++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การศึกษาทักษะการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) ที่ได้รับการสอนแบบ

การศึกษาทักษะการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) ที่ได้รับการสอนแบบวงจรการเรียนรู้

4 – E Science Leaning Cycle

The Study of Thinking skill, Science process skill and Science Learning Achievement

for the second Level (Prathomsuksa VI Student) By an Instructional

4 – E Science Leaning Cycle

ประดิษฐ์ แก้วสีหาบุตร (Pradit Kaewseehabut) *

ดร. สถาพร ขันโต (Dr. Sathaporn Khantho) **

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการคิด 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 23 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านวังยาวสามัคคี กิ่งอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวงจรการเรียนรู้ 4 – E Science Learning Cycle จำนวน 16 แผน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัด ทักษะการคิด แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยกำหนดเกณฑ์สำหรับวัดทั้ง 3 ด้านไว้ร้อยละ 75 , 75 และ 75 ตามลำดับ และ จำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ทุกทักษะกำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 เช่นเดียวกัน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่ใช้ One Shot Case Study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งหลังจากสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดแล้วได้ทำการวัดทักษะการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทดสอบท้ายแผน หลังจากสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดแล้ว ได้ทำการทดสอบทักษะทั้ง 3 ด้านอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ผลโดยใช้ Scoring Rubric ส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าร้อยละ จากนั้นนำมาเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนดไว้


ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้เรียนมีคะแนนทักษะการคิดเฉลี่ยร้อยละ 77.45 ของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีจำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 65.22 ของผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2. ผู้เรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 78.20 ของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่าน เกณฑ์

ที่กำหนดและจำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 60.87 ของผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยร้อยละ 85.74 ของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และ

จำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 95.65 ของผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

ABSTRACT

The purposes of this study were 1) to study thinking skills 2) to study scientific process skills and 3) to study science learning achievement of twenty – three Prathom Suksa VI students at Wang - yaow Samakkee School at Nonsila Sub - distric of Khon Kaen Province (Under The jurisdiction of Khon Kaen Educational Service Area, Office 3) The study was conducted during the first semester of academic year 2006.

There were two categories of instruments in the study. They were 1) the instrument in the research study consisted of sixteen lesson plans 4 – E Science Learning Cycle 2) the instruments used in collecting data consisted of the thinking skills test, the scientific process skills test, and the science learning achievement test. The prescribed criteria of the thinking skills, scientific process skills and science learning achievement test were set at 75 % , 75%, and 75 %, respectively. The number of student who passed the criteria those skills was also at 75%.

The study was an experimental research involved “One - shot Case Study.” The data collection was employed together information after finishing each lesson plan; the students were evaluated their thinking skills, scientific process skills, and science learning test in each lesson plan. Then they were evaluated those three aspects again after finishing the whole activities in the lesson plans. The obtained data were subsequently analyzed in the criterion of Scoring Rubric. For science learning achievement, the students were examined by science learning achievement test. Then the data were analyzed to compare with the prescribed criterion.

The study result indicated that:

1. The students had thinking skills on the average score of 77.45 % which was higher than the prescribed criterion. The students passed the criterion amounted to 65.22 % of the total number which was lower than the prescribed criterion.

2. The Students had scientific process skills on the average score of 78.20 % which was higher than the prescribed criterion. The students passed the criterion amounted to 60.87% of the total number which was lower than the prescribed criterion.

3. The students had science learning achievement on the average score of 85.74% which was higher than prescribed criterion. The students passed the criterion amounted to 95.65 % of the total number which was higher than the prescribed criterion.


* นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น

** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น