ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาณ มหาวิทยาลัยรังสิต
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย คือ รัฐบาลที่มาจากประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการอย่างแท้จริง และรัฐบาลต้องมีสปิริตที่ไม่ยึดติดอำนาจ แต่มีความละอายเมื่อเกิดความผิดพลาด โดยพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน
ก ล่าวได้ว่า การพิจารณาความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชนของรัฐบาลประชาธิปไตย มีประเด็นพิจารณาสำคัญ 3 ส่วน คือ ที่มา การคงอยู่ในอำนาจ และการพ้นจากอำนาจ ซึ่งจำเป็นต้องให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในทุกส่วน
1) ที่มา
รัฐบาลสมชายมาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ มีการทุจริต โกงการเลือกตั้ง ซื้อเสียงประชาชนจนได้เป็นรัฐบาล กระทำผิดกฎหมายกฎหมายเลือกตั้งอย่างร้ายแรง จนถึงขนาดว่าพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล 3 พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ ได้ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติว่ากรรมการบริหารพรรคกระทำผิด ทุจริตการเลือกตั้ง และต้องได้รับโทษถึงยุบพรรค
ยิ่งกว่านั้น ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ยังได้สอบสวนกรณีทุจริตการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชน และได้มีคำพิพากษาว่า กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ระดับรองหัวหน้าพรรค กระทำความผิดทุจริตการเลือกตั้งจริง
อ ัยการสูงสุด ได้มีความเห็นว่า พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 3 พรรค ได้กระทำกระทำผิดทุจริตจริง จึงได้ส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรค และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กับรัฐมนตรีอีกหลายคน จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่และหมดสิทธิอาสาเข้ามาทำงานการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
เ พียงพิจารณาที่มาของรัฐบาลสมชาย อำนาจการบริหารราชการของรัฐบาลชุดนี้ก็หมดความชอบธรรมและล้มละลายความน่าเชื ่อถือในการบริหารประเทศแล้ว ประเทศไทยไม่มีคนดี คนสุจริต ที่น่าไว้วางใจน่าเชื่อถือกว่าคนในรัฐบาลนี้หรือ ?
2) การคงอยู่ในอำนาจ
ร ัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยต้องอยู่ในอำนาจที่ให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่ วมในการแสดงความคิดเห็น และรับฟังนำไปปฏิบัติ เพราะในหลักพื้นฐานนั้น อำนาจแท้จริงยังคงอยู่ที่ประชาชนตลอดเวลา ไม่ว่าจะก่อนเลือกตั้งหรือหลังเลือกตั้ง รัฐบาลเป็นเพียงตัวแทนเข้ามาปฏิบัติงานเท่านั้น
แ ต่รัฐบาลสมชายดูจะละเว้น เพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องของประชาชนภาคส่วนต่างๆ แม้จะรวมตัวเป็นองค์กรต่างๆ แสดงออกต่อรัฐบาลอย่างชัดแจ้ง เช่น อธิการบดีมหาวิทยาลัย ชมรมธุรกิจ องค์กรภาคประชาสังคม วุฒิสภาและฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แม้แต่กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และตำรวจ
และที่สำคัญ รัฐบาลของสมชายยังไม่ให้ความสำคัญกับสัญลักษณ์ที่ส่งมาจากสถาบันเบื้องสูง
แต่รัฐบาลสมชายและบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล ยังคงนิ่งเฉย ทำดื้อตาใส ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ทำไขสือ ดื้อด้าน ยังมีหน้าออกมาพูดว่า ทั้งหมดที่ประชาชนในภาคส่วนต่างๆ แสดงออกมานั้น “เป็นแค่ความเห็นหนึ่ง”
เมื่ออดีตนายกฯ “อานันท์ ปันยารชุณ” ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาวิกฤติความแตกแยกในครั้งนี้ว่า “ด้วยความเคารพ รู้สึกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นคนเดียวที่จะปลดล็อกได้”
นักข่าวถามต่อไปว่า แสดงว่ารัฐบาลนี้ไม่สามารถปลดล็อกได้หรือ ? ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ตอบว่า “ไม่รู้ว่ารัฐบาลนี้มีความอิสระพอเพียงหรือไม่ที่จะปลดล็อก”
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พยายามหลบเลี่ยง โดยอ้างกับนักข่าวว่า “เรื่องการเมืองอย่าไปยุ่งมาก เสียเวลาทำงาน” แต่เมื่อถูกรุกถามต่อไปว่าคิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดของอดีตนายกฯ อานันท์ นายสมชายก็ตอบว่า “เป็นเรื่องความคิดเห็นที่หลากหลาย ผมเป็นนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการทำงาน ไม่เอาความคิดของคนที่ไม่อยู่ในราชการมาทำ ไม่ต้องห่วง”
แม้กระทั่งว่า หลังจากนั้น 2 วัน ผู้นำกองทัพ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ ร่วมกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่อยู่ในราชการแท้ๆ ถึงกับออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบจากรับบาล โดยผู้ดำเนินรายการถามว่า คาดหวังให้รัฐบาลลาออกหรือไม่ ? พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ตอบว่า “ ผมคิด เพราะตอนนี้ไม่มีทาง หากรัฐบาลสั่งการเองคงต้องรับผิดชอบ กระแสคนในชาติคงไม่ยอม เมื่อไม่ยอมจะเกิดความปั่นป่วน และไม่จบ แต่ไม่ใช่จะไปบีบคั้นให้รัฐบาลลาออก แต่ว่าอยู่บนกองเลือดไม่ได้ ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใด หากอยู่บนความเสียหายของชาติ ประชาชนล้มตายก็รับไม่ได้จะอยู่อย่างไร ก็อยู่ไม่ได้”
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามต่อไปว่า หากตัวท่านเป็นนายกฯ จะทำอย่างไร ? พลเอกอนุพงษ์ ตอบว่า “ผมก็คงออก จะอยู่ไปทำไม บ้านเมืองเสียหายผมไม่อยู่แล้ว เพราะไม่รู้จะอยู่ไปทำไม ถ้าถามผม ผมไม่อยู่ ถ้าท่านทำจริง ท่านต้องไม่อยู่”
เมื่อนายสมชายได้รับทราบถึงท่าทีและการแสดงออกของผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมดที่อยู่ในราชการ นายสมชายก็ยังตอบว่า “เป็นความเห็น” โดยไม่แสดงท่าทีความรับผิดชอบ หรือท่าทีถึงความสำนึกได้ คิดได้ แต่จะทนอยู่ และอยู่ทนเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยไม่ยี่หระต่อข้อครหาว่าเป็น “นายกฯ ฆาตกร” หรือ “รัฐบาลฆ่าประชาชน”
มิใยต้องพูดถึงการกระทำของรัฐบาลที่ได้กระทำขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมน ูญ เช่น กรณีไปแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยฝ่ายเดียวของกัมพูชา
หรือการสั่งการให้สลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงที่หน้ารัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลของตนได้เข้าไปทำพิธีกรรมแถลงนโยบาย จนมีคนตาย พิการ ขาขาด แขนขาด ลูกตาหลุด และบาดเจ็บมากกว่า 400 คน ซึ่งหากเกิดกรณีร้ายแรงอย่างนี้ รัฐบาลในอดีตทุกรัฐบาลล้วนจะต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างไม่อาจหลบเลี่ยงได้เ ลย
การแถลงนโยบายดังกล่าว ไม่น่าจะถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เพราะการลงมติของสภาเพื่ออนุญาตให้มีการแถลงนโยบายสมัยนิติบัญญัตินั้น มีคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด เพราะ ส.ส.ฝ่ายค้านและ ส.ว.ไม่เห็นด้วยที่จะให้แถลงนโยบายโดยปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนผู้ชุมนุมประท้ วงบริเวณหน้ารัฐสภา และในการลงคะแนน ส.ส.พรรครัฐบาลอย่างน้อย 3 คน ยังได้มีการฝากบัตรลงคะแนนไว้กับ ส.ส.คนอื่น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ ส.ส.หนึ่งคนลงคะแนนได้หนึ่งเสียง แต่การฝากบัตรให้ลงคะแนนแทน ทำให้ ส.ส.ผู้ใช้บัตรลงคะแนนแทนผู้อื่นสามารถลงคะแนนได้มากกว่าหนึ่งเสียง
ก ารแถลงนโยบายที่เกิดขึ้นบนกองเลือดของประชาชนนั้น จึงเป็นการกระทำขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน และขัดต่อคุณธรรมพื้นฐานของความเป็นคนอย่างเลือดเย็น
นอกจากการกระทำที่ขัดกฎหมายและรัฐธรรมนูญแล้ว นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ
(1) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติว่า นายสมชาย เมื่อครั้งเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้กระทำผิดวินัยร้ายแรง จะต้องถูกลงโทษย้อนหลัง “ไล่ออก” หรือ “ให้ออก” จากราชการ ซึ่งมีนัยสำคัญ คือ จะทำให้นายสมชายขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. และนายกรัฐมนตรี
(2) กรณีที่นายสมชายยังถือหุ้นในบริษัทโทรคมนาคม บริษัท ซีเอส ล็อกอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CS Loxinfo อันเป็นกิจการอินเตอร์เน็ตและบริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพื่อการสื่อส ารทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีสัญญาสัมปทานกับบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ส่อว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 ระบุห้ามไว้ว่า
“ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิ มพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้ ไม่ว่าในนามของตนเอง หรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกั บการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว”
แต่น่าเสียดาย นายสมชายเป็นถึงอดีตผู้พิพากษา แต่กลับไม่แยแสต่อคุณสมบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของตนเอง
ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และพวก มิได้ใส่ใจจริงที่จะดำเนินการให้ถูกต้อง ชอบธรรม และเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังที่ตนเองและพวกเคยถวายสัตย์ปฏิญาณตนไว้ มากเท่ากับความพยายามที่จะกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
3) การพ้นจากตำแหน่ง
วัฒนธรรมของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เมื่อได้กระทำความผิดร้ายแรง (แม้ตนเองจะมองว่าไม่ร้ายแรง แต่เมื่อคนอื่นเห็นว่าร้ายแรง) เขาก็ลาออก เพื่อแสดงสปิริต ให้ประเทศมีทางเลือก เปิดโอกาสให้มีคณะบุคคลอื่นเข้ามาดูแลบริหารประเทศในนามของพระมหากษัตริย์แล ะประชาชนแทนตนเอง มิใช่ดื้อด้าน ทำไขสือ อ้างว่าต้องอยู่เพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพี่นางฯ จัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาฯ และจัดประชุมผู้นำอาเซียนฯ
ข ้ออ้างเหล่านี้ไม่อาจรับฟังได้ และในความเป็นจริง หากขาดรัฐบาลนายสมชาย งานดังกล่าวคงจะทำได้ดียิ่งกว่านี้ เพราะเป็นการจัดงานโดยผู้ที่มิใช่ฆาตกร ผู้สังหารประชาชน มวลพสกนิกรผู้จงรักภักดีจะสบายใจ ไม่ต้องกังวลปัญหา “ระบอบทักษิณ” ที่เกาะกินและกัดกร่อนประเทศชาติ สามารถจะเข้ามามีส่วนร่วมในงานได้อย่างเต็มที่
ร ัฐบาลนายสมชาย ตัวแทนของระบอบทักษิณ จึงเป็นรัฐบาลอ้างความเป็นประชาธิปไตย “มาจากการเลือกตั้ง” แล้วจะคงอยู่ ดำเนินการขัดต่อวัฒนธรรมประชาธิปไตย ดื้อด้าน ด้วยวิธีหยาบช้าสามานย์ ไร้ยางอาย ขาดหิริโอตตัปปะ การละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวต่อบาป จะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกหรือในสังคมไทย ?
รัฐบาลชุดนี้ ไร้ความชอบธรรม และถือได้ว่า “รัฐบาลตายแล้ว” !
ใครก็ได้ช่วยเก็บศพ ฌาปนกิจรัฐบาลชุดนี้ และหาคนเข้ามาดูแลประเทศแทนได้แล้ว !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น