++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อีสานดิจิตอล ส่ง "ใบลานอิเล็คทรอนิคส์"อนุรักษ์ของเก่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2552 18:39 น.
นัก ศึกษาร่วมสืบสานภูมิปัญญาอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน แปรรุปใส่แพ็กเกจทันสมัยในรูปแบบใบลานอิเล็คทรอนิคส์

โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 ด้วยเล็งเห็นว่าควรมีการดำเนินการด้านการสำรวจอนุรักษ์และเอกสารใบลานอย่าง จริงจัง เพราะเอกสารใบลานเป็นเอกสานชั้นต้นที่มีความสำคัญต่อวิชาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีต การบันทึกสรรพวิชาการ คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและการสร้างสรรค์ของผู้คนในท้องถิ่น จะบันทึกไว้ในใบลานโดยใช้ตัวอักษรโบราณที่ใช้ในชุมชนนั้นเขียนบันทึกไว้ ซค่งบรรดาข้อมูลที่อยู่ในเอกสารใบลานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาวิถี ชีวิตชุมชน ความศรัทธาความเชื่อของชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างยิ่ง

ผศ.วีณา วีสเพ็ญ ประธานโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯเปิดเผยว่า ได้เริ่มงานอนุรักษ์โดยสานต่อการรื้อฟื้นและคัดสรรภูมิปัญญาที่จารึกในใบลาน ...อีกครั้ง
“ เราเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าใบลานในวัดเป็นที่แรกเพราะในสมัยก่อนวัดเป็นศูนย์ กลางการเรียนรู้เป็นที่เก็บรักษาตำราเพราะในสมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางการ เรียนรู้เป็นที่เก็บรักษาตำราและคัมภีร์ใบลานที่จารึกคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ ด้วยอักษรธรรม ซึ่งเป็นตัวอักษรโบราณ การทำงานของคณะทำงานจะทำหน้าที่ตรวจสอบรักษา และคัดแยกเพื่อเก็บ้อมูลทำเป็นรูปเล่มและมอบให้กับทางวัด 1 เล่ม และโครงการเก็บไว้ 1 เล่ม”หลังจากนั้น คือ การถอดแปลคัมภีร์ใบลานเพื่อพิมพ์เผยแพร่โดยการถอดแปลใบลานนั้นต้องตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของชุมชน ซึ่งเป็นเรื่อง “ตำรายา” ในเอกสาร 8 อันดับแรกตามนโยบายของโครงการที่จะถอดแปลและพิมพ์เผยแพร่เป็นตำรายาพื้นบ้าน “ ข้อมูลจากใบลานอาจมีตัวยาดีๆ ทีเป็นสมุนไพรพื้นบ้านซึ่งหมอยา บุคลากรเภสัชศาสตร์ได้นำไปปรุง ทดลองแล้วนำไปใช้เป็นภูมิปัญญาของไทยลดการซื้อยาจากต่างประเทศสอดคล้องกับ การตั้งหน่วยงานแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกของกระทรวงสาธารณสุขในแง่ประโยชน์ของการเผยแพร่ตำรายา"



ทั้งนี้"ผศ.วีณา"กล่าว ต่อว่าปัจจุบันทั่วโลกกำลังยื้อแย่งเรื่องภูมิปัญญาและนำเอาองค์ความรู้ไปจด สิทธิบัตร ดังนั้น การถอดแปลตำรายาโบราณนอกจากจะเป็นผลดีต่อหมอยาพื้นบ้าน ที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้ว ยังทำให้นักวิชาการนำไปศึกษาพัฒนาและกระทรวงสาธารณสุขก็นำผลงานที่โครงการ อนุรักษ์ใบลานได้ศึกษา ไปเข้าสู่กระบวนการให้คณะกรรมการศึกษาและอนุมัติเพื่อปกป้องให้เป็นเอกสาร ของชาติก่อนที่จะมีใครมาแอบเด็ดยอด

"ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บรรจุภาษาโบราณภาษาอีสานไว้ในหลักสูตรของคณะอย่างน้อย 3 วิชาเอกเพื่อสร้างนิสิตรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณไว้ รับช่วงต่อ แล้วยังได้เดินหน้างานอนุรักษ์เชิงรุกโดยการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับอักษร โบราณที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ใบลานอีสานแก่ครู นิสิต นักศึกษา และนักเรียนตลอดจนลงพื้นที่จริง เพื่อดูใบลานของวัดที่ยังไม่มีการสำรวจจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสำคัญของตนเองที่จะลุกขึ้นมาอนุรักษ์ คัมภีร์ใบลาน"อาจารย์สรุป

ใบลานยุคดิจิตอล
การ พัฒนาข้อมูลเพื่อเผยแพร่องค์ควมรู้จากใบลานเป็นการทำงานร่วกันระหว่างศุนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กับการกลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อพัฒนาโครงการวิจัย โดยใช้ศักยภาพของการทำงานและภูมิความรู้จาก อ.ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง รองคณะบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพคณะวิทยาการสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

และคณะทำงานในด้านเทคโนโลยีการสร้างฐานข้อมูลเพื่ออนุรักษ์ตัวอักษร ที่จารึกข้อมูล ภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณไม่ให้สูญหายไปตามการผุพังของใบลาน และนำไปสู่การเผยแพ่รต่อสังคมและนักวิชาการ โดยง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งเผยแพร่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้อย่างมีคุณภาพ

ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บโดยใช้คอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพ สแกน แปลงไฟล์ข้อมูลให้อยู่ในรูปดิจิตอล กระบวนการเหล่านี้เรียกว่า Digitized จะทำให้การเก็บรักษาข้อมูลใบลานรวดเร็วขึ้น และ เมื่อมีการเก็บใบลานในรูปแบบดิจิตอลก็ทำให้ผู้ที่สนใจศึกษาได้เข้ามาแปลเป็น การสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาต่อไป วันข้างหน้าหากเราอยากรู้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรายาโบราณ อาจจะเปิดดูที่ใบลานอิเล็คทรอนิกส์ที่ถูกดาวน์โหลดเป็นไฟล์MP3 เรียบร้อยแล้ว

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000134907

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น