ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
การจัดระเบียบ พื้นที่ตั้งร้านขายปลีกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ
"การจัดโซนนิ่งร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์"
กำลังเป็นมาตรการที่ได้รับความสนใจ เพราะมีข้อมูลวิชาการยืนยันว่า
เป็นหนึ่งในนโยบายที่ช่วยลดความเสี่ยง
และอันตรายที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ชุมชน
ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชน
ทั้งนี้ มาตรการจัดระเบียบพื้นที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ
โซนนิ่ง (Alcohol Zoning)
เป็นมาตรการที่กำหนดข้อจำกัดการใช้พื้นที่โดยยึดเอาสุขภาวะของประชาชนที่
อาศัยในชุมชน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่ดำเนินการแล้วในหลายประเทศ
เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สวีเดน เช่น ที่เมืองบาวเดอร์ ในรัฐโคโลราโด้
และเมืองนีวาร์ก ในรัฐดีลาแวร์ ซึ่งเป็น 2 ใน 10
ชุมชนเมืองที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในท้องที่แก้ปัญหาการดื่มหนักของนัก
ศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย
ศีลธรรม และการจัดสวัสดิการอย่างเหมาะสม
ในเอกสารวิชาการด้านการพัฒนานโยบายท้องถิ่น ที่จัดทำโดย
สถาบันมาร์ติน (The Martin Institute) ในเมืองซาน ราฟาเอล
รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นสถาบันที่มีพันธกิจหลักในการป้องกันการครอบงำด้านลบของอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ต่อชุมชนท้องถิ่น
ระบุว่า การ กำหนดจำนวนและความหนาแน่นของร้านขายปลีกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งใน
วิธีการที่สามารถลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จริง
โดยมีผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า ยิ่งมีร้านขายเหล้าต่อหัวประชากร
หรือต่อพื้นที่ (ต่อตารางไมล์) น้อยเท่าไหร่
ก็ยิ่งส่งผลให้การบริโภคและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ลดลงมาเท่านั้น
โดยเฉพาะปัญหาการดื่มสุราของเยาวชนที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์การดื่ม
ขณะเดียวกันยังพบว่า
ยิ่งชุมชนหรือพื้นที่ใดมีร้านขายเหล้าหนาแน่นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเกิดปัญหา
อาชญากรรม ความรุนแรง การฆาตกรรม ตลอดจนเหตุเดือดร้อน ถูกก่อกวน
และกิจกรรมผิดกฎหมายมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามกัน
สำหรับมาตรการโซนนิ่งในประเทศไทยนั้น
อยู่ระหว่างการรอประกาศเป็นกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติแอลกอฮอล์
พ.ศ.2551 โดยในเดือนตุลาคม 2552 กระทรวงสาธารณสุข
และภาคีต่างๆจะร่วมกันคัดเลือกพื้นที่ทดลองตัวอย่างเพื่อจะประกาศห้ามขาย
แอลกอฮอล์ในบริเวณ 500 เมตรรอบสถานศึกษา ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อร้านขายปลีก
โดยเฉพาะร้านเหล้าปั่นจะไม่ได้รับอนุญาตให้ขายเหล้าอีกต่อไป
อีกทั้งยังประกาศการเพิ่มคำเตือนและรูปภาพเพื่อแสดงถึงอันตรายจากการดื่ม
แอลกอฮอล์ ซึ่งมีขนาดครึ่งหนึ่งของฉลากสินค้าลงบนขวดและหีบห่อบรรจุสินค้าแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเอื้อต่อมาตรการโซนนิ่ง คือ
มาตรการที่จะปฏิเสธการออกใบอนุญาตให้ร้านค้าปลีกที่จะเปิดร้านขายแอลกอฮอล์
ใกล้กับสถานศึกษา หรือการเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราพิเศษ
การจัดระเบียบพื้นที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในต่างประเทศนั้น
มีลักษณะการออกมาตรการควบคุมการดำเนินกิจการ ดังนี้
1.กำหนดระยะห่างในการตั้งร้านจากสถานที่ เช่น สถานศึกษา
และศาสนสถาน เช่น
หลายเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายกำหนดให้ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ต้องตั้งห่างจากโรงเรียนหรือขอบตึกโบสถ์ไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟุต (ประมาณ
304.8 เมตร) เช่น เมืองนีวาร์ก ในรัฐดีลาแวร์
ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนีวาร์ก
ได้จำกัดความหนาแน่นของบาร์ที่จะสร้างใหม่ในถนนสายหลักของเมืองให้อยู่ห่าง
จากสถานที่ที่กำหนด เช่น โบสถ์ สนามฟุตบอล หอประชุมในระยะ 300 ฟุต
ทำให้จำนวนนักดื่มหนักลดลงถึง 5% (ในปี 1993) จากเดิม 61.9% เป็น 56.7%
ในปี 1997 ขณะเดียวกัน
ก็มีนักศึกษาที่เลือกที่จะไม่ดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจากเดิม 6% เป็น
15.7%
2.จำกัดความหนาแน่นของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่เสี่ยง
เช่น เขตที่อยู่อาศัย ที่จอดรถ ชายทะเล ปั้มน้ำมัน หรือในกิจกรรมสาธารณะ
เช่น การจัดตลาดนัด หรืองานรื่นเริงกลางแจ้ง เป็นต้น เช่น
มหาวิทยาลัยโคโลราโด้ที่ทำข้อตกลงกับชุมชนในเมืองฟาว์เดอร์ห้ามการจำหน่าย
เบียร์ในสนามฟุตบอล
ทำให้แฟนบอลที่ถูกไล่ออกจากสนามเพราะทะเลาะวิวาทกันลดลงถึง 69%
และจำนวนการจับกุมก็ลดลงจาก 9 รายจนเป็นศูนย์ราย ในปี 1997
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ที่ผ่านมา มีชุมชนจำนวนไม่น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น
สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์
ที่ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐ
หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกมาตรการจำกัดเขตและจำนวนร้านขายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ โดยพยายามผลักดันให้ร้านค้าประเภทนี้ออกไปทำกิจการห่างไกลจากเขตที่อยู่
อาศัยหนาแน่น โดยอยู่ใน โซนที่จัดไว้สำหรับธุรกิจบันเทิง (Entertainment
Zone) โดยเฉพาะ เพื่อที่ประชาชนทั่วไปไม่ต้องเผชิญกับการรบกวนในรูปแบบต่างๆ
จากนักดื่มที่เมามาย เช่น การอาละวาด คุกคาม การก่อเสียงดัง
ไปจนถึงการปัสสาวะและก่อความสกปรกเรี่ยราด
ใน เอกสารดังกล่าว มีข้อเสนอแนะว่า ชุมชนต่างๆ
สามารถเรียกร้องให้รัฐ
หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกนโยบายหรือมาตรการที่จำกัดจำนวนร้านขาย
เหล้าในแต่ละชุมชน โดยอิงเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
-กำหนดจำนวนร้านตามขนาดพื้นที่ชุมชน
-กำหนดจำนวนร้านตามโครงสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่
โดยให้มีสัดส่วนสอดคล้องกับร้านค้าประเภทอื่นๆ
-กำหนดจำนวนร้านตามความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่
ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางกว้างๆ
ที่คนในแต่ละชุมชนสามารถสร้างหลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนร้านขายเหล้าในชุมชนให้
เหมาะสมกับเงื่อนไขตามที่คนในชุมชนเห็นพ้องต้องกันว่าเหมาะสม
แล้วเสนอต่อรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ใช้เป็นหลักพิจารณา
การ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการ "โซนนิ่งร้านขายเหล้า"
ถือเป็นการเข้ามามีบทบาทในการปกป้องเยาวชนจากสิ่งเสพติด
ลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชน
และสร้างเสริมสุขภาพให้แก่คนในชุมชนควบคู่ไปพร้อมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น