++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หมากล้อม อีกหนึ่งวิธีสร้างสมาธิ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


ประกาศผลการแข่งขัน Thailand Open Go Tournament ครั้งที่ 13
ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยในประเภท High DAN
ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ Hong Seok Ui ประเภท Low DAN
ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ ปัญจวรรษ แซ่เฉิน ประเภทHigh Kyu
ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ ทศวัชร์ มนัสเสถียร ประเภทLow Kyu
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ ชนกนันท์ แซ่ลี้

จากการแข่งขันในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันนั้นมีตั้งแต่วัย
7 ขวบไปจนถึง 40 เศษๆ ไลฟ์ ออน แคมปัสได้พูดคุยกับ สุวิทย์ กิ่งแก้ว
เลขาธิการสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
ว่าวัยที่แตกต่างกันนั้นส่งผลกับการแข่งขันหมากล้อมมากน้อยเพียงใด

"หมากล้อมนี่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย
แต่ไม่เสมอไปที่ผู้ใหญ่จะชนะเด็ก หลายๆ
ครั้งที่เด็กก็สามารถที่จะชนะผู้ใหญ่ได้
เพราะว่าสมองของเด็กยังไม่มีเรื่องอื่นๆ
มารกสมองเหมือนผู้ใหญ่ที่มีหลายเรื่องต้องคิดอยู่ในสมองจนทำให้สมองนี้รกไป
หมด"

นอกจากนี้เลขาธิการสมาคมกีฬาหมากล้อมยังกล่าวอีกด้วยว่านับตั้งแต่
ก่อตั้งชมรมเมื่อปี 2537
เป็นต้นมาหมากล้อมได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
และมีการจัดการแข่งขันตั้งแต่รุ่นเยาวชน (อนุบาล - ม.ปลาย)
รุ่นอาชีวศึกษา รุ่นมหาวิทยาลัย

"รุ่นอาชีวศึกษานี่เป็นรุ่นที่มีการแข่งขันเฉพาะนักศึกษาอาชีวะ
ที่มาก็คือกระทรวงศึกษาเขาคิดหาหนทางที่จะให้มีการแข่งขันกีฬาสักอย่างเพื่อ
เชื่อมความสามัคคีกันระหว่างนักศึกษาอาชีวต่างสถาบันผลที่ได้ก็ดีในระดับ
หนึ่ง ส่วนรุ่นมหาวิทยาลัยนี่หมากล้อมก็เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬา
มหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่เจ้าภาพผู้จัดการแข่งขันในแต่ละครั้งว่าจะนำหมากล้อมเข้าไปจัดการ
แข่งขันหรือไม่"

คุณสุวิทย์กล่าวอีกด้วยว่าทางสมาคมจึงหาทางออกโดยการจัดการแข่งขัน
รุ่นอุดมศึกษาขึ้นมาเองโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
ในการจัดการแข่งขันแต่ละครั้งอย่างครั้งที่ 13
ที่ผ่านมาทางสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิตจัด
ขึ้น

"ครั้งที่ 14 ซึ่งจะจัดในปีนี้จะจัดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน คิดว่าน่าจะมีนิสิต นักศึกษา
เข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะโดยมากแล้วผู้ที่ได้ลองเล่น
เมื่อเล่นเป็นแล้วเขาจะรู้ตัวเขาเองเลยว่าเขามีสมาธิดีขึ้น
เมื่อมีสมาธิดีขึ้นเวลาเขาไปทำอย่างอื่นเขาก็จะทำได้ดีมากขึ้น"

Hong Seok Ui แชมป์ประเภท High DAN กล่าวว่าเขาเป็นคนประเทศเกาหลี
และกำลังเรียนอยู่ที่ Kyonggi University
ที่ประเทศเกาหลีนั้นผู้เล่นหมากล้อมจะหัดเล่นกันมาตั้งแต่เด็กอีกทั้งยังมี
การแข่งขันระหว่างโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งเขาเล่นมาถึงปีนี้ก็เป้นเวลา 15
ปีแล้ว และเขาเป็นผู้เล่นโกะระดับ 7 ดั้ง

"ปัจจุบันการเล่นโกะมีหลายประเทศที่มีการแข่งขัน
และผมเองถ้ารู้ว่าที่ไหนมีการแข่งขันหากผมว่างก็จะเดินทางไปเข้าร่วมการแข่ง
ขัน เหมือนครั้งนี้ก็รู้ข่าวจากเพื่อนที่เข้าแข่งเมื่อครั้งที่แล้วบอกว่าจะมี
การแข่งขันก็เลยสมัครมาแข่งขัน
การแข่งขันหมากล้อมสำหรับผมก็ถือว่าเป็นการเดินทางไปเที่ยวด้วย"

ในเรื่องสมาธิที่ได้จากการเล่นหมากล้อมนั้น จุฑามาศ วุฒิยาภิราม
นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นอีกผู้หนึ่งที่เลือกเล่นหมากล้อมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียน
และเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันหมากล้อมในกีฬามหาวิทยาลัยครั้ง
ที่ 36

"หนูเล่นมา 3 ปีแล้ว ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะเล่นหรอก
แต่ตอนที่เรียนอยู่มัธยม
ทางโรงเรียนเขาเอามาสอนพอได้ลองเล่นแล้วรู้สึกสนุก ก็เลยเล่นมาเรื่อยๆ
ทีนี้การเล่นหมากล้อมเนี่ยต้องมีการวางแผนเพื่อที่จะชิงพื้นที่บนกระดานหมาก
ให้มากที่สุด ดังนั้นการวางหมากแต่ละครั้งก็จะต้องจัดระบบดีๆ
ว่าควรจะวางตรงไหนก่อน วางตรงไหนหลัง
การเล่นต้องมีสมาธิเพื่อที่จะมองให้ออกว่าควรจะทำแบบไหน
ถ้าถามว่าการมีสมาธิดีทำให้การเรียนหรือทำอย่างอื่นดีขึ้นจริงหรือ
ไม่นี่ สำหรับตัวหนูเองแล้วหนูว่าช่วยได้เยอะนะคะ
ดูจากผลการเรียนก็มีพัฒนาการไปในทางที่ดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลย"

แสงเทียน รัตนเสรีวงษ์ ผู้จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นอีกผู้หนึ่งที่เล่นกีฬาหมากล้อมมาตั้งแต่เรียนมัธยมปลายที่โรงเรียน
เตรียมอุดมศึกษา เห็นด้วยกับจุฑามาศ ในเรื่องของการสร้างสมาธิ
ทำให้การทำงาน การเรียนดีขึ้นอย่างเห้นได้ชัด

"หนูรู้จักหมากล้อมจากการ์ตูนเรื่องฮิคารุ
และอยากรู้ว่าหมากล้อมเล่นอย่างไร
จึงลองเข้าชมรมหมากกระดานที่โรงเรียนเตรียมฯ พอได้สัมผัส
ลองเล่นแล้วรู้สึกว่าลุ้นตลอดเวลาที่เล่นเลยค่ะ
เราต้องคิดตลอดเวลาในการวางหมากว่าถ้าเราวางหมกตรงตำแหน่งนี้แล้ว
ฝ่ายตรงข้ามเขาจะวางหมากตรงไหนจะเป็นตำแหน่งที่เราคิดว่าเขาจะวางไว้หรือ
เปล่า

ถ้าตรงเราก็วางหมากของเราต่อจากเขาตามที่เราคิดวางแผนไว้
แต่ถ้าไม่ใช่ก็ต้องคิดอีกว่าเราจะวางอย่างไรล่ะ
ที่จะทำให้เราได้พื้นที่บนกระดานหมากมากที่สุด
คือลุ้นสนุกนะมันต้องลุ้นน่ะว่าเขาจะแก้ทางเราอย่างไร
เราจะแก้ปัญหาอย่างไรในทุกครั้งที่วางหมาก

หมากล้อมเล่นแล้วสนุกแล้วก็ได้ฝึกสมาธิโดยไม่รู้ตัวจริงๆ
เพราะในการเล่นประมาณ 1 ชั่วโมงสมาธิจะต้องอยู่ที่การเล่น
ถ้าวอกแวกจะคิดวางแผนไม่ค่อยได้"

ส่วนภัทราพร ภูริจังสกุล นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6
จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
ก็เห็นไปในทิศทางเดียวกันกับรุ่นพี่ทั้ง 2
คนว่าหมากล้อมนั้นช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น

"ตั้งแต่หันมาเล่นหมากล้อมนี่คะแนนเรียนของหนูดีขึ้นนะคะ
แล้วเมื่อก่อนเนี่ยหนูก็ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ล่ะ
แล้วมีเพื่อนชวนให้เล่นหมากล้อมกับเขา
เพราะว่าหมากล้อมนยี่เล่นคนเดียวไม่ได้ต้องเล่น 2 คน
เออพอลองเล่นก็สนุกดีได้คิดวางแผนด้วย

เล่นมาประมาณ 5
ปีนี่มีแพ้บ้างชนะบ้างก็สนุกค่ะได้รู้จักกับคนมากขึ้นด้วย
มีทั้งที่เด็กกว่าหนู มีทั้งผู้ใหญ่วัยทำงาน
หนูคิดว่าหมากล้อมนี่ทำให้หนูคิดเยอะกว่าเมื่อก่อนนะ
เล่นเกมคอมพิวเตอร์นี่เล่นไปเอาสนุกไปเท่านั้น แต่เล่นหมากล้อมนี่
สมมติว่าวันนี้แพ้นะเราก็จะเริ่มจำแล้วว่าแพ้เพราะอะไร
เราพลาดตอนวางหมากตรงไหน
พอเราไปเล่นกับคนอื่นวิธีการคิดของเขาก็ไม่เหมือนกัน
ดังนั้นการเล่นหมากล้อมทุกครั้งก็ทำให้เราได้หัดคิดใหม่ทุกครั้งและหากเจอ
ลักษณะการวางหมากที่ใกล้เคียงกัน
เราจะจำแล้วว่าเฮ้ยต้องวางแบบไหนถึงจะชนะได้"...
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000049642

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น