++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประตูน้ำอัตโนมัติ โครงการแก้มลิงอเนกประสงค์/ดร.ชิต เหล่าวัฒนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2552 08:48 น.


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริแก่ นายสุเมธ
ตันติเวชกุล ประธานกรรมการ และ นายรอยล จิตรดอน กรรมการและเลขานุการ
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549
พระองค์ท่านได้ทรงปรารภว่าที่ผ่านมายังไม่ได้มีการแก้ไขในการปฎิบัติงาน
ซึ่งจำเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลสภาพภูมิอากาศของปีที่ผ่านมา
นำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน รวมไปถึงการคาดการณ์ล่วงหน้า
เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจปฏิบัติงาน เช่น การปล่อยน้ำ การรักษาระดับน้ำ
การกักเก็บ เป็นต้น
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ชัดเจนที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ
กระแสลมจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
และตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำให้เกิดฝนที่แตกต่างไปจากเดิม
ดังนั้นการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ จะบรรลุผลได้
ต้องมีการใช้ข้อมูลและการคาดการณ์
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการทำงานตามสภาพข้อเท็จจริง

แนวพระราชดำริในการใช้แก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองมหาชัย
นอกเหนือจากการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่มีมากว่า 10
ปีแล้ว คลองมหาชัยเป็นคลองเชื่อมคลองบางกอกน้อยกับจังหวัดสมุทรสาคร
และมีคลองซอยเชื่อมออกทะเลอยู่มาก
แต่น้ำที่ไหลมาจากคลองบางกอกน้อยมาปะทะกับน้ำเค็มที่หนุนขึ้นมาทางจังหวัด
สมุทรสาคร ทำให้น้ำนิ่งไม่ไหล น้ำบริเวณนี้จึงเน่าเสีย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงร่างสิ่งที่เรียกว่า Thematic Map
เพื่อใช้อธิบายความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการ
และได้กำหนดจุดที่จะทำประตูน้ำและพื้นที่แก้มลิงโดยประมาณขึ้นมา
และเมื่อน้ำทะเลหนุน ให้หรี่บานประตูน้ำลง และนำน้ำจืดที่หลากลงมา
มาเก็บไว้ในแก้มลิง เมื่อน้ำทะเลหนุนขึ้นสูงจนระดับผิวน้ำต่างกันประมาณ
50 เซนติเมตรจะเกิดแรงดันน้ำ (Pressure Head)
เมื่อน้ำทะเลลงแรงดันดังกล่าวก็จะทำหน้าที่เหมือนลูกสูบรถยนต์สูบเอาน้ำที่
ไหลจากคลองบางกอกน้อยไปด้วย
หากดำเนินการอย่างนี้น้ำก็จะไหลเวียนพาสิ่งสกปรกที่ตกตะกอนไปด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้สำรวจทำแผนที่
เพื่อกำหนดพื้นที่แก้มลิงตามหลักข้างต้น โดยให้เลือกบริเวณน้ำขัง
ที่ปัจจุบันน้ำเน่าเสียแล้ว ทำการเกษตรไม่ได้ มาใช้ทำแก้มลิง
ทำเป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียแบบเดียวกับที่แหลมผักเบี้ย
เมื่อทำเสร็จน้ำดีขึ้น ใช้ทำการเกษตรได้ ราษฎรก็จะได้มีรายได้ มีผลตอบแทน
มีอาชีพกลับมา แต่ต้องบริหารระดับน้ำให้ดี อย่างระมัดระวัง
มีการบันทึกข้อมูลโดยตลอด
หากทำสำเร็จก็ให้พิจารณาเชื่อมต่อทางทิศตะวันตกไปถึงจังหวัดสมุทรสงคราม
ทางทิศตะวันออกก็ขยายต่อมาที่บางขุนเทียน บางกระเจ้า สำโรง
จังหวัดสมุทรปราการ ให้เป็นชุดเป็นกลุ่ม
เหมือนกับโครงการในพระราชดำริที่จังหวัดนราธิวาส
และได้ทรงย้ำว่าในการทำโครงการนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ
การรวบรวมข้อมูล จัดทำแผนที่ จัดทำ Thematic Map จนถึงสรุปความคิดรวบยอด
(Concept) ให้ได้ ก็จะได้โครงงานที่จะใช้ดำเนินงานพัฒนา
ประตูระบายน้ำที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในบริเวณพื้นที่ศึกษามี
6 แห่ง ตั้งอยู่ในคลองสายต่างๆ ประกอบด้วยคลองมหาชัย คลองหลวง
คลองสหกรณ์สาย 3 คลองเจ๊ก คลองโคกขาม และคลองโคกขามเก่า
ซึ่งปัจจุบันยังขาดอุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อการบริหารบานประตูระบายน้ำ
อย่างต่อเนื่อง

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ได้รับมอบหมายให้เข้าถวายงานออกแบบและดำเนินการติดตั้ง
ระบบควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล
หรือทำงานภายใต้เงื่อนไขได้อย่างอัตโนมัติ
โดยระบบควบคุมจะรอรับคำสั่งระยะความสูงของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำจากส่วน
กลางโดยผ่านทาง modem
จากนั้นระบบควบคุมทำการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำให้ได้ตามระยะความสูงที่ต้อง
การ ตรวจวัดระยะยกบานระบายน้ำด้วยแสงเลเซอร์
แล้วส่งสัญญาณแจ้งกลับไปยังส่วนกลาง
เพื่อให้ทราบถึงสถานะของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ

โครงการ "แก้มลิงอเนกประสงค์ คลองสนามชัย-มหาชัย
กรุงเทพมหานคร-สมุทรสาคร" นี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
มูลนิธิชัยพัฒนา ผลดีที่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คาดว่าจะได้รับคือ

1) ระบบแก้มลิงสำหรับเสริมระบบการไหลเวียนของน้ำ
- Thematic Map แสดงตำแหน่งประตูน้ำ สภาพการไหลของน้ำ และข้อมูลประกอบ
- แบบจำลอง และหุ่นจำลอง แสดงสภาพการไหลของน้ำที่จำลองเหตุกรณีต่างๆ
- ต้นแบบระบบควบคุมการปิด-เปิดประตูระบายน้ำจากระยะไกล

2) ระบบบริหารน้ำ
- แนวทางบริหารน้ำเพื่อเสริมการไหลเวียน
- ตารางการบริหารน้ำสำหรับโครงสร้างหลัก และโครงสร้างรอง

3) ร่วมบริหารน้ำ
- รัฐ เอกชน ชุมชน ร่วมมือในการบริหารน้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- การดูแล บำรุงรักษาสภาพแนวคลอง และอนุรักษ์ป่าชายเลน และพื้นที่ชุ่มน้ำ
- ขยายผล พื้นที่ และชุมชนที่ร่วมดำเนินการ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่
djitt@fibo.kmutt.ac

+++
การแก้ใขน้ำท่วมและรักษาน้ำจืดให้สะอาดบริสุทธิ์ตามโครงการแก้มลิงนั้น
เป็นการแก้ใขที่หลังจากใด้มีการก่อสร้างบ้านเมือง ถนนหนทาง ลานจอดรถ
ตึกรามบ้านช่อง สนามบิน และอื่นๆ
มาจนเสร็จเรียบร้อยแล้วดังเช่นเมืองกรุงเทพในปัจจุบันนี้
หรือเมืองอื่นๆทั่วประเทศไทย
ใด้ทำให้ปริมาณน้ำฝนใหลออกมาในกรุงเทพหรือจากตัวเมืองมีจำนวนมหาศาล
เนื่องจากว่า น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นหญ้าหรือต้นไม้หรือในป่านั้น
ปริมาณน้ำฝนจะใหลซึมลงดินใด้ถึง 80เปอร์เซนต์ จะมีเพียง 20
เปอร์เซนต์เท่านั้น ที่ใหลออกมาท่วมบ้านเมือง
แต่ว่าน้ำฝนที่ตกลงมาบนหลังคา บ้านเรือน ถนนหนทาง ลานจอดรถ สนามบิน
และส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ดิน ต้นหญ้า หรือป่า
ปริมาณน้ำฝนจะซึมลงไปในดินใด้เพียงประมาณ 10 เปอร์เซนต์ ดังนั้น
ปริมาณน้ำฝนที่เกินกว่า 90 เปอร์เซนต์
ใหลออกมาจากตัวเมืองจึงเป็นจำนวนมหาศาล สามารถทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นมาใด้
ที่ สหรัฐอเมริกา เขามีกฏหมายรองรับการจัดการปริมาณน้ำฝน โดยให้
เจ้าของการก่อสร้างโปรเจ็คต่างๆ จัดการสร้างระบบควบคุมน้ำฝน
เหมือนดังเช่น โครงการแก้มลิงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แต่เขาให้จัดการสร้างระบบควบคุมน้ำฝนในระหว่างการก่อสร้างของแต่ละพื้นที่
ดังนั้นน้ำฝนที่ใหลออกมาจากแต่ละพื้นที่เมื่อใด้ควบคุมแล้ว
จะค่อยๆชลอการใหลออกมาทำให้เวลาที่ไปถึงจุดปลายทางคือ แม่น้ำหรือลำธาร
ในเวลาที่ต่างกัน คือไม่ถึงจุดหมายปลายทางในเวลาเดียวกัน
สามารถทำให้ปริมาณน้ำฝนในแม่น้ำหรือลำธารลดลงใด้มากพอควรในระยะเวลาที่ฝนตก
และทำให้แก้ปัญหาน้ำท่วมใด้ ถ้าท่านเข้าไปในเวปไซ๊ด์ Google และคลิก
Stormwater Management
จะเห็นว่าเกือบทุกเมืองทั่วประเทศสหรัฐมีกฏหมายดังตัวอย่างนี้
และเขาใด้ใช้กฏหมายกันอย่างเคร่งครัดและมีระเบียบ
จากประสพการณ์ของข้าพเจ้าใด้ทราบมาว่าทุกโปรเจ็คถ้าไม่ปฏิบัติตาม
เขาจะไม่ใด้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยเด็ดขาด
ดังนั้น เพื่อความผาสุข สุขภาพพลานามัย
การป้องกันหายนะทั้งทรัพย์สินและชีวิตของพลเมืองในประเทศไทย
จึงขอเรียนมาให้ท่านใด้ทราบและเพื่อใด้โปรดพิจารณา
ขอให้รัฐบาลใด้ออกกฏหมายการจัดการปริมาณน้ำฝน
ดังที่ใด้อธิบายมาแล้วข้างต้นนี้
อินทาเนีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น