ำในสระไว้ได้ เกษตรกร/ชาวนา ก็จะสามารถเลือกทำนาก่อนหรือหลังน้ำท่วมได้ครับ และน้ำท่วมก็จะพัดพาปุ๋ยมาให้เราครับ เราจึงต้องใช้ธรรมชาติ แก้ปัญหา ธรรมชาติครับ. ข้อมูลเพิ่มเติมผมจะทะยอยส่งมาให้นะครับ กรุณากระจายแนวคิดนี้ให้พี่น้องของเราด้วยนะครับ.
นับถือ.
ประชุม สุริยามาศ.
Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อมูลเขื่อน ลำปาวที่น่าสนใจ?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น