++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

“ช่องสะงำ”เหงาหนักต่อเนื่องชาวกัมพูชายังผวาไม่วางใจทหารไทย-เขมรเจรจาหยุดยิง

ศรีสะเกษ - การค้าท่องเที่ยว“ช่องสะงำ” เงียบเหงาหนักต่อเนื่อง พ่อค้าแม่ค้าประชาชนชาวกัมพูชายังหวาดผวาสถานการณ์ชายแดนเขาพระวิหาร ไม่กล้าเข้ามาหาซื้อสินค้าฝั่งไทย เผยไม่วางใจผลเจรจาหยุดยิงซ้ำซากของบิ๊กทหารไทย- เขมร

วันนี้ (20 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่จุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชาช่องสะงำ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งวันนี้เป็นวันเปิดตลาดนัดชายแดนไทย-กัมพูชาที่บริเวณตลาดชายแดนฝั่งไทย บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา เพราะแทบไม่มีพ่อค้าแม่ค้าประชาชนชาวกัมพูชาข้ามแดนเข้ามาหาซื้อสินค้า

ขณะที่ถนนภายในบริเวณตลาดชายแดนไทย ที่ก่อนหน้านี้เคยมีบรรดาประชาชนกัมพูชาและพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยนำเอาสินค้ามา วางขายเป็นจำนวนมาก ปรากฏว่า ถนนได้ว่างเปล่ามีเพียงพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยพากันนั่งเฝ้าร้านค้าของตัวเอง เพียงไม่กี่ร้านเท่านั้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจการค้าขายและการท่องเที่ยวที่ช่องสะงำตกต่ำอย่างหนักในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

ส่วนบริษัททัวร์ ก็ไม่ได้มีการนำคณะนักท่องเที่ยวมาที่จุดผ่านแดนช่องสะงำ เพื่อเดินทางผ่านไปท่องเที่ยวยัง จ.เสียมราฐ กัมพูชาแต่อย่างใด

นางเสมียน รัศมี อายุ 47 ปี แม่ค้าขายลูกชิ้นทอดและสินค้าเบ็ดเตล็ด กล่าวว่า แม้จะมีการเจรจาตกลงหยุดยิงระหว่างคณะนายทหารระดับสูง ของไทยกับกัมพูชาที่บริเวณตลาดช่องสะงำ ฝั่งกัมพูชาไปล่าสุดเมื่อวานนี้ ( 19 ก.พ.) แต่การเจรจาหยุดยิงดังกล่าวก็ไม่ได้ช่วยให้การค้าและการท่องเที่ยวที่บริเวณ ช่องสะงำดีขึ้นมาเหมือนเดิม

จากการที่ได้สอบถามชาวกัมพูชาหลายคนที่เข้ามาหาซื้อสินค้าที่ช่องสะ งำทราบว่า ขณะนี้ประชาชนกัมพูชายังความหวาดผวาและมีความระแวงว่า จะได้รับอันตรายหากเข้ามาในเขตแดนไทย เพราะการสู้รบอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและที่สำคัญการเจรจาตกลงหยุดยิงครั้ง นี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อตกลงร่วมกันแล้วก็ปรากฏมีการปะทะกันเกิดขึ้นเช่นเดิม

ขณะเดียวกันจากการปะทะกันที่บริเวณเขาพระวิหาร อย่างรุนแรงในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาจำนวนมากที่ก่อนหน้านี้เคยมาอยู่อาศัยทำมาหากิน อยู่ที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ช่องสะงำ ได้พากันอพยพหนีการสู้รบกลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิมที่ อ.อันลองเวง จ.อุดรมีชัย กัมพูชา ทั้งนี้ชาวกัมพูชามีความหวาดกลัวภัยสงครามมากกว่าคนไทย เพราะเคยเจ็บปวดจากสงครามล้างเผ่าพันธุ์ภายในประเทศมาก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น