Sufficiency Economy Lernning Development of Baan Norlae,
Fang District, Chiangmai Province
สุเมธ พรหมรักษา ( Sumeth Promrugsa) *
ดร.รัตนา โพธิสุวรรณ ( Dr.Ratana Pothisuwant ) **
ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ ( Dr. Priyanut Piboolsravut ) ***
คณิต ธนูธรรมเจริญ ( Khanit Thanuthamcharoen )****
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านนอแล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อนำไปสู่การศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาข้อมูลร่วมกับคนในชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนนั้น เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบดั้งเดิมหรือตามธรรมชาติ โดยเป็นการสืบทอดการดำรงชีวิตตามแนวคิด ภูมิปัญญาของคนในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนั้น การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนมีรูปแบบในลักษณะของเครือข่ายการเรียนรู้ ที่ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้จากหน่วยงาน องค์กรภายนอกที่เข้ามาสนับสนุน เช่น การอบรม การสาธิต การศึกษาดูงาน การทดลองปฏิบัติ การจัดค่ายสำหรับเยาวชน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียน นอกจากนั้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของคนในชุมชนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในได้แก่ ระบบนิเวศ ความศรัทธาในศาสนา ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และประเพณี วัฒนธรรม ส่วนปัจจัยภายนอกชุมชนที่ถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของคนในชุมชนนั้น ได้แก่ นโยบายจากภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เส้นทางการคมนาคม เทคโนโลยี และหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาชุมชน
ABSTRACT
The objectives of this research are to study conditions, problems and real needs of the community by acquiring participation from all relevant units, and lead them to study and develop learning process of the community following the sustainable economic approach, as well as to study the factors affecting a learning process of the community. It is hoped that knowledge and experience gaining from doing this research will be beneficial for a problem solving and a community development by cooperation of government sectors, private sectors and community organizations.
This study is a qualitative research. Data were collected by the researcher himself directly from local people. The researcher attempted to participate in various activities of people in the community. It is found from the results of the study that a learning process of people in the community is developed traditionally and naturally. Their paths of living were transmitted through generations according to the knowledge and experiences which follow the philosophy of His Majesty's sufficiency economy theory. In addition, the learning process of people in Norrae community is developed in the form of learning network, and other forms of learning activities supported by external organizations and government departments. Such learning activities include trainings, demonstrations, educational trips and surveys, as well as experimental practices, youth camps and social forums to summarize knowledge and experience. Furthermore, the social learning process development relating to the paths of living following the sufficiency economy theory also depends on internal factors of people in the community; i.e. ecology system, religious beliefs and relationship among people in the same community, traditions and culture. The external factors affecting the social learning process development are the government policy, change of economic cycles, transportation routes, technology, and supported organizations relating with the well-beings of people in the community.
* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
** อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
*** อาจารย์พิเศษ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
**** อาจารย์พิเศษ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น