++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบริหารประเทศที่ผิดธรรมชาติ

โดย นายวิจิตร สุระกุล 11 พฤศจิกายน 2552 15:19 น.
ปรัชญาพระราชทาน เรื่องเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้ผู้ปฏิบัติงานใน 3
จังหวัดภาคใต้ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่และพระบรมราโชวาทเรื่องดับเบิลสแตนดาร์ด
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นหลักการสากล
สอดคล้องกับปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์และปรมาจารย์ในวิชาการบริหารจัดการระดับ
โลก ทุกเรื่อง

ศาสตราจารย์ R.M. Mc.Iverสาขารัฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา อธิบายว่า
"การกระทำใดๆ ที่ฝ่าฝืนกฎของธรรมชาติ (Law of Nature) การกระทำนั้นๆ
ไม่ถูกต้อง ( null and void) และว่า "กฎของพระเจ้า" ( Law of God) คือ
"กฎของธรรมชาติ" "ธรรมชาติคือความจริงที่ครองโลก" พุทธศาสนาเรียกว่า
"สัจธรรม"

C.Northcote Parkinson ปรมาจารย์ในเรื่องการบริหารจัดการ
อธิบายว่า หลักการในการวิเคราะห์งาน (The analysis of work)
แบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรก เป็นงานที่เป็นกฎระเบียบ ( Prescribed Element)
คนทั่วไปมองเห็นเป็นรูปร่างจับต้องได้

ส่วนที่สอง เป็นงานส่วนที่ต้องใช้การตัดสินใจ (Discretionary
Element) เป็นงานที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง (Intrinsic)
เป็นงานที่ต้องใช้การตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ (strategic decision)
เป็นงานที่แฝงอยู่ในธรรมชาติ ตามความหมายที่นักรัฐศาสตร์พูดถึง

ถ้าเปรียบกับการวินิจฉัยโรคปวดข้อ คนที่ไม่เข้าใจ
ก็ใช้ยาทาหรือกินแก้ปวด
ถ้าเป็นแพทย์จะไม่รักษาจากอาการแต่จะรักษาจากสาเหตุของโรค
นักบริหารที่มีประสิทธิภาพ ก็เช่นเดียวกันต้องพิจารณาจากส่วนที่สอง

Parkinson อธิบายว่า "ความเข้าใจ" (understanding)
เป็นคุณสมบัติของนักบริหาร (excutive qualities) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
"ผู้บริหารที่มีความเข้าใจไม่ว่างานจะมีปัญหายุ่งยากมากเพียงใด
สามารถอธิบายได้โดยไม่ยากภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที"

ความเข้าใจของงานในแต่ละเรื่อง
แฝงอยู่ในธรรมชาติของงานในแต่ละเรื่อง เนื่องจากธรรมชาติ
เป็นความจริงที่ครองโลก เพราะฉะนั้นความจริงจึงมีมาตรฐานเดียว
คนที่ไม่เข้าใจและไม่มีความรู้
ทำให้เกิดหลายมาตรฐานและกลายเป็นดับเบิลสแตนดาร์ด ในที่สุด

เมื่อนำเอาความรู้ของ 2 ปรมาจารย์มาปรับเข้าหากัน พบว่า
หน้าที่ในทางการเมือง ( Political Function) ของรัฐบาล
มีทั้งที่ไม่เข้าใจ และมีทั้งที่เป็นดับเบิลสแตนดาร์ดปนกันอยู่
จะยกตัวอย่างที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ

1.เรื่องโครงสร้างของรัฐ รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ประเทศไทย
จัดโครงสร้างใน "ระบบรัฐเดี่ยว" (Unitary System)
ธรรมชาติของรัฐในระบบนี้
กำหนดให้ศูนย์รวมอำนาจในการบริหารประเทศมีหนึ่งเดียว (one source of
authority) รัฐบาลไม่ได้ทำเช่นนั้น กลับนำเอาวิธีการตามโครงสร้าง
"ระบบสหรัฐฯ" (Federal System) ของสหรัฐอเมริกา
ที่ให้มีการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ท้องถิ่นตามแบบของสหรัฐฯ มาใช้
ทำให้โครงสร้างของรัฐผิดธรรมชาติและเกิดดับเบิลสแตนดาร์ดขึ้น

G.A. Jacobsen และ M.H.Lipman นักรัฐศาสตร์ของสำนักพิมพ์ Barnes
and Noble นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า ระบบทั้งสองขัดกัน
เข้ากันไม่ได้ (antithesis) และได้อธิบายว่า การปกครองส่วนท้องถิ่น
(Local Self government) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิโรมัน (Roman
Empire) ล่มสลาย (collapse) มาแล้ว

2.เรื่องโครงสร้างของรัฐบาล เมื่อได้กำหนดโครงสร้างของรัฐขึ้นแล้ว
เพื่อให้โครงสร้างของรัฐกับโครงสร้างของรัฐบาลเข้ากันได้ จึงนำเอา
"ระบบรัฐสภา" (Parliamentary System) ตามแบบของประเทศอังกฤษมาใช้
ต่อมาได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันถึง 18 ครั้ง
โครงสร้างของรัฐบาลก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นหลายรูปแบบ รูปแบบเดิมก็มี
แบบรัฐสภาของอเมริกัน (American Presidential Congressional System) ก็มี
แบบผสม (Hybrid) ของฝรั่งเศส ก็มี แบบพิเศษ (Special Case)
ของสวิตเซอร์แลนด์ก็มี
ทำให้ดับเบิลสแตนดาร์ดเกิดขึ้นในโครงสร้างของรัฐบาลไทย
กลายเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศตามที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้

ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ (Administrative Function)
ของรัฐบาลก็มีทั้งที่ไม่เข้าใจ และมีดับเบิลสแตนดาร์ดเช่นกัน ที่สำคัญๆ
คือ

1.เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า ดับเบิลสแตนดาร์ด
จะทำให้ประเทศหายนะ
ไม่เคยปรากฏว่ามีนักปราชญ์ที่ไหนเคยใช้คำพูดนี้กันมาก่อน
พระองค์ทรงบัญญัติคำพูดนี้ด้วยพระองค์เอง เป็นคำที่กะทัดรัด ครอบคลุม
เหมาะที่จะใช้ให้เป็นสากล ในทางรัฐศาสตร์และการบริหารจัดการ เรียกว่า
"อำนาจคู่" (Dual Authority) บ้าง "แยกปกครอง" ( Divide and Rule) บ้าง
ดับเบิลสแตนดาร์ด เกิดขึ้นในองค์การไหน องค์การนั้นจะมีแต่ความหายนะ
(Wreak Havoc)

R.M.Mc.Iver ที่กล่าวถึงข้างต้น อธิบายว่า การบริหารประเทศ
ไม่ใช่เป็นงานสำหรับการทดลอง (experiment)
จะมีหลายมาตรฐานเหมือนภาคเอกชนไม่ได้ ภาคเอกชนผิดแล้วแก้ไขเองได้
แต่ภาครัฐต้องบัญญัติเป็นกฎหมาย (legistrate) ผิดพลาดขึ้นแล้ว แก้ไขยาก

2.ปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รัฐบาลใช้กฎหมายระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นมาตรฐานหลัก
ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 สำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ 229/2518
แต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ต่อมาโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2524 ให้กระทรวงมหาดไทย
จัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ขึ้น
นักวิชาการบริหารจัดการ เรียกคณะกรรมการเหล่านี้ว่า "คณะกรรมการเฉพาะกิจ"
(Ad Hoc Committee) คณะกรรมการนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็น "สะพานเบี่ยง"
เพราะทางมาตรฐานมีปัญหา
คณะกรรมการนี้มีหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาตามหลักการทั้ง 2 ข้อ
และหาวิธีการทำให้ทางมาตรฐานกลับสู่สภาพเดิม
พร้อมกับยกเลิกคณะกรรมการดังกล่าวเสีย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า
คณะกรรมการไม่ได้ยึดหลักการบริหารประเทศในภาวะวิกฤตเป็นหลัก
กลับรวบอำนาจบริหารงานเสียเอง นำเอาวิธีการเรื่อง "อำนาจคู่" และ
"การแยกปกครอง" มาใช้ ปัญหาจึงยังหาข้อยุติไม่ได้ แสดงให้เห็นว่า
อย่าว่าแต่จะให้เข้าใจเรื่อง 3 จังหวัดภายในเวลา 10 นาทีเลย จนบัดนี้ 34
ปีแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจปัญหา

หลักการในเรื่อง "การแยกปกครอง"
มีประโยชน์สำหรับใช้แก้ปัญหาในระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวจะเกิดปัญหา
ตามที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้

ว่ากันตามความเป็นจริง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ก็แก้ปัญหาได้
ถ้ารู้จักทำ การยกเลิกคำสั่งก็ทำได้ง่าย การทำเป็นกฎหมายใหม่ขึ้นมา
จะทำให้ดับเบิลสแตนดาร์ดเกิดขึ้นกับกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
รับรองได้ว่า กฎหมายใหม่นี้
จะสร้างความได้เปรียบกับฝ่ายตรงกันข้ามอย่างแน่นอน

หลักนิยมของสำนักงานการป้องกันฝ่ายพลเรือน (Office of Civil
Defense / OCD) กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา แนะนำว่า "เมื่อเกิดภาวะวิกฤต
จงมีสติ อย่าตื่นตระหนก ให้ใช้ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์
อย่าเปลี่ยนแปลง" (In case of emergency, calm do not rampage use the
existing without change) หลักการดังกล่าวถูกต้อง
สมควรที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

3.ปัญหาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.
2547 ก็เช่นเดียวกัน เกิดจากการฝ่าฝืน "หลักการจัดองค์การ" (Organization
Principle) ที่กำหนดว่า ผู้นำในการบริหาร (chief excutive)
จะต้องมีคณะทำงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (expert staff) เป็นคณะที่ปรึกษา
แทนที่จะทำให้ผู้ทรงวุฒิเป็นที่ปรึกษา
กลับตั้งให้เป็นคณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ กลายเป็นว่า
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริหารองค์การด้วยบอร์ด (board)
ผู้นำในการบริหารไม่มีอำนาจตัดสินใจสั่งการเป็นของตนเอง
ทุกอย่างจะต้องปฏิบัติตามมติของบอร์ด

Parkinson ที่กล่าวถึงข้างต้น อธิบายว่า "บอร์ดบริหารไม่ได้
และไม่ควรใช้บอร์ดเป็นผู้บริหารโดยตรง (directing body)"

ศาสตราจารย์ William Bennett Munro จาก California Institute of
Technology สหรัฐอเมริกาได้กล่าวเมื่อปี 1937 ว่าเมื่อ 50 ปีมาแล้ว
สหรัฐอเมริกานิยมใช้บอร์ดในการบริหารกันมาก แต่ขณะนี้ไม่นิยมกันแล้ว
เปลี่ยนมาเป็นการบริหารเชิงเดี่ยว (single commsion)
แสดงว่าได้ยกเลิกระบบนี้ไป 126 ปีแล้ว
เพราะรัฐบาลไม่เข้าใจเงื่อนไขของการบริหารงานด้วยบอร์ด
จึงทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น

กล่าว โดยสรุป วิกฤตปัญหาของชาติทั้งหมด
เกิดจากการบริหารที่ผิดธรรมชาติของทุกรัฐบาล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำก็ไม่ปฏิบัติตาม
ถ้าจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ
จะต้องทำให้พรรคการเมืองมีความสามัคคีกันเสียก่อน
จะต้องใช้หลักการทำงานอย่างเป็นทีม
ทีมจะต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้องและเป็นธรรม
เรื่องที่จะต้องระมัดระวังในการทำงานเป็นทีมก็คือเรื่อง "ปาก"
ทีมต้องช่วยกันแก้ปัญหาให้สมกับที่ นายลี กวน ยิว
อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงค์โปร์
เคยกล่าวถึงประเทศไทยว่าประเทศไทยมีความพร้อมทุกเรื่อง
หากมีการบริหารจัดการที่ดี ประเทศไทยจะไม่เป็นรองใครในเอเชีย
เป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล
ที่จะต้องหาวิธีการทำให้ทีมงานดังกล่าวเกิดขึ้นให้ได้
เพราะปัญหาทั้งหมดเกิดจากการบริหารที่ผิดธรรมชาติของรัฐบาลเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น