++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวรับคุณธรรมได้ยาก 16 ข้อ (อุปกิเลส 16)

สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวรับคุณธรรมได้ยาก 16 ข้อ (อุปกิเลส 16)

กิเลส หรือเครื่องเศร้าหมองของจิต มีตัวหลักอยู่ 3 ตัว คือ

1. โลภะ คือ ความโลภ ความอยากได้ความเพลิดเพลินยินดี ความยึดเหนี่ยวทางใจ

2. โทสะ คือ ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความเศร้า ความเสียใจ ความกลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย

3. โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อวิชชา

กิเลส 3 ตัวนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดอกุศลทั้งมวล เปรียบเสมือนมารดาให้กำเนิดบุตร (เรียกว่าเป็นอกุศลเหตุ หรืออกุศลมูล) และได้แตกลูกแตกหลานออกมาอีก เรียกว่าเป็น อุปกิเลส 16

พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร

อุปกิเลส 16
การพิจารณาจิต คือ ตามรู้จิตตลอดกาลตลอดเวลา
ทั้งเมื่ออยู่ในอิริยาบถตามปกติและ
เมื่อตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ตามดูจิตแล้ว
เราจะมองเห็นอาการของจิตต่าง ๆ
ทำให้เข้าใจจริตนิสัยของตัวเองมากขึ้น
เมื่อเราเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง
ก็จะเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง
คือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไม่หลงไปตามอามรณ์

จิตเดิมแท้ของเราทุกคนเป็นประภัสสร
บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติ
แต่กิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรเข้ามาครอบงำจิต
ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสหรืออกุศลมูล
อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อมีเหตุปัจจัย
ประสมประสานกันแล้วก่อตัวขึ้น
มาเป็นอุปนิสัยต่าง ๆ มี 16 ลักษณะ
เรียกว่า อุปกิเลส 16

อุปกิเลส ทั้ง 16 ประการนี้ แม้ประการใดประการหนึ่ง
เมื่อเกิดขึ้นในใจแล้วก็จะทำให้ใจสกปรกไม่ผ่องใสทันที
และจะส่งผลให้เจ้าของใจหมดความสุขกายสบายใจ
เกิดความเร่าร้อน หรือเกิดความฮึกเหิมทะนงตัว
เต้นไปตามจังหวะที่อุปกิเลสนั้นๆ บงการให้เป็นไป

อุปกิเลส16 ได้แก่...

ยกข้อธรรมจากพุทธพจน์-เรื่องอุปกิเลศ16
อุปกิเลส ๑๖

[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหนเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]

อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง] (คืออยากได้ของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน โดยไม่ถูกทำนองคลองธรรม - ธัมมโชติ)
พยาบาท [ปองร้ายเขา]
โกธะ [โกรธ]
อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้]
มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน]
ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า] (คือการตีเสมอผู้อื่น คิดว่าเราก็แน่เหมือนกัน - ธัมมโชติ)
อิสสา [ริษยา]
มัจฉริยะ [ตระหนี่]
มายา [มารยา]
สาเฐยยะ [โอ้อวด] (คือการพูดยกตนด้วยสิ่งที่ไม่เป็นจริง - ธัมมโชติ)
ถัมถะ [หัวดื้อ]
สารัมภะ [แข่งดี]
มานะ [ถือตัว]
อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน]
มทะ [มัวเมา]
ปมาทะ [เลินเล่อ] (ความประมาท ความเผลอ ความขาดสติ - ธัมมโชติ)
เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.

พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร

http://www.facebook.com/l/c7068K3Il9c-sRbQgzh8Oy9f-jw;www.dungeon.gr/database/gallery/categories/idia.jpg

อธิบายความ
๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี
อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา
ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี
บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง
จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ
เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือน
กับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ
ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร
ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย
ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร
ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคย
ทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น
เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า
เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา
เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด
เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน
ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา
มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า
รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้
เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา
เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา
เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา
ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว
หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน
แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ
ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น
อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดง
บทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อย
แต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น
ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี
ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออก
ด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก
แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา
เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น
เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง
ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด
จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด
เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้
ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา
ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว
ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่
ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ
ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา


เหตุแห่งความเศร้าหมองทั้ง 16 ข้อนี้จะมี
อยู่ในแต่ละบุคคลมากบ้างน้อย
บ้างต่างกันตามแต่จริตและความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในแต่คน

เมื่อทราบสาเหตุของตนแล้วให้ละเสีย
(ทำวันนี้ยังไม่สายทำเถอะดีกว่าไม่รู้ตัวเลยหรือรู้ตัวแล้วไม่ทำ)

โดยการ

อย่าเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่
อย่ามีความพยาบาท
อย่าผูกโกรธไว้
อย่าผูกความเจ็บใจไว้
อย่าลบหลู่บุญคุณ
อย่าข่มผู้อื่น
อย่าริษยา
อย่าตระหนี่
อย่าเจ้าเล่ห์
อย่าโอ้อวด
อย่าเป็นคนหัวดื้อถือรั้น
อย่าแข่งดี
อย่าถือตัว
อย่าดูหมิ่นผู้อื่น
อย่ามัวเมาหมกหมุ่น
อย่าประมาทเลินเล่อ
และบำเพ็ญธรรมยกระดับจิตใจเพิ่มความใสให้แก่จิต
โดยการบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา,ทำดี เว้นชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส
รักษาศีล 5 เป็นพื้นฐานให้หนักแน่น(ปิดอบายภูมิ)
และรักษากรรมบถ10

กรรมบถ 10 (เทศนาหลวงพ่อฤาษีลิงดำจากศิวโมกข์เล่ม4

กรรมบถ 10 มีอะไรบ้าง กรรมบถ 10 ญาติโยมบางคนไม่เข้าใจ ยังไม่ทราบ ก็จะบอกให้ทราบ

กรรมบถ 10 ทางกายมี 3 คือ
1. ไม่ฆ่าสัตว์
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
ทางวาจา มี 4 คือ
1. ไม่พูดปด
2. ไม่พูดคำหยาบ
3. ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน ไม่นินทา
4. ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
ทางใจ มี 3 คือ
1. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น โดยไม่ชอบธรรม
2. ไม่จองล้างจองผลาญใคร คือ ไม่พยาบาท ความโกรธยังมี
3. มีความเห็นถูกคือ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน ไม่คัดค้าน
นี่ กรรมบถ 10 แบ่งไปตาม กาย วาจา ใจ ก็เอาสติเข้าไปควบคุมว่า ศีล 5 ก็ดี กรรมบถ 10 ก็ดี มีกี่สิกขาบท มีอะไรบ้าง คุมไว้ไม่ยอมลืม ใหม่ ๆ ก็ลืมบ้าง เป็นของธรรมดา

อานิสงส์ ประพฤติ ธรรม

เป็นมหากุศล
เป็นผู้ไม่ประมาท
เป็นผู้รักษาสัทธรรม
เป็นผู้นำศาสนาให้เจริญ
เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า
ไม่ก่อเวรก่อภัยกับใคร ๆ
เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์
เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาของนักปราชญ์
สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนเองและส่วนรวม
เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน
"ธมฺมจารี สุขํ เสติ
การประพฤติธรรม นำสุขมาให้(พุทธพจน์)

OOO

จงพึงสังวรไว้เสมอว่า

ในทางกลับกันผู้ไม่รักษาธรรมอันเป็นกุศลแล้วย่อมพบความฉิบหาย
จากผลกรรมที่ตนเองสร้างไว้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างไม่มีทางเลี่ยง
ได้เลยหากไม่รักษาความดีสิ่งที่ปถุชนทั่วไปเขาว่าไม่มีๆแต่ต่อให้พูดขนาด
ไหนก็ไม่มีทางที่จะลบล้างความจริงของธรรมชาติได้อัน
มีอยู่แล้วเป็นธรรมดาทั้งนรกสววรค์ และ นิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น