โดยเฉพาะใน จ.มหาสารคาม ทั้งที่เป็นแหล่งผลิตเกลือคุณภาพ เผย อีสาน-เหนือ
ระดับสารไอโอดีนในปัสสาวะยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หวั่นเด็กเป็น "โรคเอ๋อ"
อื้อ สติปัญญาด้วยพัฒนาการสมองแย่
กรมอนามัยร่วมมือยูนิเซฟเร่งรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
ตั้งแต่เด็กในครรภ์จนถึงผู้ใหญ่ แนะ
ปชช.เลือกซื้อเกลือ-น้ำปลาที่มีสารไอโอดีนมาปรุงอาหาร
เพื่อให้โรคขาดสารไอโอดีนหมดไปจากประเทศไทย
วันนี้ (26 พ.ค.) ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
พญ.แสงโสม สีนะวัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น (อปท.) ในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จัดโดยกองโภชการ
กรมอนามัยและองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26-27 พ.ค.นี้
ในงานมีผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นักวิชาการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, ผู้แทนโรงพยาบาลระดับอำเภอ,
สถานีอนามัย, ครูผู้ดูแลเด็ก, แกนนำชุมนุม,
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.) และ ผู้แทนจากองค์การยูนิเซฟ
ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสาน ประกอบด้วย นครราชสีมา, มหาสารคาม, ศรีสะเกษ
และ ขอนแก่น เข้าร่วมกว่า 140 คน
ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของ
อปท.และเพิ่มขีดความสามารถของแกนนำสุขภาพในชุมชน
ในการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน และ
เพื่อผลักดันและสร้างความตระหนักแก่ภาคีเครือข่าย
ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
นพ.ณรงค์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการกองโภชนาการ กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการสำรวจพบว่าประชาชนชาวไทย
ยังเป็นโรคขาดสารไอโอดีนอยู่มาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และ
ภาคอีสาน ซึ่งโรคขาดสารไอโอดีนไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนเป็นโรคคอพอกเท่านั้น
แต่ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สติปัญญาด้อย
มีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนถึงอายุ 2-3 ปี
โดยมีผลทำให้สมองมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือที่เรียกว่า "โรคเอ๋อ"
จากการตรวจสารไอโอดีนในปัสสาวะ พบว่า
ประชาชนในภาคอีสานมีปริมาณสารไอโอดีนน้อยที่สุดคือ 80 ไมโครกรัม/เดซิลิตร
จากเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดต้องมีสารไอโอดีนในปัสสาวะไม่น้อย 100
ไมโครกรัม/เดซิลิตร ส่วนภาคใต้อยู่ที่ระดับ 172 ไมโครกรัม/เดซิลิตร,
ภาคเหนือ 90 ไมโครกรัม/เดซิลิตร และ ภาคกลาง 102 ไมโครกรัม/เดซิลิตร
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า มาตรการหลักที่กรมอนามัยดำเนินการควบคุม
และป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย คือ
การใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ
กฎกระทรวงฉบับที่ 153 พ.ศ.2537
ให้เกลือบริโภคที่จำหน่ายในประเทศไทยต้องมีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30
ส่วนในล้านส่วน และ
ข้อมูลตัวชี้วัดเรื่องการครอบคลุมของครัวเรือนที่มีการใช้เกลือบริโภคเสริม
ไอโอดีน ตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
แต่ในภาพรวมของประเทศไทย จนถึงขณะนี้ยังน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ ร้อยละ
80 โดยภาคอีสานจะน้อยกว่าภาคอื่น
"ไอโอดีนมีความสำคัญกับทุกเพศวัย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ต้องแต่
12 สัปดาห์แรกมีผลต่อเซลล์สมองและเครือข่ายโยงใยสมอง
หากหญิงตั้งครรภ์ท่านใดที่ขาดสารไอโอดีนจะทำให้การพัฒนาสมองของเด็กแย่ลง
เช่นเดียวกันเด็กในช่วงวัยเรียน
ก็มีความต้องการสารไอโอดีนในการสร้างเสริมสติปัญหา เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
หากขาดสารไอโอดีนมักแสดงอาการเฉื่อยฉา ไม่กระปรี้กระเปร่า ฉะนั้น
ไอโอดีนจึงมีความสำคัญกับทุกเพศทุกวัย" นพ.ณรงค์ กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ในภาคอีสานนั้น พบว่า จ.มหาสารคาม
มีประชาชนขาดสารไอโอดีนมากสุดในภาคอีสาน แม้เป็นแหล่งผลิตเกลือแห่งใหญ่
ถึงจำนวน 42 แห่ง และผลิตเกลือที่ได้คุณภาพ 28 แห่ง ขณะที่นครราชสีมา มี
3 แห่ง ผลิตได้คุณภาพเพียง 1 แห่ง ส่วน ศรีสะเกษ ไม่มีแหล่งผลิตเลย
และขอนแก่น มีแหล่งผลิตและได้คุณภาพอยู่ 2 แห่ง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข
"อย่างไรก็ตาม สารไอโอดีนมีมากในอาหารทะเล และ เกลือเสริมไอโอดีน
หรืออาหารที่มีการเสริมสารไอโอดีน เช่น น้ำปลา ไข่ไอโอดีน
ฉะนั้นหากประชาชนจะปรุงอาหารขอให้เลือกใช้เกลือหรือน้ำปลาที่มีสารไอโอดีน
ทุกครั้ง โดยเกลือและน้ำปลาที่มีสารไอโอดีนจะมีเครื่องหมายรับรองที่แสดงใช้ในบรรจุ
ภัณฑ์ หรือเพื่อช่วยกันรณรงค์ให้โรคขาดสารไอโอดีนหมดจากชุมชนและประเทศไทยของเรา"
นพ.ณรงค์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น