++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การศึกษาบทบาทของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านเทพมงคล ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย


นายสุพรรณ สายหลักคำ
นายวิชัย อุ่นขาว
นางราตรี ยุระศรี
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 6.4 จังหวัดเลย
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น



บทคัดย่อ


การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เป็นการศึกษาบทบาทของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้านเทพมงคล หมู่ที่ 3 ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบบทบาทของชุมชนองค์กรและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนและบุคลากรขององค์กรที่มีบทบาททางสังคม ในตำบลท่าสวรรค์หมู่บ้านเทพมงคล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้รู้ (Key Informants Interview) การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการสังเกตสภาพแวดล้อมในบ้านและในหมู่บ้าน ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน (มีนาคม - สิงหาคม 2546) ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 27 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้อาวุโสหรือผู้รู้ในหมู่บ้าน 4 คน, อสม. 5 คน , ประชาชน 10 คน, เจ้าหน้าที่ อบต. 3 คน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน และผู้บริหารโรงเรียนและครูอนามัย 2 คน พระภิกษุ 1 รูป


ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในหมู่บ้านมาแล้ว 3 ปี ประชาชนมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ มีระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้าและประปาใช้ในหมู่บ้าน มีการเก็บกักน้ำฝนไว้ดื่มตลอดปี โดยมีการป้องกันความสะอาดและป้องกันยุงวางไข่โดยใช้ตาข่ายไนล่อนปิดปากโอ่งแ ล้วใช้ฝาครอบอีกชั้น ส่วนน้ำใช้ได้จากระบบประปาในหมู่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากอธิบายว่าโรคไข้เลือดออกเกิดจากยุงลายที่กัดในตอนกลางวั น และรับรู้ว่าโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กเมื่อป่วยจะมีความรุนแรง ถ้าไม่ไปรักษาทำให้เสียชีวิตได้ การควบคุมลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ใช้ทรายทีมีฟอส และใช้ปลากินลูกน้ำในอ่างอาบน้ำเป็นอันดับรอง การป้องกันยุงลายกัดให้เด็กนอนในมุ้งตอนกลางวันและเปิดพัดลมไล่ยุง มีการสุมไฟไล่ยุงในเวลาพลบค่ำ บทบาทของชุมชนมีบทบาทในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคดำเนินการในช่วงเดือนกุมภา พันธ์และพฤษภาคม 2546 อสม. มีบทบาทในการดำเนินการสำรวจลุกน้ำยุงลายควบคุมและกำจัดลูกน้ำในคุ้มของตนเอง รับผิดชอบ บทบาทขององค์กรในชุมชน ได้แก่ สถานีอนามัย เป็นแหล่งถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ให้การรักษาและเฝ้าระวังโรค การเผยแพร่ความรู้และข่าวสาร ใช้หอกระจายข่าวในหมู่บ้านโดยผู้นำชุมชนดำเนินการ โรงเรียนทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนและสนับสนุนการรณรงค์ป้องกันควบ คุมโรคโดยให้นักเรียนกำจัดลูกน้ำยุงลายที่โรงเรียนและในหมู่บ้าน ครูช่วยในการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของเด็กนักเรียนเพื่อส่งต่อรักษาที่สถานีอ นามัย องค์การบริหารส่วนตำบล รับรู้ว่าหน่วยงานตนเองมีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันควบคุมโรคแต่ยังขาดประสบก ารณ์การแก้ไขปัญหา ต้องขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ จึงเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการป้องกันควบคุมโรค ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาทชุมชนในการป้องกันควบคุมโร ค เช่น การเป็นสมาชิก อบต., อสม., และผู้นำชุมชนผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ส่วนฐานะทางครอบครัวไม่มีความแตกต่างในบทบาทการป้องกันควบคุมโรค ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใช้ปลากินลูกน้ำและสุมไฟไล่ยุง ชุมชนและองค์กรมีความตระหนักในการป้องกันควบคุมโรค สภาพแวดล้อมของชุมชนมีการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงลายค่อนข้างดี องค์กรหลักในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสวรรค์ สถานีอนามัยและโรงเรียนชุมชนท่าสวรรค์ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมและร่วมกันดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคในช่วงฤดู กาลที่มีแนวโน้มการเกิดโรคสูง ซึ่งเน้นดำเนินงานในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฏาคม โดยชุมชนมีส่วนร่วมและผลสำรวจความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย ตั้งแต่มีนาคม - กันยายน 2546 โดย อสม.พบว่าค่า Median ของ House Index = 5.7 (ต่ำสุด = 1.1 สูงสุด = 10.8) และค่า container Index ในโรงเรียนมีค่าเท่ากับ 0



ที่มา วารสาร สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ตุลาคม - ธันวาคม 2546


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น