ของวิทยาเขตหาดใหญ่ ย้ำความเป็นสถาบันที่เน้นการสร้างทักษะชีวิต สังคม
ทักษะทางวิชาการ และความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ
วันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปี 2552 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ 26
พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข
อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวแก่นักศึกษาใหม่ว่า
การเข้าสู่รั้วสงขลานครินทร์ มีความหมายที่ยิ่งใหญ่
เป็นการเริ่มต้นแห่งการเป็น "ลูกพระบิดา"
และมีการวางเป้าหมายของชีวิตตามพระราชปณิธานของพระองค์ ที่ทรง
"ให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"
ซึ่งในความเป็นนักศึกษาสามารถทำได้โดยการใช้วิถีแห่งวิชาชีพที่ได้ศึกษาเล่า
เรียนมา เช่น ถ้าเป็นด้านการแพทย์ ก็จะใช้วิชาชีพแพทย์
ช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากความเจ็บป่วย ถ้าเป็นนักกฎหมาย
ก็จะเป็นนักกฎหมายเพื่อสร้างความยุติธรรมและความเท่าเทียมกัน
ของคนทุกชั้น และ หากเป็นวิศวกร
ก็เป็นวิศวกรที่ทำงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมวลมนุษย์ เป็นต้น
ซึ่งหากทำได้แล้วสิ่งที่จะได้คือ "ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ
จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพให้บริสุทธิ์"
พระราชปณิธานดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่เราต้องน้อมนำเอาไว้ตลอดชีวิต
"มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เหมือนกับครอบครัวที่แยกกันอยู่ในจังหวัดต่างๆ
ของภาคใต้ เพราะนอกจากนักศึกษาใหม่จำนวน 4,000 คนในห้องประชุมนี้แล้ว
ทุกคนยังมีเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันที่วิทยาเขตปัตตานีอีก 2,200 คน
ที่วิทยาเขตภูเก็ตอีก 900 คน วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 700 คน
และเขตการศึกษาตรัง 900 คน ซึ่งล้วนเป็นช่อศรีตรังช่อใหม่ทั้งสิ้น
ครอบครัวนี้จะเชื่อมโยงกันเป็นครอบครัวเดียวกัน และมีจิตรำลึกถึงกัน
ด้วยการร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น ด้านการกีฬา และการเรียน
นักศึกษาจะมีเพื่อนร่วมเรียนวิชาเดียวกันจากต่างวิทยาเขต
ด้วยการใช้ระบบสารสนเทศในวิชาพื้นฐานบางวิชา
การที่สามารถเรียนข้ามวิทยาเขตได้ในภาคฤดูร้อน
ซึ่งทำให้นักศึกษาเปลี่ยนสถานที่เรียน และพบเพื่อนในวิทยาเขตอื่นๆ ได้"
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นคุณภาพทางวิชาการ
ซึ่งผู้เรียนต้องมีความเข้มแข็งมุ่งมั่น แต่อีกด้านหนึ่ง
มหาวิทยาลัยต้องการสร้างศิษย์ให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม
มีสุขภาพที่แข็งแรง
"ก่อน ที่จะจบการศึกษาและมีสิทธิ์ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร
นักศึกษาทุกคนต้องทำกิจกรรมอย่างน้อย 100 ชั่วโมง หรือ 17 กิจกรรม
จะได้เรียนวิชากิจกรรมสาธารณะประโยชน์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิต
ใจ ด้านร่างกายก็เป็นส่วนสำคัญ
เมื่อรวมกันระหว่างการมีความเข้มแข็งทางวิชาการ การมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
การทำกิจกรรมที่เน้นสาธารณะประโยชน์ ความมีคุณธรรม
และการได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
จะเป็นการสร้างเยาวชนให้มีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ส่วน คือ กาย ใจ
และสติปัญญา"
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000060276
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น