++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เก้าอี้กระดาษแสนสวยเพื่อน้องพิการทางสมอง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


"เก้าอี้กระดาษกว่า 30 ตัวได้ถูก วางเรียงรายเป็นแถว ลักษณะของโครงสร้าง
ลวดลาย สีก็แตกต่างกัน ซึ่งเก้าอี้แต่ละตัวมีเพียงตัวเดียวในประเทศไทย"
เก้าอี้กระดาษดังกล่าว ถูกออกแบบโดยว่าที่สถาปนิกในอนาคต
นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร. ) ธัญบุรี กว่า 30 ชีวิต
ที่ได้ออกแบบเก้าอี้กระดาษสำหรับเด็กพิการทางสมอง
ให้แก่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กทม.
ผศ.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เล่าว่า
เก้าอี้กระดาษสำหรับเด็กพิการทางสมอง ที่มอบให้แก่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
กทม. เป็นหนึ่งในวิชาเรียนออกแบบเครื่องเรือนสำเร็จรูป
ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ต้องเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์
นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง และต้องนำชิ้นงานไปใช้ได้จริง
เก้าอี้กระดาษสำหรับเด็กพิการแต่ละตัว จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เพราะว่า
จะต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมเข้ากับสรีระของเด็กแต่ละคน
นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง
ยังได้ความสุขทางใจคือการให้ที่บริสุทธิ์ใจ
นางอรนารถ ดวงอุดม รองประธานและกรรมการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการทางสมอง
เล่าว่า ทางมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กทม.
ต้องการที่จะพัฒนาและฟื้นฟูเด็กพิการทางสมองเป็นกลุ่มหลัก
ซึ่งในแต่ปีมีเด็กพิการทางสมองมาใช้บริการประมาณ 200-300 คน
ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเด็กพวกนี้ไม่สามารถฟื้นฟูได้
เก้าอี้กระดาษสำหรับเด็กพิการ
ฝีมือนักศึกษาเป็นสิ่งที่ทางมูลนิธิต้องการมาก
เนื่องจากทางมูลนิธิได้อาสาสมัครจากญี่ปุ่นมาสอนผู้ปกครองทำเก้าอี้สำหรับ
เด็กๆ แต่ด้วยผู้ปกครองไม่มีพื้นฐานในการออกแบบจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
สำหรับน้องๆนักศึกษา ที่มีพื้นฐานในการออกแบบ รู้หลักและวิธีการในการทำ
เก้าอี้กระดาษดังกล่าว จะส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง การทรงตัว การนั่ง
เพราะว่า เด็กพิการทางสมองจะมีปัญหาทางด้านสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อ

"ณัฐ-ณัฐิยา เพ็ชรดี" นักศึกษาชั้นปีที่ 5
ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ว่าที่สถาปนิกสาว
ผู้ออกแบบและประดิษฐ์เก้าอี้กระดาษให้ "น้องพลอย" (อายุ 10 ขวบ) เล่าว่า
หลังจากที่ตนเองได้วัดสัดส่วนของน้อง
และสัมภาษณ์ผู้ปกครองเกี่ยวกับความต้องการ
และออกแบบเก้าอี้ให้เก้าอี้เหมาะกับลักษณะทางกายภาพของน้องมากที่สุด
เช่นกระดาษมีความเอียง 70 องศา มีหมอนล๊อคคอ

" จากการสังเกตเห็นว่าคอน้องจะเอียง
หมอนจะมีลอยบุ๋มตรงศีรษะเวลาน้องพิงก็จะล๊อคคอน้องได้พอดี จะได้ไม่เอียง
มีถาดอาหารไว้สำหรับตอนที่น้องวางมือ
หรือว่าเวลาทานข้าวน้องจะได้หันหยิบช้อน สายรัด 2 ตำแหน่ง คือ
สายรัดหน้าอก และตรงต้นขา เพื่อป้องกันน้องไหลลงจากเก้าอี้กระดาษ
"ดีใจมากที่ได้ออกแบบเก้าอี้กระดาษสำหรับน้องๆ
อย่างน้อยเก้าอี้กระดาษที่ออกแบบก็สามารถช่วยน้องในการทรงตัว" ณัฐอธิบาย

เพื่อนร่วมชั้นเรียนของณัฐ หนุ่มสถาปนิกอนาคตไกล "ปัด- ปรัชญา
ธูปกระแจะ" เล่าว่า ตนเองได้รับเคส "น้องเบ๊บ" (อายุ 12 ปี)
ซึ่งลักษณะของน้องจะเกร็งอยู่ตลอดเวลา ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
ทรงตัวไม่ได้จะต้องนอนตลอดเวลา

" ของผมจะออกแบบโดยเก้าอี้เอียง 50 องศา
ตรงพนักพิงมีตัวเสริมศีรษะ และมีตัววางเท้า ทำให้ลำตัวตรง
ลดอาการเกร็งให้น้อยลง น้องสามารถนั่งบนเก้าอี้
โดยผู้ปกครองไม่ต้องปล่อยน้องนอน ที่เลือกทำเป็นลายอุลตร้าแมน เพราะว่า
น้องเบ๊บชอบอุลตร้าแมนและเป็นการกระตุ้นการมองของน้อง
"ภูมิใจที่ได้แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง
อย่างน้อยเก้าอี้กระดาษก็เป็นเหมือนตัวพิสูจน์
ความสำเร็จอีกขั้นของตนเอง" ปัดเล่าถึงงานออกแบบ

"สุนทร สถาพร" รองหัวหน้ากลุ่มเด็กเล็กชมรมผู้ปกครอง
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กทม. ผู้ปกครองของ "น้องสายฝน" (อายุ 9 ปี)
เล่าว่า เข้ามาเป็นสมากชิกของมูลนิธิได้ประมาณ 2 ปี
หลังจากที่ได้เข้ามาที่นี่ น้องน้ำฝนมีพัฒนาการและสุขภาพแข็งแรงขึ้น
เนื่องจากทางมูลนิธิมีกิจกรรมมากมายสำหรับเด็กและผู้ปกครอง เช่น
กายภาพบำบัดสากล กายภาพญี่ปุ่น (โดฮะโฮ) นวดไทย
ผลที่เห็นได้ชัดเมื่อน้องสายฝนเข้ามาที่นี่
หลังจากที่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ ก็ไม่ค่อยได้เข้าโรงพยาบาล
เก้าอี้กระดาษของนักศึกษาจะส่งผลกับตัวของน้องสายฝนโดยตรง
ทางด้านร่างกายเรื่องของการทรงตัว

"ส่วน สำคัญที่สุดคือ การมองเห็น ถ้าได้นั่งน้องก็จะได้มองมากขึ้น
เด็กพิการทางสมองถ้าได้มองสิ่งแวดล้อมก็จะกระตุ้นพัฒนาการทางสายตา"ผู้
ปกครองกล่าวสรุปทิ้งท้าย
"เก้าอี้ กระดาษจากว่าที่สถาปนิกกว่า 30 ตัว
จะช่วยพัฒนาและกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องให้เด็กพิการ
นอกจากนั้นยังช่วยผู้ปกครองในการดูแลและในการทำกิจวัตรประจำวันได้อีกด้วย"
....

หากใครสนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี โทร.0-2549-4771

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059271

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น