++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เป็นทั้งพรรค เป็นทั้งพันธมิตรฯ ทำไมจะไม่ได้

โดย อุษณีย์ เอกอุษณีษ์


หลังการประกาศตั้งพรรคการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ก็ปรากฏว่า มีคนถามไถ่กันเยอะมาก
ว่าจะดำรงสถานะกันอย่างไรต่อไปไม่ให้เกิดความสับสนระหว่าง "พรรคการเมือง
+ ขบวนการการเมืองภาคประชาชน"

ประเด็นเรื่องการทำงานทางการเมืองของ "พรรคการเมืองพรรคใหม่" กับ
"ขบวนการภาคประชาชน" จริงๆ แล้ว แกนนำพันธมิตรฯ หลายท่าน
ก็ให้สัมภาษณ์ชัดเจนไปแล้วว่า
พรรคการเมืองที่จะเกิดขึ้นเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตยในการจะขับเคลื่อนการเมืองใหม่
ขณะที่ขบวนการประชาชนนอกสภาที่มีมาตั้งแต่ปี 2548 - 49
ต่อเนื่องมายังปัจจุบัน ก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป

แต่ขนาดอธิบายกันขนาดนี้แล้ว ก็ยังมีพวกขี้สงสัยอีกหลายคน
ถามวกไปวนมาว่า "อ้าวแล้วจะตั้งพรรคขึ้นมาทำไม
ถ้ายังต้องมีการเมืองนอกสภาอยู่"
ก็พอดีกับที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปติดตามกระทู้ในเว็บบอร์ด serithai.net
พบกระทู้ที่มีการพูดคุยในลักษณะเดียวกับคำถามด้านบน
แล้วบังเอิญให้ไปสะดุดใจกับข้อความใน Comment ของผู้ที่ใช้ชื่อว่าคุณ
"แดง ขาว น้ำเงิน"
ที่เข้าไปตอบคำถามถึงเรื่องนี้โดยยกปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของพรรคกรี
นยุโรปเมื่อปี 2526 มาเป็นตัวอย่างในการอธิบายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
โดยระบุว่า ...

"เช้าตรู่วันที่ 3 กันยายน 2526 ณ บิทเบิร์ก
ชายแดนเชื่อมต่อระหว่างเยอรมนีกับลักแซมเบิร์ก
กองกำลังตำรวจถูกส่งเข้าเสริมเพื่อตรึงกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านการติดตั้ง
ขีปนาวุธครุยส์ชุดใหม่ กลุ่มผู้ประท้วงกว่า 900 คนซึ่งนำโดย
ส.ส.จากพรรคกรีนนั่งชุมนุมอย่างสงบท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ
ประจันหน้ากับแถวตำรวจพร้อมอาวุธเต็มพิกัด ....

ทุกๆ ชั่วโมงที่ผ่านไปผู้คัดค้านจากทุกสารทิศต่างหลั่งไหลมาสมทบจนจำนวนผู้ชุมนุม
เพิ่มขึ้นเป็นหลายพันคน
และทันทีที่ฝูงชนพยายามเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประตูฐานยิงขีปนาวุธ
ก็ต้องเผชิญกับการสกัดกั้นอย่างรุนแรง หน่วยสุนัขตำรวจบุกทะลวงเข้ากลางวง
ตามติดด้วยการฉีดน้ำสลายฝูงชน....
เหตุการณ์วันนั้นจบลงด้วยการที่ผู้ประท้วงจำนวนมากถูกจับกุม
หลายคนบาดเจ็บ และกลายเป็นบันทึกอันโหดร้ายหน้าหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ

น่าแปลกที่เหตุการณ์ในวันนั้นเกิดขึ้นเพียงครึ่งปีหลังจากที่พรรคกรี
นได้ก้าวเข้าสู่รัฐสภาเยอรมนีเป็นครั้งแรก
การที่พรรคยังคงดำเนินบทบาทการเคลื่อนไหวนอกสภาอย่างจริงจังต่อเนื่องได้ทำ
ให้หลายฝ่ายเกิดข้อสงสัยถึงแนวทางการดำเนินงานของพรรคว่าจะเป็นไปในลักษณะ
ใด..." (คุณแดงขาวน้ำเงินอ้างอิงมาจากหนังสือชื่อ การเมืองสีเขียว
วิถีแห่งสังคมและระบบนิเวศโดย นพนันท์ อนุรัตน์)

ช่างบังเอิญคำถามที่ใช้ถามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันนี้
ได้เคยถูกนำมาใช้ถามพรรคกรีนในยุโรปมาแล้วเมื่อ 26 ปีที่แล้ว
และก็เป็นโชคดีของพันธมิตรฯ
ที่พรรคกรีนเขาก็ช่วยตอบให้แล้วผ่านการทำงานในทั้งสองส่วนตลอดหลายทศวรรษที่
ผ่านมา จะว่าไปแล้ว
ความคล้ายคลึงระหว่างการกำเนิดพรรคกรีนของยุโรปกับพรรคการเมืองใหม่ที่จะ
ชื่ออะไรก็ตามแต่

ข้อเหมือนก็คือทั้งสองกลุ่มล้วนผ่านการต่อสู้บนท้องถนนกันมาแล้ว
เป็นการต่อสู้บนอุดมการณ์ที่ไม่ได้ยึดมั่นผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งแต่
ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ล้วนเป็นการต่อต้านการเมืองที่เห็นแก่ตัวโดยพรรคกรีนก็ต่อต้านนายทุนที่ฉก
ฉวยผลประโยชน์เบียดบังธรรมชาติ และทำร้ายโลก สร้างขยะพิษกับสภาพแวดล้อม
ก็เหมือนกับที่พันธมิตรฯ ต่อต้านกลุ่มการเมืองที่เบียดบังชาติ
ทำร้ายประชาชน และทำตัวเป็นขยะสังคมไม่มีอะไรต่างกัน
ทั้งสองกระบวนการล้วนผ่านการขับเคลื่อนกันด้วยมือเปล่าๆ
ของประชาชนกันมาทั้งสิ้น
ก่อนจะได้พัฒนามาเป็นพรรคการเมืองที่ยึดมั่นอุดมการณ์
และหันมาสู้กันบนสนามใหม่ เพิ่มเติมอีกสนาม นั่นคือสนามการเลือกตั้ง

สำหรับพรรคกรีนในยุโรป แม้จะก่อพรรคตั้งขึ้นมา
และเดินหน้าเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองในระบบก็ใช่ว่า
สมาชิกพรรคที่ปัจจุบันมีครอบคลุมกว่า 60 ประเทศทั่วโลก
จะยุติขบวนการเคลื่อนไหว
ตรงกันข้ามการเคลื่อนไหวภาคประชาชนของเขากลับเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
สอดรับกับความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสันติภาพที่ได้กลายเป็นมาตรฐาน
คุณธรรมทางสากลที่คนให้การยอมรับกันทั่วโลก
พรรคกรีนเองก็วางบทบาทงานการเมืองในระบบเป็นเพียงการหนุนช่วย
หรือเป็นเครื่องมือหนึ่งสู่
กระบวนการการเปลี่ยนแปลงขององค์กรประชาชนเท่านั้น

จึงเปล่าประโยชน์ที่พรรคพันธมิตรฯ
จะต้องมาสร้างเส้นแบ่งระหว่างความเป็นพรรคการเมืองกับกระบวนการภาคประชาชน
ให้ยุ่งยากเสียเวลา เส้นแบ่งที่ว่าควรมีไว้กั้นกลางระหว่างความดีความเลว
ระหว่างการเมืองใหม่กับการเมืองเก่า
และต้องขีดย้ำให้เส้นนั้นเด่นชัดขึ้นทุกวี่ทุกวันเพื่อว่าจะไม่ได้หลงลืม
ว่าพรรคการเมืองใหม่ของเราสร้างขึ้นบนต้นทุนที่เต็มไปด้วยเลือดเนื้อ
และชีวิตของผู้ร่วมอุดมการณ์ที่หวังจะเห็นการเมืองใหม่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
ของเขา

อีกประเด็นที่ดิฉันชื่นชอบมากจากกระทู้ในเว็บเสรีชน
ที่พูดถึงเป้าหมายของพรรคการเมืองแนวทางใหม่ระหว่าง "พรรคกรีน" และ
"พรรคพันธมิตรฯ" ซึ่งพรรคกรีนไม่ได้ตั้งเป้าไปที่การสะสมเก้าอี้
ส.ส.ในสภา

แต่ เป้าหมายสำคัญคือการเผยแพร่แนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ
จนกระทั่งเขาประสบความสำเร็จในการทำให้กระแสสีเขียวได้เข้าไปผลิดอกออกผล
ถูกจัดเป็นหนึ่งในนโยบายอันดับต้นของพรรคการเมืองอาชีพทั้งหลายอย่างไม่อาจ
ปฏิเสธได้ ใครไม่ทำก็เท่ากับตกยุคขายไม่ได้ประชาชนไม่ยอมรับ
เช่นนี้ก็เท่ากับอาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ถึงเวลาที่พรรคเขียว -
เหลืองจะได้เข้าไปชูนโยบายสร้างการเมืองที่โปร่งใส มีคุณธรรม
ขจัดการคอร์รัปชัน ฉ้อฉล และเล่นพรรคเล่นพรรค
แต่มุ่งเน้นสรรหาความดีมีความสามารถมาปกครองบ้านเมืองบ้าง...

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000060007

เราก็เป็นอีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค แม้จะเป็นเสียงส่วนน้อย
แต่ไม่ใช่จำนวนน้อยๆแน่ รู้สึกไม่สบายใจที่หลายคนไม่ยอมรับความเห็น"ต่าง"
กล่าวหาว่าไม่ใช่"ของจริง"
เป็นสาวกปชช.หรือเสื้อแดงปลอมตัวมา(อ่านจากคห.ในบทความของคุณสำราญ)
แต่เราคนนึงที่เชื่อว่าเป็นพี่น้องพันธมิตรจริงๆ
และเราก็คิดในทำนองเดียวกับหลายๆคนที่ไม่เห็นด้วย
สิ่งที่หลายคนกำลังทำคือดูแคลนความเห็นของพี่น้องเรา
ทั้งที่จริงๆควรจะรับฟัง แบบนี้จะทำให้เสียแนวร่วม คุณอาจคิดว่าไม่เป็นไร
แต่สำหรับเราหนึ่งคนก็สำคัญ

เรื่องความไม่พร้อมเป็นเรื่องใหญ่ การตัดคะแนนกันเองก็อีกเรื่องนึง
ส่วนเรื่องยิบย่อย(แต่สำคัญกับความรู้สึกใครหลายคน) เช่น
การไม่รักษาเจตนารมย์ของแกนนำหรือแม้แต่การอ้างเอา 193
วันเป็นฉันทามติก็ดี อยากให้ลองพิจารณาความเห็นอันมีค่าเหล่านั้น

ประเด็น ความไม่พร้อม การผิดสัญญา การอ้างฉันทามติ ขอไม่เอ่ยซำ
เพราะมีคนที่แสดงความเห็นได้เป็นอย่างดีแล้วในกระทู้อื่นๆ
เรื่องที่อยากเพิ่มความเห็นคือ

มีความจริงที่ต้องยอมรับคือ
ฐานเสียงของพธม.กับปชช.มีความทับซ้อนกันอยู่มาก
อย่างน้อยคือไม่เอาทักษิณเหมือนกัน สมมตว่าในเขตนั้นๆ มีเสียงของพท.แค่
30-35% แต่อาจส้มหล่นได้เป็นสส. เพราะคนของเราเสียงแตก
ทีนี้ถ้าจำนวนสส.เขามากที่สุดเขาก็ได้ตั้งรบ. เขาคงไม่เอาพธม.กับปชช.แน่
เราก็กลายเป็นฝ่ายค้าน ตอนนั้นการเมืองภาคปชช.ที่แท้จริงไม่มี
ถ้าพวกเราออกมาเรียกร้องอะไร มันก็ไม่ใช่เสียงบริสุทธิ์อีกต่อไป
จะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์หรือมีอิมแพคเหมือนที่ผ่านมา
มันจะกลายเป็นว่าเรามาเรียกร้องเพื่อพรรคของเรา
ไม่ได้เรียกร้องเพื่อส่วนรวมจริงๆ มันก็ไร้ค่า
หรือหากเราพบความไม่ชอบมาพากลของรบ.แล้วมาต่อต้าน
ก็จะถูกมองว่าทำเพื่อดิสเครดิตฝ่ายตรงข้าม ทำไปโดยมีผลประโยชน์แอบแฝง
ทำเพื่อนักการเมืองหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือพรรคการเมืองหนึ่ง(เหมือนที่
เราเคยมองเสื้อแดงหรือพวกกลางกลวงแบบนั้น)

อยากให้พิจารณาอีกที การถอยหนึ่งก้าวเพื่อเริ่มใหม่อย่างมั่นคง
ไม่เสียหน้า แต่ถ้าก้าวไปแล้วเจอทางตันอาจต้องถอยหลายก้าว เสียหายมากกว่า
หรือไม่แกนนำก็ต้องมีนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
ไม่งั้นเวลาจะเคลื่อนไหวก็ลำบาก ไม่ทราบว่าอยู่ในบทบาทไหน
คนบางคนเหมาะเป็นนักการเมือง บางคนเหมาะเป็นผู้นำประเทศ
บางคนเหมาะเป็นผู้ตรวจสอบ พธม.เหมาะเป็นยามเฝ้าแผ่นดินค่ะ

ปล. เราโพสครั้งที่สามแล้ว กรุณาขึ้นให้ด้วย
เพื่อแสดงให้เห็นว่าท่านยอมรับการ"คิดต่าง"
ไม่เช่นนั้นก็ป่วยการพูดถึงการเมืองใหม่

ถึงเราจะไม่สนับสนุนการตั้งพรรค แต่เราก็ยังเป็นทั้งพันธมิตรและกัลยาณมิตร
Dedy พันธมิตรสีลม

++++
ถึงพี่น้อง พธม. ทุกๆท่าน

ผม สนับสนุนและเสริมความคิดของน้องเก๋อีกคน ที่ พธม.จะมีทั้งพรรคการเมือง
และ การเมืองภาคประชาชน หรือ สภา พธม. หรือ ยามเฝ้าแผ่นดิน หรือ
เป็นฝ่ายตรวจสอบทุกๆองค์กรของ พธม.เอง ทำไมจะทำไม่ได้

พี่น้องเอย... เปิดใจให้กว้าง มองในแง่ดี รับข้อมูลเยอะๆ เอามากรองอีกที่
แล้วถามตัวเองว่า
จะดีไหมถ้าการเมืองใหม่สมารถทำให้เราทุกคนในชาตินี้อยู่ดีมีสุขทุกๆด้าน
จะเอาไหม ถามหลายๆรอบ ถามแล้วถามอีก
แล้วจะได้คำตอบว่า จะต้องทำยังไง ให้การเมืองใหม่ สามารถอำนวย หรือ
เพิ่มสิ่งที่เป็นอยู่รอบๆตัวเรา ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถึงขั้นสูงสุด
ดังที่เราวางจุดหมายเอาไว้
พี่น้อง ครับ ....... เราทุกคนจะต้องรดมความคิด ระดมสมอง ทุกๆภาคส่วน
น่ะครับ....ช่วยกันเสริม อุด
รอยที่มองเห็นว่าจะบกพร่องในการตรวจสอบของภาคประชาชน อย่าเพิ่งทะเลาะกัน
ใจเย็นๆกันน่ะคับ

ผมเองเป็น พธม.หน้าจอ เหมือนกัน จริงๆแล้วผมอยู่ต่างประเทศ
ชีวิตที่ต่างประเทศไช่ว่าจะสบาย ลำบากยิ่งกว่าอยู่ที่ไทยมากๆ
ผมมองเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถทำให้ทัดเทียมต่างประเทศได้โดยไม่
อยาก เชื่อผมซิ ในอนาคตข้างหน้านี้
พวกเราจะมีชีวิตที่ดีขึ้นแน่นอน............ เราต้องช่วยกันนะครับ

พธม. หน้าจอ UK
tiger-wing2005@hotmail.com

+++
..ทำไมแกนนำจะมีตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้เลยหรือ?
ซึ่งเหตุการณ์ที่ผ่านมา กับปัจจุบันสถานการณ์มันเปลี่ยนไป
ในเมื่อนักการเมืองในสภาไม่ทำหน้าที่ของนักการเมืองที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
...แต่กลับทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
จะให้พันธมิตรฯ ชุมนุมอยู่แต่ข้างถนนหรือ
แล้วคนชั่วคนเลวยังมีตำแหน่งทางการเมือง,
เป็นนายกฯ ได้ แล้วคนดีจะเป็นนักการเมืองไม่ได้เลยหรือ
หรือจะให้มีแต่นักการเมืองเก่าๆ เน่าๆ ในสภา
ประชาชนอย่างเราเวลาไปลงคะแนนเลือกตั้ง
ก็ กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนอย่างนั้นหรือ
เป็นนักการเมืองที่ดีไม่ได้?

++++
เป็นบทความที่แค่ชื่เรื่องก็ผิดแล้ว
สะท้อนให้เห็นว่าคนเขียนไม่ได้มีความรู้ในเรื่องตัวบทกฎหมาย
ทั้งรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ถ้าคุณตั้งพรรคแล้ว
ก็เท่ากับจำกัดสิทธิตัวเอง
จะออกมาเคลื่อนไหวควบคู่กันไปคงไม่สามารถทำได้ง่าย
ในกฎหมายมีรายละเอียดปลีกย่อยยุบยิบ พรรคของพวกคุณ
(ของพวกที่อยากตั้งพรรค) คงทำงานลำบาก ลองไปอ่านหน้า 4 คม ชัด ลึก นะ
เขียนได้ตรงประเด็น ตรงตามข้อเท็จจริง แล้วไม่ต้องไปด่าเขาว่าเลือกข้างนะ
เขาเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ พธม ได้ไตร่ตรอง ผมเองเป็น พธม ครับ แต่
พวกคุณคงไม่ยอมรับ เพราะเพียงแค่ผมไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค
wiroj_bma@hotmail.com
++++
ถ้าแกนนำทั้งหมดมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจของตัวเองว่าจะทำงานเพื่อประโยชน์
เพื่อ ชาติ ศาสฯ กษัตริย์ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและจะไม่หลงในลาภ ยศ
ก็ตั้งพรรคเลิยป่วยการที่จะลังเลเพราะพวกเราพิสูจน์แล้วว่าการเมืองนอกสภา
สำหรับประเทศไทยไม่มีผลเพราะพวกเขามาจากการซื้อเสียงและเขาสามารถทำร้าย
ประชาชนได้ตลอดเวลาตัวอย่าง ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑
และพวกเขาก็ไม่ฟังเสียงของประชาชนเลิย
ไม่ลองก็ไม่รู้พวกเราพธม.ควรให้โอกาสแกนนำและผู้มีอุดมการณ์
ที่จะตั้งพรรคการเมืองใหม่เหมือนที่เราเคยให้โอกาสทักษิณแต่ทักษิณตอนนี้ก็
ไม่มีใครเคารพนับถืออีกแล้วและไม่มีวันที่จะให้โอกาสเป็นครั้งที่๒
กับจอมโกหก
พธม.กรุงเทพฯ
++++
จะถกเถียงกันอยู่ทำไมหนอพูดกันไปพูดกันมาก็ไม่รู้เรื่องสักที
ทำไมไม่คิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรกับตัวแทนของพรรคให้อยู่ในกฎระเบียบและเป็น
ตัวอย่างที่ดีของนักการการเมือง เรามาช่วยระดมสมองได้แล้ว
เพื่อไม่ให้คนชั่วได้เข้ามาปกครองป้านเมือง
อย่าจมอยู่กับความอคติเราต้องเดินหน้าต่อไปหลังจากลงมติแลวเราจะทำอะไรเพื่อ
ช่วยกันพัฒนาคน พัฒนาประเทศ
ให้เจริญก้าวหน้าพ้นจากการโกงกินของนักการเมือง
ปล่อยให้นักโกงบ้านโกงเมืองที่มีข่าวเผาผลาญงบประมาณของชาติที่เป็นเงินภาษี
ของเราอยู่ได้ เราขอให้ช่วยกันคิดกำจัดคนชั่วออกไปและอยู่ไม่ได้สังคมสิ
นี่ปล่อยให้เขาลอยนวลอยากกินอะไรก็ได้กินอย่างนั้นหรือ เงินเรา
ภาษีเราปล่อยให้พวกนักการเมืองชั่วอยูไอย่างสบายได้อย่างไร ช่วยกันคิด
ช่วยกันเสนอทางแก้ไม่ดีกว่าหรือ มาถกเถียงกันทำไม
ประชาชนอีกมากมายที่ยังไม่รู้เรื่องนักการเมืองที่โกงกินอีกมากทำไมเราไม่
ช่วยกันเสนอและบอกประชาชนคนไทยว่านักการเมืองคนไหนชั่ว คนไหนดี
เรา ขอให้ ASTV ทำรายชื่อ
สส.ผู้แทนของประชาชนและคนดีในรัฐบาลแต่ละชุดว่ามีคนทำความดีและคนทำความชั่ว
มานำเสนอให้ประชาชนรับรู้บ้างจะได้นำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจในการเลือก
ตั้งครั้งต่อไป
หมู
++++
สงสัยเนื้อที่สำหรับการตีพิมพ์บทความคงจะหมดพอดี
เลยไม่ได้กล่าวถึงข้อแตกต่างระหว่างพรรคกรีนและพรรคการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่
ความแตกต่างที่จะเป็นผลให้เหตุการณ์ในบ้านเราไม่เหมือนกับที่เกิดขึ้นในเยอรมันก็คือ
"คุณภาพของประชากร"
เพราะคุณภาพของประชากรที่ไม่ค่อยได้เรื่อง มันทำให้ทุกวงการเสื่อมทรามไปด้วย
ถ้าคุณอยู่ในเมืองไทยยาวนานพอคงได้แลเห็นกัน ไม่ว่าจะเป็น
นักการเมือง-ซื้อเสียง ทุจริตคอรัปชั่น
สื่อสารมวลชน-บิดเบือนข้อเท็จจริง นำเสนอความจริงไม่ครบ
ครูบาอาจารย์-จ่ายครบจบแน่
ข้าราชการ-ถูกครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน
ทหาร ตำรวจ-เป็นผู้มีอิทธิพล คุมกิจการผิดกฎหมาย
ชาวบ้านร้านตลาด-กราบไหว้จิ้งจกแดง วัวห้าขา
ตัดสินถูกผิดโดยไม่ยึดหลักศีลธรรมยึดแต่ความพอใจของตน
ฯลฯ (เอาเป็นว่าทุกภาคส่วนก็ละกัน)
ที่กล่าวมาเหล่านี้
ผมเชื่อว่าสถานการณ์ในเมืองไทยแย่กว่าเยอรมันอย่างแน่นอน
ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ถ้าจะเดินตามรอยพรรคกรีน

ยกตัวอย่างความแปลกประหลาดในผลโพลล์ล่าสุด
คนพอใจในตัวนายกสูงสุดแบบทิ้งขาดคนอื่นมากมาย
แต่ในโพลล์เดียวกันกลับบอกว่า ร้อยละ 81.8 เชื่อว่าคนในรัฐบาลเรียกรับผลประโยชน์
ขอ ตั้งคำถามว่า ในฐานะที่นายกเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า
มีคนในรัฐบาลเรียกรับผลประโยชน์ เราควรจะพอใจในตัวนายกสูงสุดเช่นนั้นหรือ
นี่เป็นตัวสะท้อนคุณภาพของประชากรหรือไม่
มันดูจะแย้งกันอยู่ในตัวเอง แต่ตอบกันเพราะอารมณ์ชื่นชอบ

มวลชนคนเสื้อเหลืองเองก็ยังคิดแตกต่างกันออกไปได้เยอะ
และปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า เหลืองกลวงก็มี

การประกาศตัวตั้งพรรคการเมืองย่อมเสียแนวร่วมออกไป
หน้าที่ ในการหาแนวร่วมให้มากขึ้น เพิ่มคุณภาพของแนวร่วม
การจัดการองค์กร+เตรียมบุคคลากรที่จะเป็นพรรค ภาคประชาชน
และสื่อในมือให้ชัดเจน รวมถึงภารกิจอื่นๆอีกมากมาย

งานนี้ไม่รู้จะชี้แนะทางออกที่ดีได้ยังไง
ไม่ตั้งพรรคก็เสียเปรียบเพราะเรียกร้องเท่าไหร่เค้าก็ไม่ฟัง
ตั้งพรรคก็เสียเปรียบเพราะถ้าเข้าไปในระบบแล้วเจอพวกมากลากไป จะทำยังไง
ที่ บอกว่า หัวหน้าพรรคของพันธมิตรพูดในสภาจะมีการถ่ายทอด
เห็นนายกสัญญาณหายแล้วยังหวังหรือว่าจะได้พูดให้คนทั่วๆไปฟังผ่านระบบรัฐสภา
เจอตัดโฆษณามาแทรก เสียงหาย สัญญาณหาย รายการทีวีไม่ค่อยเชิญไปออก
ก็ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่

เห็นกระดี๊กระด๊ากันมากกับการตั้งพรรค
ขอติงไว้เท่านี้ละกัน

แต่ขอบอกไว้ว่า ถ้าลงเลือกตั้งมาเลย ผมก็เลือก ถ้าทำงานไม่เข้าท่า
ก็จะไม่เลือกซ้ำอีก
marveric111
copyให้อ่านซ้ำ ให้ดีก็ช่วยโหวตด้วย ข้อคิดดีๆ
อ่านกันหน่อย
++++
สำหรับผู้ไม่เห็นกับการตั้งพรรค
การ ประท้วงข้างถนน จะยากยิ่งขึ้นเพราะอาจมีกฎหมายจำกัดขอบเขต
คนที่จะออกมาสู้ข้างนอกมีไม่มากหรอกสำหรับเด็กรุ่นใหม่
เวลานี้เราเห็นคนที่จะพอมาเป็นตัวแทนเรา
ในการจัดระเบียบการเมืองและสังคมใหม่แทนเรา เพราะได้เห็นแล้วว่า
พรรคการเมืองที่มีอยู่ติดวงจรที่แม้อยากทำ ก็ทำไม่ได้
เช่นสมมติว่าท่านนายกฯ อยากทำ แต่ก็ติดเรื่องความเป็นรัฐบาล

ดังนั้น กลยุทธ์น่าจะเป็นทำให้คนทั่วไปยอมรับ
พรรคการเมืองที่จะเป็นตัวแทนความต้องการที่แท้จริง ของประชาชน
การเข้าถึงพวกเขาต่างหากเป็นหน้าที่ของคนที่ตื่นแล้ว หากแกนนำทั้ง 4
ไม่เข้ามาอยู่ภาค พรรคของประชาชน การไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมือง
คงสบายใจขึ้น และ ASTV จะทำงานได้คร่องตัวขึ้น ได้ยินคำพูดของหลายคนไหม
เมื่อข่าวตั้งพรรคเกิดขึ้น ดังนั้นการแยกบทบาทกันที่ชัดเจนจะดีกว่า และ
ASTV ก็จะเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนคนดี ความถูกต้อง
เช่นอุดมการณ์ ทีวีของประชาชน ไม่ใช่อย่างที่คุณเทพชัย กล่าวถึง

เสนอชื่อพรรคให้ช่วยพิจารณา
- พรรคประชาภิวัฒน์ (ถ้ายังไม่ถูกตั้งไปแล้ว)
- พรรคของประชาชน
- พรรคเทียนแห่งธรรม
- พรรคประชารวมสร้าง
- พรรคประชารวมใจ
คนกรุง
+++
ผมสนับสนุนการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตร
แต่ผมให้เปอร์เซ็นต์การตั้งพรรค 70 % และอีก 30%
ผมไม่ให้ตั้งพรรคการเมือง
เพราะการตั้งพรรคการเมืองนั้นดูจากภายนอกคงไม่ค่อยมีปัญหามากนะครับ
แต่ถ้าไปดูในองค์กรของพันธมิตรถ้าเป็นพรรคการเมือง
แต่ละคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค
กรรมการผู้บริหารต่างมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน เช่น
บางคนอาจอยากเป็นรัฐมนตรี
ถ้าพรรคของพันธมิตรได้เข้าร่วมกันตั้งรัฐบาลของพรรค......
และอีกบางคนอาจจะคอยตรวจสอบเป็นฝ่ายค้าน
และอีกบางคนอาจจะแปรพักเห็นผลประโยชน์ (ใต้โต๊ะ) มากกว่าอุดมการณ์
เป็นต้น และอีกอย่างหนึ่งคือที่คุณสนธิกล่าวปราศรัยมาคำหนึ่งว่า
การเมืองใหม่ ใครเป็น สส.จะไม่รับเงินเดือนทั้งสิ้น
ผมขอค้านเพราะการที่เราเป็น สส.นั้น กว่าจะได้เป็น สส.
เราตั้งหาเสียงไปตาม งานบวช งานแต่ง งานศพ
งานดั้งกล่าวต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และค่าลูกน้องติดตาม อีกมากมาย
ถ้าใครที่เป็น สส.ของพันธมิตรที่เป็นคนธรรมดาไม่มีกิจการใหญ่โตนั้น
เค้าจะมีเงินใช้จ่ายต่อเดือนได้ไงครับ เพราะผมเป็นคนชาวบ้านพอมีงาน บวช
แต่ง ศพ ก็มี สส. มาเป็นประธานมั้ง เป็นแขกรับเงินมั้ง
แต่ละเดือนงานเป็นสิบ
ที่ผมเขียนมานี่
ผมเป็นห่วงการตั้งพรรคแต่ประชาชนชาวพันธมิตรส่วนใหญ่เป็นด้วย
ผมต้องยอมรับความเห็นส่วนใหญ่
และ อีกอย่างคือ ชื่อของพรรค ผมให้เป็นชื่อ พรรคเทียนแห่งธรรม
เพราะเทียนแห่งธรรม เป็นชื่อไม่เข้าข้างไหน และมีความหมายดี
แต่ถ้าตั้งชื่อพรรคพันธมิตร และความเราจะได้แต่พันธมิตร คนอื่นไม่ได้เลย
และจะเชื่อมโยงกับการต่อสู้ภาคประชาชนด้วย
และสุดท้ายผมชอบการอ่านข่าว พี่ดุษณีย์ มากครับ เพราะพี่พูดจาฉะฉานมาก
มีความรู้แน่น โน้มนาวจิตใจคน
พันธมิตรพิจิตร
p-sticker@hotmail.com
+++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น