++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

The Creation of Mathematics Computer Assisted Instruction on the Topic of “System of Linear Equation” for Mathayom Suksa 1 Students
พัชรนันท์ ปราบริปู (Phatcharanan Prabripu)*
ดร.สุนันทา วีรกุลเทวัญ (Dr.sunanta Viragoontavan)**
ดร.พรพิมล พงศ์สุวรรณ (Dr.Pornpimon Phongsuwan) ***
ดวงใจ ลิ้มอำไพ (Duangjai Limampai)***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 4) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนที่มีความถนัดด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ดาเนินการทดลองกับกลุ่มทดลองโดยใช้เวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์แบบเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22-0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ เป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งกำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพเป็น 5 ระดับ จำนวน 14 ข้อ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ค่า t (One Sample t-test) และ ค่า t (Dependent Sample t-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพ 84.67/84.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากกว่าร้อยละ 20 ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ .01 นักเรียนที่มีความถนัดด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถประสบผลสำเร็จในการเรียนโดยใช้เวลาและจำนวนครั้งน้อยกว่านักเรียนที่มีความถนัดด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา นอกจากนี้นักเรียนทุกกลุ่ม ยังสามารถประสบผลสำเร็จในการเรียนทุกคน
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีความคงทนในการเรียนรู้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
4. จำนวนนักเรียนมากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในระดับมาก ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05
ABSTRACT
The main purposes of this research were to : 1) construct the Computer Assisted Instruction (CAI) on
Linear Equation in One Variable for Mattayom Suksa I Students based on the criterion 80/80, 2) compare students’
achievement scores before and after the use of the CAI media, 3) study students’ retention through the CAI media,
4) study students’ satisfaction towards the CAI media.
The sample, selected by purposive sampling, consisted of 39 Mattayom Suksa 1 students in semester 2 of the 2005 academic year from Bankruatwittayakarn School, Bankruat District, Buriram Province , Office of Buriram Educational Service Area 2, were students with special ability in Art, Music, Sport, Mathematics and Science. The information was gathered from 12 hours of instruction.
Research instruments included : CAI for the Mathematics on the topic of "System of Linear Equation", the 30 items of the criterion referenced 4 multiple choices test of students' achievement with the distribution index of 0.22 – 0.81 and coefficient alpha of 0.95, and 14 -items of five-level rating scales for students’ satisfaction survey. The statistics for data analysis included the percentage, arithematic means, standard deviation (SD), One-Sample t-test, and Dependent Sample t-test. The findings of the study were as follows:
1. The created CAI media has an effectiveness of 84.67/84.63 which was higher than the set criteria with the significant level of .05.
2. The students’ achievement was higher than that before using the CAI media , at the significant level
of .01. Students with special ability in Mathematics and Science can be successful in their study by using less time and periods of time than those with special ability in Art, Music and Sport. Regardless of time all students can be successful in their study.
3. The students’ retention through the CAI media was significant at the level of .05.
4. The students of more than 80 percents were satisfied with the CAI media, at a high level with the
significant level of .05.
คำสำคัญ : โปรแกรมคณิตศาสตร์, ระบบสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
Key words : Mathematics Program, System of Linear Equation
* นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

1 ความคิดเห็น: