++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปฏิบัติการสู่การเมืองใหม่ของพันธมิตร(ที่มากไปกว่าการตั้งพรรค)

โดย บรรจง นะแส


กระแสการถกเถียงกันในแวดวงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ในประเด็นว่าพันธมิตรควรจะยกระดับขึ้นเป็นพรรคการเมืองหรือไม่
ดูจะสร้างทั้งความคึกคัก หวาดหวั่น
ขึ้นในมวลหมู่ของพันธมิตรไม่น้อยทีเดียว มีคำถามเกิดขึ้นมากมายเช่น
หากพันธมิตรแปรเป็นพรรคการเมืองจะทำให้ความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวเหมือนที่
ผ่านมาลดความชอบธรรมลงหรือไม่?
จะสร้างความขัดแย้งกันภายในแตกแยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยและทอนกำลังของการ
เมืองภาคประชาชนลงหรือไม่?
เราควรรักษารูปแบบเช่นนี้เอาไว้เพราะสวยงามหอมหวานยิ่งนัก?(ความรักความ
สัมพันธ์ที่ยืนหยัดร่วมสู้กันมา ท่ามกลางแสงแดดสายฝนดงกระสุนและแกสน้ำตา
มันได้หลอมรวมชีวิตที่หลากหลายเข้าด้วยกัน
ที่มนุษย์กลุ่มอื่นๆไม่มีทางเข้าใจ ??)สำหรับผมมีคำอธิบายสำหรับตัวเอง
3-4ประเด็นดังนี้

1.ภาพของพรรคการเมืองในอดีตที่เราสัมผัสกันมา
มันไม่ได้สร้างความหวังที่เป็นเป้าหมายร่วมมาก่อน
เป็นเรื่องที่เรามองเห็นถึงความไร้หวังในเป้าหมายและทิศทางของสังคมใหญ่
ที่เราคาดหวังจะได้สังคมที่ดีงาม
ที่มีหลักประกันให้กับทุกๆคนในสังคมอย่างเท่าเทียม
อย่างเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีการกดขี่ขูดรีดโกงกินไม่มีอภิสิทธ์ชน
ไม่มีคนอยู่เหนือกฎกติกาของสังคม(ซึ่งจริงๆแล้วอภิสิทธิ์ชนมีตั้งแต่ในระดับ
ชุมชน ในหน่วยงานราชการและเอกชน กฎกติกาของสังคมก็เป็นกฎกติกาเฉยๆ
ลูกผู้ใหญ่/กำนัน ซิ่งรถตามหมู่บ้านจ่าไม่กล้าจับ
แม่ยายครูในหมู่บ้านไม่ต้องเข้าคิวรับการรักษาพยาบาล
ออกโฉนดที่ดินได้ง่ายกว่าคนทั่วไปฯลฯ)พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นและผ่านมา
มีโอกาสได้เป็นรัฐบาลปกครองบ้านเมืองไม่เคยแก้ไขปัญหาที่ตำตาตำใจเหล่านี้
ได้ เราจึงเกรงว่าหากพันธมิตรเป็นพรรคการเมืองและอยู่ในสภาพไม่แตกต่าง
อย่าเป็นมันเลยพรรคการเมือง
ขอเป็นแค่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างที่เป็นอยู่น่ะดีที่สุด
แล้ว ซึ่งก็น่าสนใจแต่มีคำถามที่ท้าทายเข้ามาไม่น้อยเช่น
ในความหมายของระบอบประชาธิปไตยที่สังคมเรานำมาใช้ในการเข้าบริหารจัดการ
ประเทศและสังคม มีกติกาต้องมีการจัดตั้งพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย
มีนโยบาย มีการจัดรูปแบบองค์กรของพรรค
มีการส่งสมาชิกเข้าสู่สนามการเลือกตั้งในกรณีที่พรรคมีความพร้อม
หากได้รับฉันทามติจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม
ก็จะสร้างความชอบธรรมในการเข้าไปใช้อำนาจรัฐในการบริหารบ้านเมือง
หากไม่เป็นไปตามครรลองนี้ การขับเคลื่อนก็ต้องจำกัดเป้าหมาย
ว่าเราจะเป็นแค่สุนัขเฝ้าบ้าน
เป็นพลเมืองที่เกาะกันเป็นกลุ่มก้อนดูแลรักษาสังคมเป็นเรื่องๆ
ตามสถานการณ์ไม่ให้สิ่งที่ขาดความชอบธรรมเกิดขึ้นในสังคมที่เรามีส่วนร่วม
รับผิดชอบในระดับต่างๆ หากสรุปได้แค่นี้พวกเราก็ไม่ควรมีพรรคการเมือง
เพราะพรรคการเมืองหมายถึงเป้าหมายที่จะเข้าไปบริหารจัดการสังคมใหญ่โดยรวม

โจทย์ที่ควรคิดควบคู่กันไปให้ครบทุกมิติในกรณีที่กลุ่มพันธมิตรอยาก
ยกระดับขึ้นเป็นพรรคการเมืองก็คือ
องค์กรที่จะประกอบขึ้นเป็นพรรคควรจะมีรายละเอียดอะไรบ้างที่จะก้าวไปให้พ้น
พรรคการเมืองเก่าที่ไร้หวังและน่าขยะแขยงเช่น
การเป็นสมาชิกของพรรคที่เป็นของมวลชนจริงๆควรจะจัดรูปแบบและการมีส่วนร่วม
อะไรบ้างที่มากไปกว่าการส่งรายชื่อและได้บัตรสมาชิกมาถือเหมือนพรรคการเมือง
ต่างๆที่มีอยู่?
ความเป็นประชาธิปไตยของพรรคควรจะเป็นเช่นไรที่ไม่ใช่นายทุนพรรคกลุ่มเดียว
ที่กำหนดทิศทางหรือชี้นิ้วว่าพรรคควรจะไปในทิศทางใดเหมือนพรรคการเมืองที่มี
อยู่?โจทย์เหล่านี้คือการบ้านที่ไม่เกินกำลังของกลุ่มพันธมิตรที่จะสร้างมัน
ขึ้นมา เพราะองค์ประกอบที่หลากหลายที่มีอยู่
มีศักยภาพพอที่จะสร้างหรือแปรความต้องการของกลุ่มออกมาให้เป็นรูปธรรมได้
และควรได้ยกร่างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาก่อน
ก่อนที่เราจะมาตั้งคำถามว่าเราควรจะเป็นพรรคการเมืองหรือไม่
สิ่งที่ทำให้พันธมิตรบางส่วนยังกังวลก็เพราะเราไม่ได้เห็นรายละเอียดเหล่า
นี้ใช่หรือไม่?

2.ปฏิบัติการสู่การเมืองใหม่ไม่ได้หมายถึงการวางเป้าหมายสู่การเข้า
ใช้อำนาจรัฐได้ในชั่วข้ามคืน
ในท่ามกลางความแตกแยกแตกต่างที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ในหลายๆมิติหลายๆเนื้อหา
มันมีภาพลวงตามีภาวะวิสัยที่แม้แต่ในกลุ่มพันธมิตรเราเองต้องประเมินว่า
การเคลื่อนไหวที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมอีกครั้งในครั้งนี้
แม้เราจะเห็นด้วยร่วมกันว่าได้ยกระดับของการเคลื่อนไหวทางสังคมไปอีกก้าว
มีการใช้วาทกรรมว่าเอาธรรมนำหน้า
มีการจัดองค์กรในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการหยิบยกความเน่าแฟะที่หมักหมมของสังคมออกมาตีแผ่ผ่านสื่อช่องทางเล็กๆ
อย่างต่อเนื่อง มีพี่น้องที่ยอมสละได้แม้ชีวิตเพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่
ดีกว่าสิ่งที่เผชิญกันอยู่
ยังมีองค์ประกอบมีเงื่อนไขเกี่ยวพันอื่นๆที่การเมืองใหม่หรือสังคมใหม่จะ
ต้องช่วยกันคลี่คลายอีกมาก
รวมถึงคำถามหรือโจทย์ปัญหาของสังคมที่พี่น้องกลุ่มคนเสื้อแดงได้หยิบยกขึ้น
มา ในบางส่วนบางประเด็น
ก็เป็นสิ่งที่กลุ่มพันธมิตรควรหยิบยกขึ้นมาใคร่ครวญอย่างใจเย็น
อย่างมีสติมีวุฒิภาวะใช่หรือไม่?

3.โดยส่วนตัวผมมองว่าพวกเรากลุ่มพันธมิตรถูกกระแสให้เน้นไปที่อำนาจ
ทางการเมืองในส่วนกลางมากเกินไป
ทั้งๆที่องค์ประกอบของผู้คนมีหลากหลายโดยเฉพาะในต่างจังหวัด
หากการเมืองใหม่หมายถึงเจตนาหรือจิตวิญญาณทางการเมือง
ที่ต้องการการเมืองที่สะอาดโปร่งใสและชอบธรรม
สนามแห่งการต่อสู้ของพวกเรามีอยู่ทุกสนามเช่นองค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เพราะสิ่งที่เป็นการเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยการขี้ฉ้อ
โกงกินหาผลประโยชน์เข้ากลุ่มเข้าพวกละเลยปัญหาของสังคมโดยรวม
หาได้ปรากฏกายอยู่แต่เฉพาะการเมืองในระดับประเทศไม่ใช่หรือ??ผมจึงอยากเสนอ
ให้พันธมิตรในระดับตำบล
จังหวัดจับกลุ่มเกาะเกี่ยวกันสร้างเป็นองค์กรในระดับท้องถิ่นให้มากๆ
ดูแลปัญหาใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับสังคมของสมาชิกว่ากำลังเผชิญอยู่กับปัญหา
อะไรบ้าง แล้วนำเสนอทางออกเสนอตัวรับใช้ในมิติของการเมืองใหม่ที่พูดๆกัน
ให้สร้างสัมพันธ์กับส่วนกลางในการหนุนช่วยทั้งในด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือ
หนุนเสริมกิจกรรมอันเป็นทางออกของปัญหาในระดับพื้นที่
ผมคิดว่านี่คือหนทางหนึ่งที่กลุ่มพันธมิตรสามารถปฏิบัติการสู่การเมืองใหม่
ได้อย่างเป็นจริง
และสามรถลงมือได้เลยโดยไม่ต้องรอขบวนใหญ่จากส่วนกลางเท่านั้น

4.มีคำถามว่าหากกลุ่มพันธมิตรแห่แหนกันไปอยู่ในกรอบของพรรคการเมือง
กันหมด ต่อไปความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเหมือนที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นลำบาก
ผมคิดว่ากลุ่มพันธมิตรของพวกเราควรได้มองไปข้างหน้า
อย่าติดยึดกับความหอมหวานแห่งอดีตให้มากนัก
มองสังคมอย่างพลวัตรที่มีการขับเคลื่อนตัวไปตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง
ในเงื่อนไขหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งสรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปกาลเวลาของมัน
แต่หากเจตนารมณ์หรือเป้าหมายอยู่ที่ความถูกต้องชอบธรรม
ซึ่งต้องอยู่เหนือกลุ่มเหนือพรรค
การเคลื่อนไหวภาคประชาชนจะไม่มีวันตายผมเชื่อเช่นนั้น
เพียงแต่ปัจจัยแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบและวิธีการของมันเอง
อีกประเด็นความหมายที่ละเอียดลึกซึ้งของการเมืองภาคประชาชนไม่ได้หมายถึงการ
เดินอยู่บนถนนราชดำเนินเท่านั้น
ขนาดและจำนวนไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าเนื้อหา
เนื้อหาของการเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนที่แท้จริง
จะต้องตั้งอยู่บนผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของประชาชนในหลากหลายอาชีพ
หลากหลายภูมินิเวศน์ซึ่งมีอยู่ในหลายเนื้อหา หลายระดับ
ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนได้หรอกตราบใดที่
ณที่นั้นๆขาดความถูกต้องชอบธรรมที่จะกระทบกับพวกเขา

ปฏิบัติการสู่การเมืองใหม่ของพันธมิตรจึงไม่ใช่ประเด็นที่ควรวิตก
จริตกันจนเกินเหตุ อาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยชิน
อาจจะมีความกังวลในหลายๆมิติ
เพราะเราถูกแยกส่วนให้จมปลักอยู่กับความเคยชินเดิมๆจนรู้สึกว่าแก้ไขอะไรไม่
ได้ ถึงวันนี้พิสูจน์ให้เห็นกับตา
ตอกย้ำกับความมั่นใจว่าทุกอย่างแก้ไขและเปลี่ยนแปลงมันได้ด้วยพลังและเจตนา
ร่วมของพวกเรา และหากเราต่างเชื่อในเจตนาดี
ที่จะทำสิ่งดีๆเพื่อสังคมที่ดีงาม ที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อหมู่พวก
เราก็จะก้าวพ้นความกังวลทั้งปวงซึ่งสามารถล้มแล้วลุกขึ้นมาปฏิบัติการใหม่
หลังจากมีการสรุปบทเรียนทั้งสำเร็จและล้มเหลวในแต่ละครั้งของการเคลื่อนไหว
ต่อๆไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

ผมเชื่อของผมเช่นนี้ครับ.

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000056952

เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนว่า
1. การเมืองแบบตัวแทนล้มเหลวเพราะเหตุใด
2. คิดว่าการเมืองแบบตัวแทน ซ่อมแซมได้ไหม
3. บทเรียนในอดีต พลังใหม่ พลังธรรม ฯลฯ ล้มเหลวอย่างไร
4. โจทย์ที่ พธม. ตั้งไว้ว่า "สมควรจะตั้งพรรคการเมือง หรือไม่"
เป็นโจทย์ที่ไม่น่าจะถูกต้อง โจทย์ผิด คำตอบก็น่าจะผิด
5. แม้โจทย์จะผิดแต่กระบวนการหาคำตอบ ถ้ามีสติดี ๆ
ก็อาจจะได้คำตอบที่ถูกต้องก็ได้
(ถ้ารับฟังอย่างตั้งใจ-ฟังดูอาจจะแย้งกับข้อ 4 บ้าง)
6. การเมืองในอนาคต เป็นการเมืองแบบไฮเพอร์ ที่ทุกคนมีอำนาจของตนเอง
ไม่ต้องมีตัวแทน สื่อสารได้ด้วยตนเอง เรียกร้องได้ด้วยตัวเอง
ไม่มีการหักหลังประชาชน
7. จากข้อ 6. แม้ภาพจะยังไม่ชัดนัก แต่ก็ชัดเจนแล้วว่า
การเมืองแบบตัวแทนนั้นล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
8. ขอให้การประชุม 24-25 สำเร็จนะ
แมว ควนหิน
++เป้าหมาย =>>ผมเห็นว่า "การสร้างสังคมไทย ให้เดินหน้าไปสู่
สัังคมที่ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (โดยธรรม)
และประชาชนมีศีล /มีธรรม"
วิธีการ =>> ควรใช้ "วิธีการ ตามแนวระบอบรัฐสภา เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กล่าวแล้ว"

จาก วิธีการที่ผมเลือกนี้ "ไม่สามารถคาดหวังว่า พรรคการเมือง
(ที่แท้จริงคือแกงค์ของกลุ่มคน -ที่เจ้าของเงินคือ เจ้าของพรรคในความหมาย
แค่ "เป็นพรรค เพราะจดทะเบียนไว้ตามกฏหมาย แต่ก็เป็นแค่
"แกงค์ที่ต้องการเข้ามาใช้อำนาจรัฐ เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน /กลุ่มแกงค์"
) ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน จะมีความสามารถทำภาระกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ที่กล่าวไว้แล้วได้ " ผมเห็นความเป็นไปได้ก็คือ
"การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองใหม่ เพื่อทำภาระกิจ
/หน้าที่ของพรรคการเมืองของประชาชน จึงจะมีความหวัง /มีความเป็นไปได้
ที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้" และ พรรคการเมืองนี้ก็จะเติบโต -แตกหน่อ
ออกไปจากลำต้น เดียวกับ "พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย" และ 2 (สอง)
กิ่งใหญ่นี้ ( พรรคฯ และ พธม. ) ซึ่งเติบโตจาก "ลำต้นเดียวกัน"
ควรต้องมีความสัมพันธ์ที่เหมาะสม เพื่อให้กิ่งใหญ่ไ้ด้
ทำหน้าของตนเองอย่างสอดประสานกันอย่างกลมกลืน / เื้กื้อหนุนกัน /
และเป็นอิสระ ( ในรายละเอียดของการจัดโครงสร้าง /
ความสัมพันธ์ของกิ่งใหญ่ทั้งสองนี้ จะต้องคิด /สรุปกันต่อไป)

สรุป แล้ว "ผมเห็นด้วยกับการตั้งพรรคฯ ที่จะต้องทำภาระกิจ
/หน้าที่ของพรรคการเมือง ที่เป็นของประชาชน
-ทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน" โดยเป็นกิ่งใหญ่ เติบโตมาจาก
ลำต้นเดียวกัน ที่กิ่งใหญ่อีกกิ่งคือ พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย-
พธม "
กิ่งใหญ่ คือ พรรคฯ และ พธม. เติบโตจากลำต้นเดียวกัน

++
นี่แหละครับ คือสิ่งที่เราต้องการ การระดมสมอง ระดมความคิด
จากบุคคลากรที่มีความคิดดีๆมาช่วยกัน คิดให้รอบด้าน คิด
ให้ถี่ถ้วนแปดตลบก่อนตัดสินใจลุยโดยไม่ชักช้าลังเล
เราเชื่อว่าคนที่คิดดี ย่อมทำดี และต้องสำเร็จด้วยดี
ดีบุก
++
ขบวนพันธมิตรควรเดินเข้าสภาตามรัฐธรรมนูญ หรือเข้าสู่การเมืองในสภาอย่างไร

1. ต้องคงความเป็น"อิสระ" ของขบวนการพันธมิตร
เพื่อทำพันธมิตรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไป
ให้ดำรงอยู่ในฐานะ "การเมืองภาคประชาชน" ซึ่งต้องเป็นคนละส่วนกับ พรรคการเมือง
และให้การสนับสนุน "ทุกพรรคการเมือง" ที่มีแนวทางที่ถูกต้องในการนำพาชาติไทย
คัดค้านการโกงกิน หรือทำลายชาติ ของ พรรคการเมือง, กลุ่มการเมือง,
ข้าราชการ, หรือ กลุ่มธุรกิจ

ต้องประกาศและทำการจัดตั้งสมาชิก พันธมิตรฯ อย่างเป็นระบบ
เปลี่ยนองค์กรให้เป็นการจัดตั้งที่มีระบบ
และมีคณะกรรมการกลางเป็นแกนนำ ซึ่งกรรมการกลาง พันธมิตรฯ
ต้องไม่สังกัดพรรวคการเมืองใดๆ

และให้อิสระ แก่สมาชิกที่จะไปช่วยหรือเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดตาม
"อุดมการณ์หลัก" ของ พันธมิตรฯ
ขณะเดียวกันเร่งให้การศึกษาว่า "การเมืองภาคประชาชน" เป็นอย่างไร
มีความสำคัญในการตรวจสอบการเมืองในสภาอย่างไร
ต้องตรวจสอบทุกพรรค แม้แต่พรรคที่ พันธมิตรฯ ได้สนับสนุนในการเลือกตั้ง

ขบวนการพันธมิตรฯ จะต้องแยกจาก "การเมือง ภาครัฐสภา" ซึ่งจะเป็นรัฐบาล บริหารราชการ

และต้องเร่งประสานสร้าง หาแนวร่วมเพิ่ม

2. ให้การสนับสนุน พี่น้องพันธมิตรฯ ที่มีความประสงค์ จะเข้าสู่สภา
และไม่อยากสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ตั้งพรรคการเมือง ไม่ใช่พรรคเดียว
แต่ "อย่างน้อย" ต้องมี 2 พรรค และ ทั้งสองพรรค หรือมากกว่านั้น ต้องประสานกัน
ไม่ก่อให้เกิดสภาพ "แข่งกันเอง" แย่งเสียงกันเอง ในพื้นที่เดียวกัน

และในสถานการ ที่ระบบอบทักษินกำลังฟื้นฟู ต้องไม่แข่งกับแนวร่วมจนกลายเป็น
ดังนิทาน สอนเด็กเรื่อง ตาอินตีกะตานา ตาอยู่เผด็จการทักษิน เอาไปกิน

ทำไม ต้องมี อย่างน้อย 2 พรรค
เพราะ กรรมการพรรค มีสิทธิ "ทำผิดโดยไม่เจตนาได้" หรือ "ถูกวางยาได้"
แล้วทำให้ ถูกยุบพรรคได้

3. ให้เกียตริพรรคประชาธิปัตย์ ว่าเป็นแนวร่วมที่สำคัญ
อย่าให้ความขัดแย้ง
ความแตกต่างบางส่วน
หรือ "การให้ร้ายแก่พันธมิตร จาก แกนนำของพรรคประชาธิปปัตย์หลายคน"

เป็นการเหมารวมว่า สมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ คือผู้จ้องทำลาย พันธมิตรฯ

"แยกแยะให้ออก" ว่า พรรคประชาธิปปัตย์ คือแนวร่วมที่แท้จริง และ เป็นพรรคมวลชน

และต้องชี้แจงด้วยว่า พันธมิตรฯ คือ ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปปัตย์
และจะช่วยสร้างพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นพรรคที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

เพราะที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ของสมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปปัตย์
เป็นผู้ที่สนับสนุนและเป็นสมาชิกของพันธมิตรฯด้วย
คุณอภิสิทธิ (นายกคนปัจจุบัน) เข้าไปดูแล พี่น้องพันธมิตร
ที่ถูกตำรวจบุกสลายการชุมนุม ในครั้งนั้น
โดยไม่กลัวอันตรายใดๆ หรือ ผลร้ายที่จะเกิดแก่คุณอภิสิทธิเอง

ผู้นำพันธมิตรที่เป็น สส. พรรคประชาธิปปัตย์ ก็มี

ผู้สนับสนุนพันมิตรฯ
จะต้องแบ่งกำลังเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
เพื่อเข้าไปเพิ่มคนดีในพรรคประชาธิปัตย์
เข้าไปสนับสนุนคนดีในพรรคประชาธิปปัตย์ "ให้มีอำนาจเหนือคนไม่ดีในพรรคประชาธิปัตย์"

พร้อมกับที่ ช่วยสร้าง พรรคการเมืองอื่น ในข้อที่ 2

4. ตั้งเป้าหมายในการเข้าร่วมการเมืองในสภา "ในช่วงนี้" ให้ชัดเจน คือ
4.1 ร่วมสนับสนุนให้ "ผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว ระบอบเผด็จการทักษิน
ต้องไม่ชนะการเลือกตั้งมากพอ ที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีก"
4.2 การรนณรงค์จัดตั้งประชาชนเพื่อการเมืองในสภา ต้องใช้ท่าที ทีถูกต้อง
คือ แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ไม่ไล่แนวร่วม ให้ไปเป็นศัตรู
4.3 พื้นที่ที่จะต้องทุ่มเทในการหาเสียงเลือกตั้ง ทั้งกำลังคนและทรัพยากร
คือพื้นที่ ที่ยังอยู่ใน"อิธิพลของพรรคทักษิน"

สุดท้ายหวังว่า แกนนำ และสมาชิก พันธมิตรฯ จะเลือก แยกแยะได้ ว่า
ใครคือศัตรู ทีแข็งที่สุด ที่ต้องรบให้ชนะก่อน
ใครคือศัตรูที่ต้องคบ "เป็นแนวร่วมรบก่อน" หรืออย่างน้อย "พักรบไว้ก่อน"
ใคร คือแนวร่วม ซึ่งจะต้องมีความคิดเห็นและการกระทำ
ที่ไม่มีวันที่จะเหมือนเราได้ แต่เป้าหมายการต่อสู้หลัก
ต่อต้านระบอบทักษินเหมือนกัน
เพราะแม้แต่ใน พันธมิตรฯ เอง ก็ไม่มีวัน ที่จะให้ทุกกลุ่ม เห็นและกระทำ
เหมือนกันหมด
อนุรักษ์

++
ผมเห็นด้วยกับคุณบรรจงเต็มที่ การเมืองใหม่ ไม่ได้มีเป้าหมายที่อำนาจรัฐ
ในทัศนะของผม การเมืองใหม่ คือ เอาประเทศไทยของเราคืนมา

คน ชั่วยังครองเมืองมันมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า
คนไทยที่โง่เขลาขลาดกลัวยอมสยบกับความชั่วเพื่อเอาชีวิตรอด ก็มีไม่น้อย
คนด้อยโอกาสยังมีมากมาย
คนที่สบายแล้วไม่เหลียวแลคนอื่นเพราะหรือกลัวเดือดร้อนก็มีไม่น้อย
พรรคการเมืองใหม่ พันธมิตร เอเอสทีสี จะเป็น สามประสานฝ่ายธรรมะ
ขับเคลื่อนในหลายส่วนหลายพื้นที่ แยกกันเดินรวมกันตี หนุนเนื่องสอดประสาน
เป็นที่พึ่งของประชาชนและผู้ด้อยโอกาส ขยายฐานมวลชน
ปลุกคนไทยที่เหลือให้กล้าและแกร่ง
เมื่อนั้นจึงจะเอาประเทศไทยของเราคืนมาได้สำเร็จ ประชาชนจะมีสิทธิเสรี
สันติจะครองเมือง
oldbot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น