++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประชาธิปไตยใหม่ ที่ปชช.มีส่วนร่วมแบบเสริมความดีกัน

มิย. ๒๕๕๑ ได้มีการเปิดประเด็นโดยกลุ่มพันธมิตรฯ ว่าเราควรมาสร้างระบบ”การเมืองใหม่” โดยลดสัดส่วน “การเมืองแบบตัวแทน” ลงไป แล้วเสริมมาด้วยสัดส่วนของการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น อาจใช้ระบบ 30/70 ด้วยเหตุผลว่าที่ผ่านมา 76 ปีในระบบการเมืองแบบตัวแทน (ที่เราลอกฝรั่งมา) รังแต่จะฉุดบ้านเมืองให้ตกต่ำลงในทุกทิศทาง ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในเหตุผลนี้ และเห็นด้วยกับหลักการใหญ่ของพันธมิตรฯ แต่ผมใคร่ขอมองต่างมุมกับวิธีการที่พันธมิตรฯเสนอ เพราะเห็นว่าจะเป็นระบบที่ยอมรับได้ยากโดยนักวิชาการทั้งหลาย เพราะมันดูหัวมกุฎท้ายมกรอย่างไรพิกล ยังอาจยุ่งยากและลักลั่นในทางฏิบัติอีกด้วย เช่น 30/70 ที่ว่านั้นจะจัดสรรกระทรวงใดให้ใครอย่างไร

ผมจึงขอเสนอระบบทางเลือกท ี่ปฏิบัติได้ง่าย ประชาชนมีส่วนร่วม(ผ่านสภากระทรวง) แผนพัฒนาประเทศมีการกำหนดอย่างรอบคอบและเป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม โดยระบบยังเป็นประชาธิปไตย 100%

ระบบนี้ใช้สัดส่วน 0/100 และ 100/0 ซึ่งหมายความว่าในฝ่ายบริหารนั้นให้มาจากเลือกตั้ง 0 และมาจากสรรหา 100 ส่วนนิติบัญญัติก็เป็นตรงข้ามเลย คือให้มาจากการเลือกตั้งล้วนๆ ผมเชื่อเหลือเกินว่าระบบนี้จะนำสู่การพัฒนาระบบปชต.ไทยให้เข้มแข็งเพื่อพัฒน าประเทศได้อย่างรวดเร็ว

ฝ่ายบริหารมาจากการสรรหาทั้งหมดนั้นหมายถึงน ายกฯและครม.ทุกคนต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง แต่ทุกคนต้องได้รับการโหวตรับรองเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งด้วยเสียงข้างมากของสภ าสส.ด้วย จึงยังคงเป็นระบอบปชต. 100% ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับได้ง่าย(ขึ้น)ของบรรดานักวิชาการและปัญญาชนทั่วไป

เ พื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศมากขึ้นตามหลักการของพันธมิตร ฯ จึงขอเสนอให้มี “สภากระทรวง” โดยสมาชิกสภานี้สรรหา (หรือกำหนดโดยกฎหมาย) มาจากกลุ่มอาชีพและกลุ่มวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงนั้น เช่น กระทรวงเกษตร ก็มาจากกลุ่มผู้แทนสมาคมเกษตรกรต่างๆ กลุ่มพ่อค้าสินค้าเกษตร กลุ่มนักวิชาการเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น โดยสภากระทรวงมีหน้าที่กำหนดนโยบายกระทรวง ยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดข้อบังคับต่างๆของกระทรวง รวมทั้งติดตามตรวจสอบการทำงานของรมต.กระทรวงอีกด้วย

ถ้าทำอย่างที่ว่ ามานี้ก็จะได้สิ่งดีๆ ทุกอย่างดังที่เราหวังกัน คือ 1) ยังเป็นปชต. 100% 2) มีภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากำกับดูแลการทำงานของกระทรวง 3) ได้คนเก่งคนดีที่ไม่มีประโยชน์ซ้อนทับ (จากการสรรหา) เข้าไปบริหารประเทศ และเนื่องจาก รมต. และ สภากระทรวงไม่ได้เป็นมิตรหรือศัตรูกันตามระบบพรรคการเมือง ดังนั้นจึงจะทำงานร่วมกันอย่างเสริมความดีกันมากกว่ามาคานอำนาจ(ชั่ว)กันตาม ระบบ(พรรค)พวกมากลากไป 4) ส่วนสภาสส. ก็ยังคงทำหน้าที่เดิมคือพิจารณากฎหมายและกำกับดูแลรัฐบาลในภาพรวม

สำ หรับสส.นั้นยังให้มาจากการเลือกตั้งตามเขตเหมือนปกติ แต่ในเมื่อระบบนี้ห้ามสส. เป็นผู้บริหาร ให้มีหน้าที่นิติบัญญัติและกำกับดูแลรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้นสส. จะเข้ามา “ถอนทุน” ไม่ได้ จึงจะเป็นการตัดตอนการซื้อเสียงโดยปริยาย จะทำให้ได้สส.น้ำดีเข้ามาเป็นส่วนใหญ่

ในระบบนี้ ถ้าครม.คนใดไม่เก่งและหรือไม่ดี คงจะถูกสส.ทุกพรรคร่วมกันยกมือ “ไม่ไว้วางใจ” โดยง่ายดาย เพราะรัฐบาลแบบนี้ไม่มีเสียงสส.พรรคเดียวกันสนับสนุนแม้แต่คนเดียว (แต่ก็ไม่มีเสียงสส. ฝ่ายค้านแม้แต่คนเดียวด้วย) ดังนี้แล้วก็เท่ากับว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง (ผ่านสส. ทุกคน) ไม่ใช่เป็นของพรรคใดพรรคหนึ่งที่มีเสียงข้างมากในสภาที่จะยกมือไว้วางใจรัฐบ าลที่เป็นพรรคพวกของตนเสมอไม่ว่าจะชั่วช้าสามานย์เพียงใด

สิ่งที่ควร มีเพิ่มขึ้นมาแทน สภาสว. หรืออาจทำหน้าที่ สว. พร้อมกันไปคือ สภานโยบายและแผนพัฒนาประเทศ เพื่อประสานการพัฒนาประเทศของกระทรวงต่างๆให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใหญ่ของประเทศ ซึ่งสมาชิกสภานี้อาจเลือกมาจากสมาชิกสภากระทรวงส่วนหนึ่ง และมาจากผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนอื่นๆของประชาชนอีกส่วนหนึ่ง แต่เมื่อร่างนโยบายและแผนแล้ว ก็ต้องส่งให้สภาสส. เห็นชอบด้วย (และประชามติอีกรอบหนึ่ง?) จึงกลายเป็นกฎหมายที่รัฐบาล”ต้อง”นำเอาไปปฏิบัติ ทุกวันนี้เรามีสภาพัฒน์ที่เป็นเศือกระดาษที่กำหนดแผนฯออกมา (โดยวิธีการกำหนดนี้ก็อาจไม่รอบคอบนัก และ อาจไม่เป็นปชต. เพียงพอ) แต่แล้วรัฐบาลก็ไม่นำไปปฏิบัติ

คนไทยไม่มีนิสัยท้าทายอำนาจรัฐแบบฝรั ่ง ในการวางระบบการเมืองต้องมองประเด็นสำคัญนี้ด้วย จะหวังให้ประชาชนมาช่วย “คานอำนาจ” รัฐแบบระบบฝรั่งนั้นคงเป็นได้ยาก แต่ระบบที่เสนอมานี้มีกลไก”เสริมความดี” มากกว่า “คานอำนาจ” ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของสังคมไทย

สำหรับการ “สรรหา” ครม. นั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็นที่จะทำให้บริสุทธิยุติธรรม และประกันได้ว่าจะได้คนเก่งคนดีเข้าไป (จนสภาสส. ไม่อาจยกมือคัดค้านได้) เช่น กฎหมายอาจกำหนดให้หน่วยงานสัก 20 หน่วยงานเสนอชื่อขึ้นมา เพื่อส่งให้คณะกรรมการสรรหา โดย คกก. สรรหาอาจประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกา ปลัดกระทรวงเกษียณที่อายุไม่เกิน 65 ปี ราชบัณฑิตด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง

เน้นอีกครั้งว่าระบบนี้เป็นประชาธิ ปไตย 100% ว่าไปแล้วเป็นมากกว่าระบบปัจจุบันเสียอีก เพราะ รมต. ทุกคน ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาของสส. ทั้งที่ไม่ได้เป็นพรรคเดียวกัน

---------------------------------------เสนอโดยนายทวิช จิตรสมบูรณ์ wit_taboo@hotmail.com
ทวิช จิตรสมบูรณ์

ที่มา http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000074892 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น