++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผลของการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรและความเครียดของการเป็นมารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย


THE EFFECT OF SELF-HELP GROUP ON CHILDCARE BEHAVIORS AND MATERNAL STRESS IN THALASSEMIC CHILDREN'S MOTHERS



นภัสวรรณ แก้วหลวง - Napatsawan Kaewluang
อาจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


จินตนา วัชรสินธุ์ - Chintana Wacharasin
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา



บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแล บุตรและความเครียดของการเป็นมารดาในมารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเม ีย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 20 คน สุ่มอย่างง่ายจากมารดาที่พาบุตรมารักษาที่คลินิกเด็กโรคธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง 3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลบุตรป่วยโรคธาลัสซีเมีย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการสุขภาพตามวิธีปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย แบบสอบถามความเครียดของการเป็นมารดา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้



1. มารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกร รมการดูแลบุตรเพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองสูงกว่ามารดากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. มารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเค รียดของการเป็นมารดาลดลงภายหลังการทดลองมากกว่ามารดากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05



คำสำคัญ : กลุ่มช่วยเหลือตนเอง / พฤติกรรมการดูแลบุตร / โรคธาลัสซีเมีย / ความเครียดของการเป็นมารดา



Abstract :


This research aimed to study the effects of self-help group on childcare behaviors and maternal stress in Thalassemic children's mothers. The sample consisted of twenty mothers whose Thalassemic children were checked up at Thalassemic clinic, Chonburi Hospital. They were randomly divided into experimental and control group. The experimental group participated in 3 sessions of the self-help group to share information, experiences, and views on childcare behaviors. The control group received regular health care services. The measurements included a childcare behavior questionnaire and maternal stress questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and a dependent t-test. The results of the study showed that:


1. The mothers with Thalassemic children in the experimental group had significantly higher mean scores of childcare behaviors after the experiment than those of mothers in the control group (P < .05)


2. The mothers with Thalassemic children in the experimental group had significantly lower mean scores of maternal stress after the experiment than those of mothers in the control group (P < .05).



Key words: self-help group / childcare behaviors/ maternal stress/ Thalassemic





ที่มา วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ม.ค.- เม.ย.2547


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น