มคคัลลานสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อุบายแก้ง่วง พระโมคคัลลานะ 8 วิธี
1_display.jpg
8 วิธีพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐานพระโมคคัลลานะให้บรรลุธรรมภายในวันเดียว
พระโมคคัลลานะนับแต่บวชได้ 7 วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวา มุตตคาม แขวง มคธ อ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วงให้แก่ท่านว่า
1. โมคคัลลานะ เมื่อท่านมีสัญญาอย่างไรความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ ท่านควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
2. ถ้ายังละไม่ได้ ท่านควรตรึกตรอง พิจารณาถึงธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว และได้เรียนมาแล้วอย่างไร ด้วยน้ำใจของตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
3. ถ้ายังละไม่ได้ ท่านควรสาธยายธรรมที่ตัวได้ฟังมาแล้ว และได้เรียนมาแล้วอย่างไร โดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
4. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรยอนหูทั้งสองข้าง และลูบด้วยฝ้ามือ ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
5. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรลุกขึ้นยืนแล้วลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักกษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
6. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในจิต ให้เหมือนกันทั้งกลางวันกลางคืนมีใจเปิดเผยฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
7. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรอธิฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไป กลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุที่ให้ท่านละความง่วงนั้นได้
8. ถ้า ยังละไม่ได้ แต่นั้นท่านควรสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ พอท่านตื่นแล้วรีบลุกขึ้นด้วยความตั้งใจว่า
-เราจะไม่ประกอบสุขในการนอน
-เราจักไม่ประกอบสุขในการเอนข้าง
-เราจักไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ
โม คคัลลานะ ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า เราจักไม่ชูงวง (คือถือตัว) เข้าไปสู่ตระกูลดังนี้เพราะว่า ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล ถ้ากิจการในตระกูลนั้นมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุที่มนุษย์จะนำไม่ถึงภิกษุผู้มาแล้ว ภิกษุก็จะคิดเห็นว่าเดี๋ยวนี้ใครหนอ ยุยงให้เราแตกจากตระกูลนี้ เดี๋ยวนี้มนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไร เธอก็จะมีความเก้อ ครั้นเก้อก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่าน ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว ก็จะเกิดความไม่สำรวม ครั้นไม่สำรวมแล้ว จิตก็จะห่างจากสมาธิ อนึ่ง ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกัน ถือผิดต่อกัน ดังนี้ เพราะว่าเมื่อคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกันถือผิดต่อกันมีขึ้น ก็จำจะต้องหวังความพูดมาก
เมื่อความพูดมากมีขึ้น ก็จะเกิดความคิดฟุ้งซ่าน
ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว ก็จะเกิดความไม่สำรวม
ครั้นไม่สำรวมแล้ว จิตก็จะห่างจากสมาธิ
อนึ่ง โมคคัลลานะเราสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงหามิได้แต่มิใช่ว่าจะไม่ สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวง คือเราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ก็แต่ว่าเสนาสนะที่นอนที่นั่งอันใด เงียบเสียงที่จะอื้ออึงปราศจากลมแต่คนเดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัดควรเป็นที่หลึกออกเร้นอยู่ตามสม ณวิสัย เราสรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานั้น เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว
พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า ว่าโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไหน ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระศาสดาตรัสตอบว่า โมคคัลลานะภิกุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า บรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ครั้นได้สดับดังนี้นแล้ว เธอทราบธรรมทั้งปวงขัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญาอันยิ่งดังนั้นแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขก็ดี
- เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย
- พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องประดับ
- พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องสละคืน ในเวทนาทั้งหลายนั้น
- เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก
- เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
- เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้สงบได้จำเพาะตัว
และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จำจะต้องทำได้ทำเสร็จเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงสวนเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วนเป็นพรหมจีบุคคลประเสริฐสุดกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระโมคคัลลานะปฏิบัติตามโอวาทที่พระศาสนดาทรงสั่งสอน ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น และพระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งให้เป็นภิกษุผู้เที่มีอิทธิฤทธิ์อภิญญาเป็นเลิศ กว่าสาวกองค์อื่น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น