++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ยูทูบใส่คำบรรยายอัตโนมัติเพื่อคนหูหนวก มีภาษาไทยด้วย!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2552 08:19 น.
ส่วนหนึ่งจากวิดีโอ แนะนำบริการใส่คำบรรยายใต้ภาพวิดีโออัตโนมัติบนยูทูบ
กรอบสีแดงซ้ายมือคือข้อความบรรยายที่ได้จากโปรแกรมแปลงเสียงเป็นข้อความ
กรอบขวามือคือภาพวิดีโอต้นฉบับ
กรอบเล็กกลางจอภาพคือภาษาที่ผู้ใช้ยูทูบสามารถเลือกได้ถึง 51 ภาษา
ซึ่งมีภาษาไทยรวมอยู่ด้วย
วิดีโอพร้อมคำบรรยายภาพอาจไม่ใช่เรื่อง ใหม่สำหรับยูทูบ
แต่การที่กูเกิลให้บริการ"โปรแกรมใส่คำบรรยายภาพวิดีโอแบบอัตโนมัติ"นั้น
เป็นเรื่องใหม่แน่นอน
ความเคลื่อนไหวนี้จะทำให้ผู้พิการทางหูสามารถเข้าใจวิดีโอบนยูทูบได้มากขึ้น
ปรับโอกาสในการรับข้อมูลข่าวสารให้เทียบเท่ากับชาวเน็ตทุกคนที่ต้องการค้นหา
และชมวิดีโอออนไลน์

ยูทูบนั้นให้บริการใส่คำบรรยายใต้วิดีโอแบบที่สมาชิกยูทูบต้องลงมือ
พิมพ์ด้วยตัวเองครั้งแรกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยขณะนี้
วิดีโอที่มีคำบรรยายนั้นมีจำนวนหลายพันชิ้นแล้วบนยูทูบ

สำหรับ บริการใส่คำบรรยายใต้วิดีโอแบบอัตโนมัติใหม่ล่าสุดที่กูเกิลจะให้บริการในยู
ทูบนั้น เป็นการนำอัลกอริธึมหรือลำดับความคิดในการจำแนกวิเคราะห์เสียงซึ่งกูเกิลใช้
ในบริการกูเกิลวอยซ์ (Google Voice)
มาสร้างคำบรรยายใต้วิดีโอแบบอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้เรียกรวมว่าเทคโนโลยี
auto-cap

จุดนี้ เคน แฮร์เรนสไตน์ (Ken Harrenstien)
วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้สร้างเทคโนโลยีคำบรรยายอัตโนมัตินี้ยอมรับว่า
คำบรรยายที่ได้อาจจะไม่สมบูรณ์แบบในขณะนี้
แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าพัฒนาความถูกต้องแม่นยำอย่างต่อเนื่องในอนาคต

แฮร์เรนสไตน์นั้นเป็นวิศวกรผู้พิการทางหูที่มุ่งมั่นทำประโยชน์ให้
แก่เพื่อนร่วมชะตากรรมได้อย่างน่าชื่นชม
โดยแฮร์เรนสไตน์เขียนในบล็อกของกูเกิลว่า
วิดีโอออนไลน์ที่ชาวอินเทอร์เน็ตสร้างขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ผู้พิการทางหูส่วน
ใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยในช่วงแรก
คำบรรยายอัตโนมัตินั้นจะสามารถวิเคราะห์ภาษาอังกฤษได้เพียงภาษาเดียว
โดยนอกจากยูทูบ ผู้พิการทางหูสามารถชมวิดีโอออนไลน์พร้อมคำบรรยายอัตโนมัติได้ผ่านช่องทาง
พันธมิตรยูทูบอีก 13 ช่องทาง

คำ บรรยายที่ได้นั้นจะแสดงได้หลากหลายถึง 51 ภาษา รวมถึงภาษาไทย
ซึ่งจากการทดสอบขณะนี้
พบว่ามีเพียงวิดีโอออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาเท่านั้นที่มีคำแปล
และเป็นคำแปลภาษาไทยที่มีลักษณะเดียวกับโปรแกรมแปลภาษา Google Translate
ซึ่งผู้อ่านต้องนำมาเรียบเรียงเองอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากประโยชน์ต่อผู้พิการทางหู
แฮร์เรนสไตน์ระบุว่าคำบรรยายภาพวิดีโอยังมีประโยชน์ในแง่ของการสืบค้นวิดีโอ
ด้วย เนื่องจากผู้ใช้สามารถเลือกชมวิดีโอเฉพาะช่วงที่มีเนื้อความเกี่ยวข้องกับ
คีย์เวิร์ดที่ต้องการได้

อย่างไรก็ตาม
เพื่อการไม่หวังพึ่งพาระบบบรรยายวิดีโออัตโนมัติมากเกินไป
แฮร์เรนสไตน์ยังโชว์เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้อัปโหลดวิดีโอใจบุญ
ที่ต้องการใส่คำบรรยายภาพวิดีโอด้วยมือ นั่นคือเทคโนโลยี automatic
caption timing หรือเรียกสั้นๆว่า auto-timing

"ด้วย auto-timing
คุณไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการใส่คำบรรยายบนยูทูบ
ที่คุณต้องทำคือการสร้างไฟล์ข้อความธรรมดาซึ่งประกอบด้วยข้อความที่ปรากฏใน
วิดีโอทั้งหมด จากนั้นเราจะใช้เทคโนโลยี ASR
ของกูเกิลเป็นตัวจัดวางตามช่วงเวลาที่ข้อความนั้นถูกเอ่ยออกมา
คำบรรยายวิดีโอก็จะสามารถถูกสร้างได้ง่ายดาย" แฮร์เรนสไตน์อธิบาย

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกูเกิลในขณะนี้
คือการเข้าซื้อบริษัทเกิดใหม่ด้านโฆษณานาม Teracent
กูเกิลไม่ระบุรายละเอียดว่าซื้อมาในราคาเท่าใดแต่ยอมรับว่าการซื้อครั้งนี้
จะทำให้กูเกิลสามารถเปิดตัวบริการใหม่ด้านโฆษณาออนไลน์ได้
เป็นความเคลื่อนไหวหลังการประกาศซื้อบริษัท AdMob
บริษัทเครือข่ายโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือด้วยเงินมูลค่า 750 ล้านเหรียญ

Company Related Links :
Youtube

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000142502

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น