++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งในการเขียนเชิงวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

Use of Multiple Sources in Academic Writing of Graduate English Majors

Suthatip Sophonapinya (สุทธาทิพย์ โสภณอภิญญา)*

Dr. Uthaivan Danvivath (ดร. อุทัยวรรณ ด่านวิวัฒน์)**

ABSTRACT

This study is a qualitative and quantitative research and the purposes were to examine: (1) the ways graduate students used information from multiple sources in academic writing, (2) quality of the texts resulted from the ways the information was used, and (3) the factors that influenced the students’ writing processes. The participants were nineteen graduate students majoring in English, the Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, enrolling in the course 411 750 Applied Linguistics in the academic year 2004. Three sets of data were derived: (1) the students’ texts, (2) in-depth interviews, and (3) a follow-up questionnaire.

The following data analyses were carried out: (1) the written data were segmented into 565 T-units, then grouped into informational T-units and non-informational T-units or irrelevant T-units. The 442 informational T-units were coded and scored according to the degree of knowledge transformation using the coding scheme developed for this study. The reliability of the coding was .94, (2) the tape-recorded data derived from the interviews were analysed for insights into various ways students transformed and used information from multiple sources in their own texts, (3) the follow-up questionnaire was analysed for frequencies and percentages of the students’ writing attitudes and activities.

From the analysis of the written data comprising of 442 T-units, the use of information could be categorized into two types: accurate use which accounted for 29.4 percent, and inaccurate use 70.6 percent. The proportion of accurate use of information was then classified into four types according to the degree of transformation: original explanations (8.6 percent), summaries (12.9 percent), paraphrases (3.4 percent) and quotations (4.5 percent). The proportion of inaccurate use of information was classified into five types: original particularly grammar (69.2 percent), citing (46.2 percent), developing ideas (46.2), and revising and editing (46.2 percent) whereas 61.6 percent of the students identified having problems in reading, particularly recognising vocabulary (46.2 percent) and summarising (38.5 percent).


* Graduate student, Department of Foreign Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.

** Lecturer, Department of Foreign Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

explanations (3.4 percent), summaries (6.8 percent), paraphrases (5.6 percent), quotations (10.0 percent) and copies (44.8 percent). For the quality of texts, it was found that the text which received highest score (51.43 percent) included writers’ own comments and conclusions, and summaries whereas the texts which received lower scores (0 – 47.62 percent) included a lot of copied sentences. The analysis of interview data showed four main factors influenced the students’ academic writing process: (1) language proficiency, (2) awareness of academic writing, (3) practice in academic writing, and (4) time constraint. The follow-up questionnaire analysis revealed that, in preparation for writing, the students searched for more sources of information (X¯ = 4.54), particularly on the Internet. In gathering information, their methods were underlining the important information (X¯ = 3.92) and taking notes (X¯ = 3.69) by copying (X¯ = 4.00) rather than paraphrasing (X¯ = 3.00) and summarising (X¯ = 3.88). During writing, they often looked back at the sources to find the information they want (M = 3.77) by paraphrasing (X¯ = 3.85) and summarising (X¯ = 3.85) rather than quoting (X¯ = 3.00) All of the students identified having problems in academic writing,

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา (1) การใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งของนักศึกษาระดับปริญญาโทในการเขียนงานเชิงวิชาการ โดยศึกษาถึงวิธีต่าง ๆ ในการใช้ข้อมูลของนักศึกษา (2) คุณภาพของงานเขียนที่เป็นผลมาจากการใช้ข้อมูลนั้น ๆ และ (3) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระบวนการเขียน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชา 411 750 Applied Linguistics ในปีการศึกษา 2547 จำนวน 19 คน ข้อมูลในการวิจัยมีจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย (1) งานเขียนของนักศึกษา (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) แบบสอบถาม

ขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ (1) แบ่งข้อมูลงานเขียนของนักศึกษาเป็น ที-ยูนิท (T-unit) ได้จำนวน 565 ที-ยูนิท แล้วนำมาจัดกลุ่มเป็นข้อมูลที่แสดงถึงการใช้ข้อมูล และข้อมูลที่ไม่แสดงการใช้ข้อมูล หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ นำกลุ่มข้อมูลที่แสดงถึงการใช้ข้อมูลจำนวน 442 ที-ยูนิทมาเข้ารหัสและให้คะแนนตามระดับคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ (Coding scheme) ที่ตั้งไว้สำหรับการวิจัยนี้ ค่าความเชื่อมั่นของการเข้ารหัสเท่ากับ .94 (2) นำข้อมูลบันทึกเทปจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เพื่อศึกษาถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษานำข้อมูลจากการอ่านในแหล่งต่าง ๆ มาแปรรูป (transform) และใช้ในงานเขียนของตนเอง และ (3) นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาแจกแจงความถึ่แล้วหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมต่าง ๆ ในระหว่างการเขียนของนักศึกษา

จากการวิเคราะห์งานเขียนทั้งหมด 442 ที-ยูนิท สามารถจัดกลุ่มการใช้ข้อมูลได้เป็น 2 ประเภทคือ การใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง (accurate use of information) ร้อยละ 29.4 และการใช้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง (inaccurate use of information) ร้อยละ 70.6 เมื่อจัดระดับตามคุณภาพของการใช้ข้อมูล โดยพิจารณาจากการแปรความรู้ (knowledge transformation) สามารถจัดประเภทได้คือ การใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ การอธิบายโดยใช้คำพูดของตนเอง (original explanations) ร้อยละ 8.6 การย่อความ (summaries) ร้อยละ 12.9 การถ่ายความ (paraphrases) ร้อยละ 3.4 และการอ้างคำพูด (quotations) ร้อยละ 4.5 ในส่วนที่เป็นการใช้อย่างไม่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 70.6 โดยแบ่งตามระดับของการแปรข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้เป็น 5 ประเภท คือ การอธิบายโดยใช้คำพูดของตนเองร้อยละ 3.4 การย่อความ ร้อยละ 6.8 การถ่ายความร้อยละ 5.6 การอ้างคำพูดร้อยละ 10.0 และการลอกข้อมูล (copies) ร้อยละ 44.8 ในการศึกษาคุณภาพของงานเขียนพบว่า งานเขียนที่ได้รับคะแนนสูงสุด (ร้อยละ 51.43) ประกอบด้วย ข้อความที่เป็นการวิจารณ์ (comments) และการสรุปของผู้เขียน (conclusions) และการย่อความ ในขณะที่งานเขียนที่ได้รับคะแนนรองลงมา (ร้อยละ 0 – 47.62) ประกอบด้วยข้อความที่เป็นการลอกข้อมูลจำนวนมาก การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า ปัจจัยที่ผลกระทบต่อกระบวนการเขียนของนักศึกษามี 4 ปัจจัยคือ (1) ความชำนาญด้านภาษา (2) ความตระหนักในการเขียนเชิงวิชาการ (3) การฝึกฝนการเขียนเชิงวิชาการ และ (4) ข้อจำกัดเรื่องเวลา การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า นักศึกษาค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในงานเขียน (X¯ = 4.54) โดยเฉพาะจากในอินเทอร์เน็ต ในการเลือกข้อมูลสำหรับการเขียนนักศึกษาใช้วิธีการขีดเส้นใต้ข้อมูลสำคัญ

(X¯ = 3.92) และจดบันทึก (X¯ = 3.69) โดยใช้วิธีลอกข้อมูล (X¯ = 4.00) มากกว่าการถ่ายความ (X¯ = 3.00) และการย่อความ (X¯ = 3.88) ในระหว่างการเขียน นักศึกษามักจะกลับไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูล (X¯ = 3.77) โดยใช้วิธีการถ่ายความ (X¯ = 3.85) และย่อความ (X¯ = 3.85) มากกว่าการอ้างคำพูด (X¯ = 3.00) และนักศึกษาทุกคนระบุว่ามีปัญหาในการเขียนเชิงวิชาการ โดยมีปัญหาเกี่ยวกับไวยากรณ์ร้อยละ 69.2 การอ้างอิงร้อยละ 46.2 การพัฒนาความคิดร้อยละ 46.2 และการทบทวนและแก้ไขงานเขียนของตนเอง 46.2 ในขณะที่นักศึกษาร้อยละ 61.6 ระบุว่ามีปัญหาในการอ่าน โดยมีปัญหาเกี่ยวกับคำศัพท์ร้อยละ 46.2 และการย่อความร้อยละ 38.5

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น