++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

6 หัวข้อสำคัญที่ต้องรื้อเพื่อสร้างการเมืองใหม่


หกองค์ประกอบสำคัญของระบบการเมืองใหม่ที่ต้องมีอย่างสมดุลกัน

ผมได้เห็นหลากหลายท่านทั้งที่มีชื่อเสียง ความรู้ เสนอแนวทางการเมืองใหม่กันมาก สังเกตว่าหากเป็นนักวิชาการจะไม่เสนอวิธีการเฉพาะเจาะจง เสนอแต่หลักการกว้างๆ และส่วนใหญ่จะโน้มเอียงไปในทางให้ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ เอาผิดและลงโทษนักการเมืองที่ทำไม่ดี ซึ่งผมเห็นว่าเพียงแค่นี้มันยังพร่องอยู่มาก ผมจึงขอเสนอว่าการเมืองใหม่ที่ดีต้องมีการสร้างเสริมให้สมบูรณ์ใน 6 องค์ประกอบ คือ 1. วิธีการเลือกตั้ง 2. การเข้าดำรงตำแหน่งของนักการเมือง 3. การส่งเสริมหน้าที่ของนักการเมือง 4. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 5. การตรวจสอบกำกับดูแล 6. การเอาผิดและการลงโทษ ซึ่งทุกองค์ประกอบต้องการคิดค้นใหม่ให้สอดคล้องกับลักษณะสังคมไทยทั้งสิ้น

วิธีการต่างๆที่นำเสนอควรคำนึงถึงความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมไทยด้วย อย่าคิดแต่เพียงลอกมาจากระบบปชต. ฝรั่งเท่านั้น (เหมือนที่ผ่านมาตลอด 75 ปี) อย่าลืมว่าประชาธิปไตยตะวันตก (ปชต. ตต) เกิดมาจากวิวัฒนาการสังคมของฝรั่งที่แตกต่างจากเราสิ้นเชิง เราเอาหลักการเขามาใช้ได้บางส่วน แต่วิธีการเราต้องทำให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมเรา ผมใคร่ขอเสนอรายละเอียดในองค์ประกอบทั้ง 6 ดังนี้

1. วิธีการเลือกตั้ง
ทุกวันนี้เราตามอย่างฝรั่งเรื่อง "วันแมนวันโหวต" แถม รธน. ยังกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ซึ่งเท่ากับว่าบังคับให้ผู้ที่ไม่สนใจการเมือง (ซึ่งเป็นคนส่วนมากของสังคม) ไปออกเสียงเลือกตั้ง ดังนี้แล้วจะหวังให้คะแนนเสียงที่ออกมาเป็นคะแนนเสียงที่มีคุณภาพก็คงไม่ได้ เราจึงได้นักการเมืองที่ด้อยคุณภาพเข้าสภากันมากตามไปด้วย อาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องมาคัดสรรผู้ออกเสียงเลือกตั้งเสียก่อน โดยคัดเอาเฉพาะผู้ที่มีความรู้ความสนใจเท่านั้น ถ้าผู้เลือกตั้งดีเสียแล้ว ก็น่าจะได้นักการเมืองที่ดีและระบบการเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพตามมา

วิธีการคัดสรรดังกล่าวสามารถกระทำได้หลากหลาย เช่น
1.1 การสอบวัดความรู้ทางการเมือง ซึ่งทำได้ง่าย ไม่ได้ยากอย่างที่คิด น่าสังเกตว่าผู้ที่จะมีสิทธิเลือกให้สุนัขตัวใดชนะเลิศในการแข่งขันสุนัขนั ้นต้องมีความรู้เรื่องสุนัขเป็นอย่างดี แต่ผู้ที่มีสิทธิเลือกให้นักการเมืองคนใดเป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดนักการเม ืองกลับไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเมืองเลยแต่ประการใด ซึ่งแสดงว่ากระบวนการคัดเลือกนายกฯ ของเราหละหลวมยิ่งกว่ากระบวนการคัดเลือกสุนัขเสียอีก
1.2 การกำหนดให้บุคคลบางอาชีพทำหน้าที่การลงคะแนนเลือกตั้งแทนประชาชนทั้งหมด เช่น ครู หมอ ผู้พิพากษา ทนายความ สื่อสารมวลชน ข้าราชการฝ่ายปกครอง ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ไม่เป็นปชต.แต่ประการใด เพราะรธน. 50 ก็กำหนดเฉพาะกลุ่มคนที่อายุเกินกำหนดเท่านั้น ทั้งที่เด็กอายุ 15 อาจมีความรู้ทางการเมืองมากกว่าผู้ใหญ่อายุเกิน 51 ก็เป็นได้
1.3. การให้คะแนนเสียงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่เสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล วิธีนี้อาจดูไม่ค่อยเป็นปชต. แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าคนมีฐานะย่อมสนใจการเมืองมากขึ้นเป็นสัดส่วนกัน มองอีกแง่หนึ่งงบประมาณชาติมาจากภาษีดังนั้นผู้เสียภาษีมากก็ควรต้องมีส่วนใ นการกำหนดชะตาประเทศมากขึ้นเป็นสัดส่วนกัน วิธีการนี้จะช่วยลดผลกระทบการซื้อเสียงลงไปได้ ทั้งนี้เพราะการซื้อเสียงมักเกิดในหมู่ประชาชนที่มีรายได้ต่ำ
1.4 การเพิ่มคะแนนตามระดับการศึกษา โดยอาจให้ 1 แต้มทุกช่วงชั้น เช่น ไม่มีการศึกษาได้ 1 จบ ป 6 ได้ 2 ดังนั้นจบปริญญาตรีได้ 4 ปริญญาเอกได้ 6 เป็นต้น ซึ่งมาตรการนี้ก็มีวัตถุประสงค์เหมือนกับข้อ 1.3
นอกจากนี้รัฐควรทำหน้าที่พิมพ์รวมเล่มข้อมูลนโยบายของผู้สมัครแต่ละคน ส่งไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนก่อนการเลือกตั้งในเวลาพอสมควรด้วย
การนับคะแนนโหวตควรเอาไปกองรวมนับที่อำเภอ เหมือน รธน. 40 เพื่อไม่ให้รู้ได้ว่าหมู่บ้านไหนเลือกใคร วิธีนี้จะช่วยลดการซื้อเสียงได้ (เพราะคนซื้อไม่อาจตรวจสอบได้ว่าคนขายได้ลงคะแนนให้ตนหรือไม่ อนิจจา รธน. 50 ได้กลับไปใช้แบบเดิมเพราะถูกบรรดานักการเมืองขี้ฉ้อล็อบบี้เอาด้วยเหตุผลอัน เฉโกต่างๆนาๆ)

2. การเข้าดำรงตำแหน่งของนักการเมือง
มีหลายท่าน (รวมทั้งผู้เขียนเองในอดีต) ต้องการให้แยกนิติบัญญัติออกจาบริหาร กล่าวคือห้ามสส. เป็น รมต. แต่คิดดูให้ดีแล้วตราบเท่าที่เรายังให้พรรคที่ได้เสียงข้างมากเป็นแกนนำจัดต ั้งรัฐบาลวิธีนี้จะไม่ช่วยแก้อะไรได้เลย เพราะการซื้อเสียง (เพื่อให้ได้เสียงข้างมาก) ก็จะยังคงอยู่ การถอนทุนก็จะยังคงอยู่ แต่รูปแบบการโกงกินของสส. จะเปลี่ยนไปเท่านั้นเองเพราะบรรดาก๊วนสส. จะไม่สามารถเรียกร้องตำแหน่งรมต. ได้อีกต่อไป แต่จะเรียกร้องในรูปแบบอื่น เช่น เงินปันผล ค่าเลี้ยงดู ค่าจงรักภักดี ไม่เช่นนั้นจะย้ายไปพรรคอื่น แถมรูปแบบนี้มีข้อเสียคือ ถ้ารมต. โกงกิน บรรดาสส.ก็ลอยตัวว่าเป็นคนละส่วนกัน ก็ไม่มีมลทินไปด้วย และก็ไม่กระทบต่อการลงเลือกตั้งในคราวต่อไป

ทุกวันนี้เราหละหลวมมากในการได้มาซึ่ง รมต. กล่าวคือ พรรคไหนซื้อเสียงเข้ามาได้มากที่สุด หัวหน้าพรรคก็ได้เป็นนายกฯ และเหล่าสมุนก็ได้เป็นรมต. กันถ้วนหน้า ถ้าเราปรับวิธีการตรงนี้สักเล็กน้อยอาจทำให้ดีขึ้นมากทีเดียว
1.1 การได้มาซึ่งวุฒิสภาและสภาผู้แทนฯ
สว. ต้องมีทั้งปริมาณ และ คุณภาพ ปัจจุบันนี้ รธน. ก็กำหนดที่มาไว้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว คือ การเลือกตั้งระดับจังหวัดโดยไม่สังกัดพรรคการเมือง จำนวน 76 คน และการสรรหาจากภาคอาชีพอีก 74 คน เพียงแต่ขอเสนอให้ปรับปรุงเล็กน้อย โดยรธน.ควรกำหนดลงไปเลยว่า องค์กร/หน่วยงานใดบ้างที่มีสิทธิเสนอชื่อ สว. สรรหาจำนวน 74 องค์กรเพื่อเป็นตัวแทนของภาคอาชีพต่างๆ โดยอาจให้เสนอองค์กรละ 2 ชื่อ เพื่อคัดให้เหลือ 1 ชื่อ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการในการเสนอชื่อให้เป็นประชาธิปไตยและน่าเชื่อถือยิ่งขึ ้น ก็จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และสว. สรรหาเองก็จะมีศักดิ์ศรีมากขึ้นอีกด้วย อาจจะเรียกเสียใหม่ว่า สว. คัดสรร (ไม่ใช่สรรหา ..คือคัดสรรเอาแต่คนเก่งคนดีขึ้นมาตามหลักการปชต.ของกลุ่มอาชีพนั้นๆ)

สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้สังกัดพรรคการเมือง หรือไม่สังกัดก็ได้ และให้ลดจำนวนลง (เพราะขณะนี้มีมากเกินไป) โดยอาจใช้หลักการง่ายๆว่า ให้จัดจังหวัดเป็นสามขนาดคือ ใหญ่ กลาง เล็ก ซึ่งมีสส. ได้ 3 2 1 คนตามลำดับ ซึ่งจะทำให้มีสส. ประมาณ 150 คน เท่าๆ กับ สว.

1.2 การได้มาซึ่งนายกฯและครม. ที่ผ่านมาเราปล่อยให้นายกฯ เลือกรมต. ตามใจชอบ ก็เลยเลือกกันแบบต่างตอบแทนทางการเมือง รมต. จะมีความรู้เกี่ยวกับกระทรวงหรือไม่ไม่ต้องคำนึงกัน ดังนั้นจึงขอเสนอดังนี้
1. การเฟ้นหาตัวนายกฯ ควรมีขั้นตอนที่สอง ไม่ใช่ว่าพรรคการเมือง (หรือกลุ่มพรรคฯ) ใดที่ซื้อเสียงได้มากที่สุดหัวหน้าพรรคก็ได้รับสิทธิเป็นนายกโดยอัตโนมัติ เราอาจปรับเป็นว่าให้ สส. จำนวน 1 ใน 5 มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ได้ 1 คนโดยเสนอต่อวุฒิสภา จากนั้นสว. (ซึ่งไม่สังกัดพรรค ถือว่าเป็นกลาง) โหวตว่าจะเลือกผู้ใด เพราะจะมีชื่อถูกเสนอ 3-5 คน ทั้งนี้ให้มีการอภิปรายซักถามผู้ถูกเสนอชื่อแต่ละคนด้วย ดังนี้แล้วพรรคเสียงข้างมากอาจไม่ได้เป็นนายกก็เป็นได้ ซึ่งหากพรรคเล็กได้เป็นนายกฯ ก็จะไม่เสียเสถียรภาพของรัฐบาลแต่ประการใด (อ่านวิธีการตรวจสอบกำกับดูแลข้างล่าง) หรือเพื่อความสมานฉันท์พรรคเล็กอาจตั้งรัฐบาลผสมจากพรรคอื่นๆ ทุกพรรค (กลายเป็นรัฐบาลแห่งชาติ)

2. นายกฯ เสนอรายชื่อ ครม. ต่อรัฐสภา (สส. + สว) เพื่ออภิปรายซักฟอกและโหวตรับรองด้วยเสียงข้างมากเป็นรายบุคคล หากผู้ใดไม่ได้รับการรับรอง ให้เสนอชื่อใหม่จนกว่าจะได้รับการรับรอง วิธีการนี้จะทำให้เกิดการสืบประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน จะทำให้ได้คนเก่งขึ้นและดีขึ้นกว่าระบบเดิมเข้าไปบริหารประเทศ ไม่ใช่ว่านายกฯมีสิทธิเสรีในการเลือก ครม. แต่ผู้เดียวซึ่งทำให้ประเทศเราได้ครม.ที่ไม่มีความรู้ความสามารถขึ้นไปบริหา รประเทศกันมากมาย (usa ก็ใช้วิธีนี้ เรียกกันว่า confirmation process)

3. การโหวตเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองนี้ อาจเปลี่ยนจากสว. มาให้คณะกรรมการพิเศษจากฝ่ายตุลาการ เป็นผู้โหวตก็ได้ โดย สส. และ สว. เป็นผู้อภิปรายเท่านั้น (ซักฟอก) วิธีนี้จะยิ่งบริสุทธิ์มากขึ้น เพราะบุคลากรฝ่ายตุลาการนั้นส่วนใหญ่มีความยุติธรรม เป็นกลาง และมีความรอบรู้มาก ย่อมตัดสินใจได้ดี อีกทั้งเป็นการคานอำนาจจากฝ่ายตุลาการที่เข้มข้นมากขึ้น ที่ผ่านมาเราให้ตุลาการเป็นเพียงผู้ตัดสินคดีความ(ทางการเมือง) ซึ่งไม่น่าถือว่าเป็นการคานอำนาจเพราะเป็นเพียงกระบวนการพิจารณาคดีของผู้ถู กกล่าวหาตามปกติเหมือนกับศาลอาญาทั่วไป (ซึ่งก็ไม่ได้ทำหน้าที่คานอำนาจประชาชนแต่อย่างใด) คณะกรรมการพิเศษนี้อาจประกอบด้วย ตุลาการศาลรธน. คณะผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง เพราะองค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรในรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิพากษาคดีเพื่อนำไปสู่การถอดถอน ครม. ได้ ดังนั้นก็ฟังขึ้นว่าให้พวกท่านเป็นผู้ "แต่งตั้ง" นายก และ ครม. เสียเลย ตามหลักการที่ว่า "ใครแต่งตั้งคนนั้นก็ถอดถอนได้" การให้ฝ่ายตุลาการเข้ามาเช่นนี้จะเป็นการคานอำนาจของสามฝ่ายที่เข้มข้นตามเจ ตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย

3. การส่งเสริมหน้าที่

ที่ผ่านมาเราปล่อยให้ นายกฯ และรมต. เข้ามาบริหารประเทศโดยลำพัง มีการคานอำนาจจากฝ่ายค้านตามระบบตะวันตก แต่ไม่มีการส่งเสริมหน้าที่จากฝ่ายเป็นกลางที่มีความรู้บ้างเลย ในรูปแบบสว. ดังที่เสนอนี้จะเห็นว่าสว. ในภาคอาชีพจะมีความรู้ในอาชีพของตนอย่างดียิ่ง เช่น แรงงาน การเกษตร การค้า อุตสาหกรรม ซึ่งหากมีช่องทางให้บุคคลเหล่านี้ได้มีเวทีในการแสดงความเห็นต่อรมต. โดยตรงก็จะเป็นการเสริมหน้าที่รมต. อย่างดียิ่ง ในการนี้ขอเสนอให้จัดตั้ง "สภากระทรวง " ของแต่ละกระทรวงประกอบด้วย สว. ที่มีความรู้หรือความสนใจในกระทรวงนั้น ผนวกกับข้าราชการประจำกระทรวงที่มีความรู้อีกจำนวนหนึ่ง (เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี และ ขรก. อันดับสูง) ซึ่งพวกเขาเหล่านี้สะสมความรู้เกี่ยวกับกระทรวงนั้นๆมานาน โดยสภากระทรวงมีหน้าที่กลั่นกรองนโยบายและแผนการทำงานของ รมต. อนึ่ง กรรมาธิการฝ่ายต่างๆของสว. นั้นก็ควรยุบมารวมเป็นสภากระทรวงไปเสียเลย จะได้ไม่ทำงานซ้ำซ้อน

ในการทำงานของ สส. และ สว. ในรัฐสภา ควรอนุญาตให้พวกเขานำ "ผู้ทรงคุณวุฒิ" เข้าไปชี้แจงแทนตนได้ในการอภิปราย จะเป็นการส่งเสริมหน้าที่การนิติบัญญัติอย่างดียิ่ง เพราะสส. สว. ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ลึกในทุกญัตติ ดังนั้นการให้ผู้ทรงคุณวุฒิเข้าไปเสนอความเห็นโดยตรงย่อมย่อมมีประโยชน์ยิ่ง ต่อประเทศชาติ หรืออาจมอบอำนาจให้ประธานสภาและผู้นำฝ่ายค้านมีสิทธิในการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ เข้ามาแถลงก็ได้

4. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ในข้อ 3 นั้นถือเป็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอยู่แล้ว เพราะผู้แทนภาคอาชีพจาก สว. เข้าไปเป็นสมาชิกสภากระทรวง แต่ควรให้มีช่องทางอื่นเพื่อการนี้อีกด้วย ซึ่ง รธน. ฉบับ 50 ก็ได้เปิดช่องไว้มากพอควรอยู่แล้ว ในยุคอิเล็กทรอนิกส์นี้ทุกหน่วยงานทางการเมืองควรเปิดเสรีให้มีการร้องทุกข์ และการวิพากษ์ผ่านอีเมล์และเว็บไซต์ได้ทั้งโดยลับและเปิดเผย อนึ่ง การ"ล็อบบี้" นักการเมืองจากกลุ่มต่างๆนั้น หากจัดการให้ดีและยุติธรรมต่อกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ถือเป็นการมีส่วนร่วมที่สำคัญของภาคประชาชน เพราะนักการเมืองจะได้ข้อมูลจากฝ่ายต่างๆที่ขัดแย้งกัน

5. การตรวจสอบกำกับดูแล โดยระบบปชต. ปกติยกให้รัฐสภารับหน้าที่นี้ไป และยังมีองค์กร คณะกรรมการ ตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย ซึ่งก็นับว่าดีอยู่แล้ว แต่ในรูปแบบที่เสนอนี้จะมี "สภากระทรวง" เพิ่มเข้ามา ซึ่งนอกจากทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของนักการเมืองแล้ว ยังทำหน้าที่กำกับดูแลไปด้วยในตัวอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการประพฤติมิชอบนั้นส่วนใหญ่กระทำในระดับกระทรวง ไม่ใช่ในระดับรัฐบาล จึงให้เพิ่มหน้าที่กำกับดูแลให้สภากระทรวงด้วย เช่น อนุมัติงบประมาณ กฎระเบียบต่างๆของกระทรวง

6. การเอาผิดและลงโทษ
หากเรากลั่นกรองให้ได้นักการเมืองทีเก่งดีดังในข้อ 1-2 และมีการกำกับดูแลอย่างดีดังใน 5 (โดยเฉพาะสภากระทรวง) การก่อความผิดก็คงมีน้อย อย่างไรก็ตามกระบวนการเอาผิดและลงโทษก็ยังคงต้องมีไว้
6.1 การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ที่ผ่านมารัฐบาลโกงกินอย่างไรก็ชนะการโหวตในญัตติไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้า นทั้งสิ้น ประเด็นนี้เป็นเพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่รักพวกพ้อง สส. ซีกรัฐบาลตจะไม่โหวตให้พรรคของตนเป็นผู้ผิดเป็นอันขาด (อย่างมากที่สุดก็อาจมีงดออกเสียง 1 คนซึ่งแสดงว่ามีเรื่องโกรธกันเป็นการส่วนตัว) ดังนั้นจำเป็นต้องปรับวิธีการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลเสียใหม่ วิธีการนี้ให้ สว.เท่านั้น (ซึ่งเป็นกลาง) เป็นผู้มีสิทธิโหวตในญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคลก็ตาม โดย สส. เป็นเพียงผู้อภิปรายญัตติ โดยวิธีนี้เสียงข้างมากของรัฐบาลในสภาผู้แทนไม่อาจช่วยรัฐบาลที่ไม่เป็นที่ย อมรับได้เหมือนดังเช่นที่แล้วมา ในการนี้ สว. ทำหน้าที่คล้ายลูกขุน (jury) ในการพิจารณาคดีอาญาของอารยประเทศ

6.2 นอกจากนี้ก็มีกลไกตามที่รธน. 50 บัญญัติไว้อีกหลายทางที่จะเอาผิดได้ ซึ่งนับว่าบัญญัติไว้ดีอยู่แล้ว

ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าหากเราสร้างมาตรการเช่นที่กล่าวมานี้ขึ้นมาได้จะเ กิดการพัฒนาการทางการเมืองไทยแบบก้าวกระโดด โดยจะมีลักษณะดีๆดังนี้เกิดขึ้น

1. การซื้อเสียงจะลดลงมากทันที เพราะการมีปริมาณสส. ข้างมากในสภาไม่ได้ประกันว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสมอไป ตรงกันข้ามพรรคการเมืองจะเน้นสส. ที่มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สว. (ซึ่งเป็นผู้โหวตเลือกนายก และ ครม.) ได้ตระหนักว่าพรรคตนมีคุณภาพควรแก่การโหวตเสียงให้

2. ถ้าจัดให้มีการถ่วงน้ำหนักคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนตามระดับความรู้ (ทางการเมือง) จะทำให้นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งมีคุณภาพตามไปด้วย และยังลดอิทธิพลของการซื้อเสียงลงไปอีกด้วย

3. จะได้คนเก่ง ดี มีความรู้ เข้าไปบริหารประเทศ เพราะ นายกฯและ ครม. ต้องผ่านการคัดสรรอีกรอบ

4. การทำงานของครม. จะมีปสภ. มากขึ้น เพราะมีสภากระทรวงคอยส่งเสริม

5. การโกงกินจะน้อยลงมากมีสภากระทรวงกำกับดูแลรมต. อย่างใกล้ชิด
6. รัฐบาล (แม้ผสมหลายฝ่าย) จะมีเสถียรภาพในการทำงาน เนื่องจาก สว. (ทีเป็นกลาง) เท่านั้นที่มีอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล

..............เสนอมาโดยนายทวิช จิตรสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น