++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗

อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
หญิงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สิงฺคี มิโค ดังนี้.



หน้าที่ 135


ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งพาภรรยาของตน
ไปยังชนบท เพื่อต้องการชำระหนี้สินให้หมดไป ครั้นชำระหนี้สินหมด
แล้วก็เดินทางมา ถูกพวกโจรจับในระหว่างทาง. ก็ภรรยาของกฎุมพี
นั้นเป็นคนมีรูปสวยงามน่าเลื่อมใสยินดี. หัวหน้าโจรปรารภจะฆ่ากฎุมพี
เสีย เพราะความเสน่หาในนาง แต่นางเป็นสตรีมีศีล สมบูรณ์ด้วย
อาจารมารยาท เคารพสามีดุจเทวดา. นางจึงหมอบลงแทบเท้าของ
หัวหน้าโจรอ้อนวอนว่า ข้าแต่นายโจรผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านมีความเสน่หา
ดิฉัน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันเลย ถ้าท่านนักฆ่า ดิฉันจักกินยาพิษ
หรือกลั้นลมหายใจตาย ก็ดิฉันจักไม่ไปกับท่าน ท่านอย่าฆ่าสามี
ของดิฉันโดยใช่เหตุเลย แล้วขอให้ปล่อยสามีนั้นไป. ฝ่ายสามีภรรยา
ทั้งสองนั้นถึงเมืองสาวัตถีโดยปลอดภัย เดินทางมาทางด้านหลังวิหาร
พระเชตวัน เข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำแล้วหารือกันว่าจักถวายบังคม
พระศาสดา จึงเข้าไปยังบริเวณพระคันธกุฎี ถวายบังคมพระศาสดา
แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามนสามีภรรยาทั้งสองนั้นว่า
ไปไหนมา เขาทั้งสองจึงกราบทูลว่า ไปชำระหนี้สินมา พระเจ้าข้า.
เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ก็ในระหว่างทาง พวกท่านมากันโดยไม่มี
ความป่วยไข้หรือ กฎุมพีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ในระหว่างทาง พวกโจรจับข้าพระองค์ทั้งสอง ในตอนนั้น ภรรยา
ของข้าพระองค์คนนี้ได้อ้อนวอนนายโจรผู้จะฆ่าข้าพระองค์ ให้
ปล่อยตัวมา เพราะอาศัยภรรยาผู้นี้ ข้าพระองค์ได้รอดชีวิตมา



หน้าที่ 136

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่บัดนี้เท่านั้น ที่สตรีผู้นี้ได้
ให้ชีวิตแก่ท่าน ถึงในกาลก่อน ก็ได้ให้แม้แก่บัณฑิตทั้งหลายอัน
กฎุมพีนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมือง
พาราณสี มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ในห้วงน้ำใหญ่นั้น
ได้มีปูทองตัวใหญ่อาศัยอยู่. ห้วงน้ำใหญ่นั้น ปรากฏชื่อว่า กุฬีรรหทะ
แปลว่า หนองปู เพราะเป็นที่อยู่ของปูทองตัวนั้น. ปูทองนั้นใหญ่โต
ขนาดเท่าลานนวดข้าว จับช้างกิน เพราะกลัวปูทองนั้น ช้างทั้งหลาย
ไม่อาจลงห้วงน้ำนั้นหาอาหารกิน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในครรภ์นางช้างพัง เพราะอาศัย ช้างจ่าฝูงในฝูงช้างที่อาศัย
กุฬีรรหทะสระอยู่. ลำดับนั้น มาราดาของพระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า
จักรักษาครรภ์จึงไปยังถิ่นภูเขาอื่นรักษาครรภ์อยู่จนคลอดบุตร. พระ-
โพธิสัตว์นั้นรู้เดียงสาขึ้นโดยลำดับ มีบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยว
แรงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม เป็นคล้ายกับภูเขาอันชัน. พระ-
โพธิสัตว์นั้นอยู่ร่วมกับนางช้างพังเชือกหนึ่ง คิดว่าจักจับปู จึงพา
ภรรยาและมารดาของตนเข้าฝูงช้างนั้นพบกับบิดาจึงกล่าวว่า พ่อ
ฉันจักจับปู. ลำดับนั้นบิดาได้ห้ามเขาว่า เจ้าจักไม่สามารถนะลูก.
พระโพธิสัตว์พูดกะบิดาผู้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ท่านจักรู้กำลังของข้าพเจ้า.
พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ประชุมช้างทั้งหมดที่เข้าไปอาศัยห้วงน้ำกุฬีระอยู่
เดินไปใกล้ห้วงน้ำพร้อมกับช้างทั้งปวงแล้วถามว่า ปูนั้นจับช้างใน



หน้าที่ 137

เวลาลง ในเวลาหาอาหาร หรือในเวลาขึ้น ได้ฟังว่า ในเวลาขึ้น
จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น แม้พวกท่านจงลงห้วงน้ำกุฬีระ. หาอาหาร
กินจนเพียงพอแล้วขึ้นมาก่อน เราจักอยู่ข้างหลัง. ช้างทั้งหลายได้
การทำอย่างนั้น. ปูจึงเอาก้ามทั้งคู่หนีบสองเท้าพระโพธิสัตว์ซึ่งขึ้น
ภายหลังไว้แน่น เหมือนช่างทองเอาคีมใหญ่หนีบซี่เหล็กฉะนั้น.
นางช้างไม่ละทิ้งพระโพธิสัตว์ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้ ๆ นั่นแหละ. พระ-
โพธิสัตว์ดังก็ไม่สามารถทำให้ปูเขยื้อน. ส่วนปูลากพระโพธิสัตว์มาให้
ตรงปากตน. พระโพธิสัตว์ถูกมรณภัยคุกคาม จึงร้องว่าติดก้ามปู.
ช้างทั้งปวงกลัวมรณภัย ส่งเสียงร้องก้องโกญจนาทขี้เยี่ยวราดหนีไป.
ฝ่ายนางช้างก็ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้เริ่มจะหนีไป. ลำดับนั้น พระ-
โพธิสัตว์ได้ทำให้นางเข้าใจว่าตนถูกหนีบไว้ เพื่อจะไม่ให้นางหนีไป
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ปูทองมีนัยน์ตายาว มีหนังเป็นกระดูก
อาศัยขอยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้น
หนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้า
อย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ทว่า สิงฺคี มิโค ได้แก่ มฤคมีสี
เหมือนสีทอง มีเขา อธิบายว่า ชื่อว่ามีเขา เพราะประกอบด้วยก้าม
ทั้งสองอันยังกิจที่จะพึงทำด้วยเขาให้สำเร็จ. ส่วนกุฬีระคือปู ท่าน
เรียกว่ามิคะคือมฤคในที่นี้โดยถือเอาอย่างรวบยอด. ในบทว่า อายต-



หน้าที่ 138

จกฺขุเนตฺโต นี้ที่ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น, ที่ชื่อว่าเนตร
เพราะอรรถว่านำไป, เนตรกล่าวคือจักษุของปูนั้นยาว เพราะเหตุนั้น
ชื่อว่ามีเนตรคือจักษุยาว อธิบายว่ามีนัยน์ตายาว. ชื่อว่ามีหนังเป็น
กระดูก เพราะกระดูกเท่านั้นทำกิจคือหน้าที่ของหนังให้สำเร็จแก่ปู
นั้น. บทว่า เตนาภิภูโต ความว่า ถูกมฤคนั้นนั่นแหละครอบงำ
คือท่วมทับ ได้แก่จับไว้เคลื่อนไหวไม่ได้. บทว่า กปณํ รุทามิ
ความว่า เราเป็นผู้ถึงความเป็นผู้น่ากรุณาร้องคร่ำครวญอยู่. บทว่า
มา เหว มํ ความว่า ท่านอย่าได้ทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้เป็นสามที่รักผู้
เสมอกับลมปราณของตน ผู้ถึงความพินาศเห็นปานนี้.
ลำดับนั้น ช้างพังนั้นจึงหันกลับ เมื่อจะปลอบโยนพระโพธิสัตว์
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่เจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้
เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปี ท่านย่อมเป็น
ที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉัน ยิ่งกว่าปฐพีอันมี
มหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ€ิหายนํ ความว่า ก็ในเวลา
มีอายุ ๖๐ ปี โดยกำเนิด ช้างทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยกำลัง ดิฉันนั้น
จักไม่ละทิ้งท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้ ผู้ถึงความพินาศ ท่าน
อย่ากลัว เพราะว่าท่านเป็นที่รักยิ่งของดิฉัน กว่าปฐพีนี้อันตั้งจรด
มหาสมุทรในทิศทั้ง ๔ ชื่อว่ามีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นแดนสุด.



หน้าที่ 139


ครั้นนางช้างทำพระโพธิสัตว์นั้นให้เข้มแข็ง แล้วจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นเจ้า บัดนี้ ดิฉันเมื่อได้สนทนาปราศรัยกับปูทอง
สักหน่อย จักให้ปล่อยท่าน เมื่อจะอ้อนวอนปูทองจึงกล่าวคาถา
ที่ ๓ ว่า :-
ปูเหล่าใด อยู่ในมหาสมุทรก็ดี ใน
แม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเป็น
สัตว์น้ำผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจง
ปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.
เนื้อความของคำที่เป็นคาถานั้นว่า ปูเหล่าใดในมหาสมุทรก็ดี
ในแม่น้ำคงคาหรือยมุนาก็ดี ท่านเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่า
นั้นทั้งหมด โดยความถึงพร้อมด้วยวรรณะและโดยความเป็นใหญ่
ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงขออ้อนวอนท่าน ขอท่านโปรดปล่อยสามีของ
ดิฉันผู้กำลังร้องไห้อยู่เถิด.
เมื่อนางช้างนั้นกำลังพูดอยู่ ปูได้ถือนิมิตในเสียงหญิง เป็น
ผู้มีใจถูกดึงลง จึงอ้าก้ามจากเท้าช้างหาได้รู้อะไรบ้างว่า ช้างนี้เรา
ปล่อยแล้วจักกระทำชื่อสิ่งนี้. ลำดับนั้น ช้างจึงยกเท้าเหยียบหลังนั้น
กระดองพังทลายไปในทันทีนั่นเอง ช้างร้องขึ้นด้วยความยินดี.
ช้างทั้งปวงจึงประชุมกันนำเอาปูไปวางบนบก กระทืบให้ละเอียดเป็น
จุรณวิจุรณไป. ก้ามทั้งสองปูนั้นแตกออกจากร่างกระเด็นตกไปยัง



หน้าที่ 140

ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำ
คงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคา
เมื่อน้ำแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น
ก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา. ในก้ามปูสองก้ามนั้น
ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำ
อยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตระโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้าม
ที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลอง
ชื่ออฬัมพรเภรี. ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นถูกท้าวสักกะให้
พ่ายแพ้ในสงคราม จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์.
อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระดังกระหึ่ม
ดุจเมฆคำรามฉะนั้น
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้
ทั้งสองก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกา
ผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น