++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สร้างสรรค์ปลูกศิลป์ "ศิลปะบนนาข้าว"แห่งแรกในเมืองไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


แปลงนี้มีชื่อว่า หนองตะพาน ยินดีต้อนรับ
"ข้าว"อยู่คู่กับวิถีคนไทยมาช้านานนับแต่บรรพกาล

คนไทยมีภูมิปัญญาในการปลูกข้าว ทำนา
และสร้างสรรค์ผลผลิตพันธุ์ข้าวจากทุ่งรวงทองที่ไม่เป็นรองใคร(แต่น่าแปลกที่
ชาวนาไทยส่วนใหญ่ในวันนี้ก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม)

มาวันนี้บ้านเราได้มีนวัตกรรมใหม่ของนาข้าวถือกำเนิดขึ้นนั่นก็คือ
"ศิลปะบนนาข้าว" ที่น่าตื่นตาตื่นใจให้ผู้สนใจได้ไปศึกษาเที่ยวชมกัน

ต้นกล้าจากแปลงเมา ง่วงขับเท่ากับตายกำลังเติบโต
ศิลปะบนนาข้าว แห่งหนองตะพาน

หากพูดถึงศิลปะบนนาข้าวที่โด่งดังนั้นอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
แต่มาวันนี้เราไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น เพราะเพียงแค่แวะไปที่ ต.หนองตะพาน
อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
เราก็จะได้พบกับศิลปะบนนาข้าวอันทรงเสน่ห์อวดโฉมให้ชื่นชมกัน

หนองตะพาน เป็นตำบลเล็กๆที่ชาวบ้านมีอาชีพทำนาเป็นหลัก
ระหว่างพื้นที่นากับ พื้นที่บ้านมีลำธารน้ำไหลผ่าน
ชาวบ้านส่วนใหญ่จะสร้างสะพานเป็นของตนเองไปสู่ที่นา
จึงมีสะพานจำนวนมากมาย ต่อมาเมื่อมีการตั้งตำบลขึ้น จึงใช้ชื่อว่า
"ตำบลหนองตะพาน" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "หนองสะพาน" นั่นเอง

ที่ ต.หนองตะพาน
แห่งนี้นอกจากชาวบ้านจะกินอยู่กันอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอ
เพียงแล้ว ยังมีการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่
เพื่อชุมชนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร
หรือการส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว
เพื่อนำรายได้เสริมจากภายนอกเข้ามาสู่ชุมชน

รูปรถกับโทรศัพท์ ไว้เตือนสติคนชอบโทรศัพท์ขณะขับรถ
สำหรับผลงานชิ้นโบว์แดง ของตำบลแห่งนี้นั่นก็คือ
แนวความคิดการดัดแปลงทุ่งข้าวให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
จากเดิมที่ชาวบ้านต้องปลูกข้าวจนเขียวขจีไปทั้งทุ่งแล้วนั้น
ชาวหนองตะพานได้แนวคิดว่าแปลงนาก็สามารถเพิ่มมูลค่าและสร้างความสวยงามได้
เช่นกันโดยผ่านผลงานที่มีชื่อว่า "ศิลปะบนนาข้าว"

นนท์ มังคลากุล หัวหน้าโครงการศิลปะบนนาข้าว แห่ง ต.หนองตะพาน
เล่าถึงจุดกำเนิดแนวคิดการพัฒนาจากนาข้าวธรรมดา
ให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของ จ.ระยอง ว่า
เขาและพรรคพวกเริ่มแนวคิดนี้ เมื่อมีโอกาสได้เห็น
รูปศิลปะบนนาข้าวของประเทศญี่ปุ่นทางอินเตอร์เน็ต

นนท์ มังคลากุล ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าว
"ผมเกิดคำถามในใจตัวเองว่า เมืองไทยเราทำไม่ได้หรือ ทั้งๆที่
บ้านเราปลูกข้าวส่งออกเป็นลำดับที่หนึ่งของโลก พวกเราปลูกข้าวได้
ปีละหลายๆครั้ง อย่างเช่นที่หนองตะพาน เราปลูกข้าวปีหนึ่งได้ผลผลิต
สามครั้ง เนื่องจากน้ำมีอย่างเพียงพอ
แล้วทำไมเราไม่ลองทำงานศิลปะบนนาข้าวที่หนองตะพานดูบ้าง

ถ้าทำได้ เราทำได้ปีหนึ่ง 3 ต่อแปลง แล้วถ้ากลุ่มชาวนาของเรา
สนับสนุนให้โครงงานนี้เป็น โครงงานของตำบลเรา คาดกันว่า
ปีหนึ่งหากทำกันสัก 10 แปลง เราจะได้รูปศิลปะบนนาข้าว 30 ภาพในหนึ่งปี
ในขณะที่ญี่ปุ่น ปีหนึ่งปลูกได้ครั้งเดียว เพราะบางช่วงอากาศหนาวเย็น
ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เราทำหนึ่งปีเท่ากับญี่ปุ่นทำ 30
ปี"นนท์กล่าวถึงที่มาที่ไป ก่อนจะมาเป็นศิลปะบนนาข้าวที่หนองตะพาน

ต้นหมากสัญลักษณ์หนึ่งของ ต.หนองตะพาน ที่ถูกนำมาถ่ายทอดลงในงานศิลปะบนนาข้าวด้วย
นนท์เล่าต่ออีกว่า
จากนั้นเขาและพรรคพวกได้เสาะหาพันธุ์ข้าวสีดำจากทั่วประเทศ หาข้อมูลอยู่
3 เดือน จนใกล้ท้อแล้ว มาเจองานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้เริ่มรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวก่ำ หรือ
ข้าวเหนียวดำพื้นเมืองของไทย พบว่ามี สายพันธุ์ "ก่ำดอยสะเก็ด"ที่ ให้
ลำต้น กาบใบ และ รวงเมล็ดข้าวเป็นสีดำอมม่วง ยกเว้นรากเท่านั้น ที่ไม่ดำ
ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะนำมาทำโครงงานศิลปะบนนาข้าว

แปลงแรก ลงแรง รวมใจ

ปัญญา สุขสว่าง หรือลุงปัญญา ที่ปรึกษาอาวุโสของโครงการ
เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เล่าถึงเรื่องราวของศิลปะบนนาข้าวอย่างภาคภูมิใจว่า
หลังจากที่ทางกลุ่มได้พันธุ์ข้าวมาแล้ว ก็ได้นำมาทดลองปลูกในหนองตะพาน

อีกมุมจากศิลปะบนนาข้าว ในแปลงหนองตะพาน ยินดีต้อนรับ
ปลูกในช่วงเดือน ส.ค. 2551 สร้างแปลงทดลอง โดยแปลงแรกทำเป็นรูป
"เมา ง่วง โทร แล้วขับรถ เท่ากับ ตาย " บนแปลงขนาน 2 ไร่เศษ ขนานกว้าง
35เมตร ยาว 120 เมตร
โดยได้รับความร่วมมือจากแปลงนาของชาวบ้านในพื้นที่เอื้อเฟื้อให้

"เจอปัญหาหลายอย่างทั้งแปลงนาไม่มีทีระบายน้ำออกหรือเข้า
เกิดพายุฤดูร้อน ฝนตกหนัก เกิดน้ำท่วมขัง
กล้าข้าวเหนียวดำไม่เกิดการงอกดีพอ
แต่เราก็ไม่ท้อเพราะเหนือปัญหาเรายังมีความประทับใจที่เกิดจากการรวมแรงกัน
ของคนในหมู่บ้าน ที่พยายามทำให้งานสำเร็จชาวบ้านภูมิใจที่ได้ทำสิ่งใหม่ๆ
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว"ลุงปัญญากล่าว

ทางด้านนนท์นั้นเขาได้กล่าวต่ออีกว่า
มีความคาดหวังอยู่ในใจลึกๆว่า "ศิลปะบนนาข้าว" จะ
ช่วยซึ่งส่งผลให้เกิดรายได้กระจายสู่ชาวบ้านในพื้นที่ได้บ้างไม่มากก็น้อย
ในปีนี้ทางทีมงานตั้งเป้าไว้ว่าจะทำภาพศิลปะบนนาข้าวให้ได้16
รูปภาพในปีนี้

ยิ่งต้นกล้าเติบโตความชัดเจนของภาพศิลปะจะเพิ่มมากขึ้น
"นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมเรามีกิจกรรมแนะนำคือ
สามารถร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวกับชาวบ้านได้หากมาในช่วงที่ข้าวออกรวงเหลือง-ดำ
เต็มที่ มูลค่าของการผลิตข้าวเพิ่มจาก 8,000 เป็น 50,000 บาท ต่อตัน
จากโครงการนี้"นนท์กล่าว

เที่ยวช่วงไหน ดูอย่างไรให้สวย

สำหรับการเข้าชมแปลงนาที่มีรูปแบบของศิลปะบนนาข้าวนั้น
จะมีแปลงแรกเป็นเรื่องรณรงค์เมาไม่ขับมีชื่อว่า "เมา ง่วง โทร ขับ
เท่ากับตาย" โดยช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเที่ยวชมอยู่ที่ระหว่างวันที่25
พ.ค.-30 มิ.ย.2552 แปลงที่สองมีชื่อว่า "สานสายใยครอบครัว"
ช่วงเวลาที่เยี่ยมชมระหว่างวันที่ 1ก.ค.-1 ก.ย.2552

หอชมภาพบนแปลงนาที่สร้างเตรียมไว้รอรับนักท่องเที่ยวในฤดูกาลนี้
แปลงที่สาม "หนองตะพานยินดีต้อนรับ"
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเยี่ยมชม 7 ก.ค. - 7ก.ย.2552 แปลงที่สี่
"วิถีชีวิตชาวนา" ดูได้ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค - 9 ต.ค.2552
แปลงที่ห้าชื่อเรื่อง"ท่องเที่ยวเชิงเกษตร หนองตะพาน"
ช่วงเวลาเยี่ยมชมระหว่างวันที่ 17 ก.ค.-17 ก.ย.2552 แปลงที่หก
ดูได้ช่วงวันแม่เป็นแปลงที่ชาวบ้านภูมิใจ คือแปลง "เส้นทางความรักของแม่"
เป็นการเล่าเรื่อง 5 ภาพติดกันบนแปลงนา 13 ไร่ มีทั้งภาพ แม่อุ้มท้อง
ให้นม พาไปโรงเรียน ดูแลยามป่วย ปิดท้ายด้วยลูกจูงแม่ยามชรา

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเพื่อเยี่ยมชม
นอกเหนือจากจะมาดูศิลปะบนนาข้าวแล้ว
ยังสามารถร่วมสนุกกับกิจกรรมอื่นๆในชุมชนและพักค้างแบบโฮมสเตย์ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ล่าสุดทางชุมชนหนองตะพานยังได้มีการจัดเตรียมขึ้นนั่งร้าน
หอชมภาพสูง 3 ชั้น สูง 4 เมตรที่ทำไว้ให้นักท่องเที่ยวเสร็จแล้ว
กำลังทาสีสะท้อนแสง ตีแนวกันตก ทำราวบันได ลูกศร ทางขึ้น - ลง
รวมทั้งทำสีสะท้อนแสงบริเวณรอบๆ เช่น รอบต้นไม้ ก่อน -หลัง
จุดขึ้นชมเตือนผู้ขับขี่ให้ขับรถช้าๆผ่านบริเวณนั้น เตรียมจุดป้ายจอดรถ

"ทางเราจะจัด เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำและดูแลนักท่องเที่ยว
ในแต่ละแปลงที่ติดถนน มีการสัญจรด้วยครับ ความปลอดภัย และ ดูแลต้อนรับดี
คือ หัวใจของเราครับ"นนท์กล่าวทิ้งท้าย

บ้านโฮมสเตย์ที่มีพร้อมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว
อนึ่ง งานศิลปะบนนาข้าวของชาวหนองตะพานนี้
จัดได้ว่าสำเร็จเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพราะนอกจากที่ต.หนองตะพานแล้ว
ยังมีการริเริ่มสร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าวอีกแห่งหนึ่งที่จ.ราชบุรี
ด้วยความร่วมมือของ อาสาสมัครกรีนพีซ
และเกษตรกรราชบุรีร่วมปลูกข้าวอินทรีย์ในแปลงนาขนาด 10 ไร่

ซึ่งเดือนมิ.ย.ที่จะถึงนี้ก็จะมี
นาข้าวผืนนี้จะงอกงามกลายเป็นศิลปะอันสวยงามสะท้อนวิถีชีวิตของชาวนาไทย
ด้วยภาพชาวนาใส่หมวกฟาง และถือเคียวร่วมกันเกี่ยวข้าวอันแห่งหนึ่งเช่นกัน
แต่ถ้าไม่อยากรอคอยแนะนำเลยว่ามาดูที่ ต.หนองตะพาน อ.บ้ายค่าย จ.ระยอง
ก่อนดีกว่าเพราะดูได้แล้ววันนี้ไปจนถึงสิ้นปี

* * * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * * *
* * * * * *

การเดินทางไปชม "ศิลปะบนนาข้าว" ที่ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย
จ.ระยอง สามารถเดินทางได้โดยใช้เส้นทางถนนระยอง - บ้านค่าย (3138)
วิ่งจาก แยกเกาะกลอยมาประมาณ 6 กม. จนมาถึงแยกหนองตะพาน (
ให้สังเกตตรงด้านซ้ายมีศาลา "มังคุด") แล้วเลี้ยวซ้ายก็จะเข้าเขต
ต.หนองตะพาน

สำหรับแปลงนาศิลปะบนนาข้าว ทั้งขนาดเล็กและใหญ่
จะอยู่ติดริมถนนและ กระจายทั่วไปในพื้นที่หมู่ 2 และ หมู่3 ทั้งนี้
สามารถเดินทางไปถึงได้สะดวกเนื่องจากมีป้ายแนะนำโครงงานให้สังเกตเห็นได้
ตลอดเส้นทางในหมู่บ้าน

สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานระยอง
โทร.0-3865-5420-1,0-3866-4585 หรือที่
ศูนย์ท่องเที่ยวหนองตะพานและที่กลุ่มโครงงานศิลปะบนนาข้าว โทร , อบต แอ๊ด
08-7872-6435,ลุงเหลี่ยง 08-1295-6047,คุณนนท์ 08-9831-5279


http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000058469

1 ความคิดเห็น:

  1. หมอชาวนา มีผลงานวิจัยอิสระเรื่อง ปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มชาวนา พบวิธีแก้ไขปัญหาง่าย ๆ หลายแนวทาง สามารถทำให้เกษตรกรรวยกว่าพ่อค้า ดีกว่าข้าราชการ ได้มากกว่ากองทุนเงินล้าน มีเงินให้รัฐบาลกู้ยืม รวยจากการให้ ได้จากความสามัคคี ยิ่งนานยิ่งรวย รวยด้วยศักยภาพและการพึ่งพาตนเอง ทุกปัญหามีคำตอบ แม้จะเป็นปัญหายุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แต่ก็เป็นได้แค่เส้นผมบังภูเขา โอกาสเราสร้างเองได้ และชัยชนะเราสามารถสร้างขึ้นได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ชนะแบบไม่ต้องออกแรงสู้ อยู่เฉย ๆ ก็ชนะ หรือชนะทางยุทธศาสตร์ ชนะโดยไม่ต้องรบ ปราบทุจริตให้สิ้นไป ไม่เกิดความสิ้นเปลืองเสียหาย ขอเชิญผู้มีเกียรติทุกท่านที่สนใจการแก้ไขปัญหาลองเข้าไปอ่านในอินเทอร์เน็ตหัวข้อ msgent of thai สงสัยติดต่อสอบถาม msgent6@gmail.com

    ตอบลบ