++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คนมศวชี้ ความสำเร็จปรัชญาพอเพียงอยู่ที่ชุมชน– ภาคี ไม่ใช่อยู่ที่รัฐบาล

คนมศวชี้ ความสำเร็จปรัชญาพอเพียงอยู่ที่ชุมชน– ภาคี ไม่ใช่อยู่ที่รัฐบาล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ผศ.อำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายจัดการความรู้เพื่อสังคมและรักษาการคณบดีวิทยาลัย โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่ดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้ฐานคิดปรัชญาเศรษฐกิจเพียง กล่าวถึงโครงการชุมชนพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลประกาศว่าดำเนินโครงการนี้เป็นนโยบายและได้ทำการ เปิดโครงการชุมชนพอเพียงไปเมื่อเร็วๆ นี้ว่า
      
       โดยหลักการที่รัฐบาลประกาศว่าจะสนับสนุนให้สังคมไทยเกิดชุมชนพอเพียง นั้นเป็นเรื่องที่ดี ที่ผ่านมาเราพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการ แต่ขาดการเน้นภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมรวมไปถึงการสนับสนุนในด้านงบประมาณ มาถึงตอนนี้รัฐบาลประกาศว่าจะสนับสนุนอย่างจริงจังอีกทั้งยังมีการลงพื้นที่ เพื่อดูต้นแบบชุมชนพอเพียงที่ประสบความสำเร็จ และพยายามจะหยิบชุมชนที่ประสบความสำเร็จมาเป็นตัวอย่าง
      
       อย่างเช่นการเกิดโพธิวิชชาลัย จ.สระแก้ว ซึ่งเป็นวิทยาลัยทางเลือกใหม่ที่มีปรัชญาฐานคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อรัฐบาลเห็นความร่วมมือในการทำงานที่ยึดหลักเบญจภาคี อาศัยการทำงานร่วมมือกันในภาคส่วนทั้ง 5 ภาคส่วนคือ ราชการ วิชาการ ประชาชน ธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยขึ้นมา
      
       เมื่อรัฐบาลเห็นความสำเร็จและเป็นไปได้ ก็พยายามจะให้เกิดการทำงานในลักษณะเบญจภาคีขึ้นมา โดยหวังจะให้มีความสำเร็จทั่วทั้งประเทศ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าภาคีทุกภาคส่วนในจ.สระแก้วเด่นดีกว่าภาคีจังหวัดอื่น แต่จ.สระแก้วมีความสามารถในการร้อยเรียง หลอมรวมการทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ที่คือหัวใจสำคัญและเป็นฐานคิดหลักในการร่วมกันขับเคลื่อนปรัชญาแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงให้สำเร็จและเห็นเป็นรูปธรรม
       ที่ผ่านมาจุดอ่อนของการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาพอเพียงคือแยกกันทำ การแยกกันทำแบบไม่ได้ร่วมแรงร่วมใจทำให้เกิดความอ่อนแอ พลังในการขับเคลื่อนไม่เกิด
      
       “ผมคิดว่าการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำงานในลักษณะเบญจภาคีนั้น มีจุดมุ่งหมายต้องการให้เกิดความสามัคคี ความร่วมมือขององค์กรต่างๆ ถือเป็นการพลิกมิติการทำงานแนวใหม่ โดยมีการนำภาคีต่างมารวมพลังในการทำงาน ซึ่งแต่ละจังหวัดไม่จำเป็นต้องทำงานหรือขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาพอเพียงอย่าง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งทำงานในรูปแบบเบญจภาคี เพราะแต่ละจังหวัดมีเอกลักษณ์ มีความหลากหลาย บางจังหวัดอาจทำงานโดยอาศัยหลักคิดแบบไตรภาคี หรือจตุภาคี แต่ละจังหวัดจะรู้ดีว่าควรจะดึงภาคีไหนบ้างเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อให้งาน สำเร็จได้ บางพื้นที่จำเป็นต้องดึงภาคีความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือาจจะดึงภาคีพระสงฆ์เข้ามาร่วมทำงาน
      
       ผมคิดว่าการขับเคลื่อนแนวคิดปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรม อย่างยั่งยืนนั้น แต่ละพื้นที่ต้องดูความเหมาะสมของตัวเองเป็นหลัก และลักษณะการทำงานแบบภาคีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบใดแบบหนึ่งที่ตายตัว ”
      
       ผศ.อำนาจ กล่าวอีกว่า มีหลายภาคีห่วงอยากเห็นรัฐบาลเอาจริงเอาจัง และไม่ใช่การประกาศแต่เพียงลมปากเท่านั้น และคิดว่าความต่อเนื่องในการทำงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ต้องไม่หวังแต่รัฐบาลเพียงอย่างเดียว เพราะอย่าลืมว่ารัฐบาลเข้ามาทำงาน วันหนึ่งเมื่อถึงเวลาก็ต้องออกไป เวลาที่รัฐบาลจะอยู่หรือจะไปสั้นยาวไม่เท่ากัน การจะหวังแต่รัฐบาลเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
      
       อีกทั้งบางรัฐบาลอาจสนับสนุนบางรัฐบาลก็ไม่สนับสนุน ในเรื่องความยั่งยืนจึงต้องทำงานผ่านภาคีต่างๆ ให้มากที่สุด ส่วนรัฐบาลเองก็ต้องปรับวิธีคิดใหม่ อย่ามองแต่ว่าแนวคิดหรือนโยบายของตัวเอง และหากไม่ใช่แนวคิดหรือนโยบายของตัวเองก็ไม่สนับสนุน หากแต่รัฐบาลไม่ว่าชุดไหนต้องทำก็คือ ให้ความสำคัญหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมผลักดันโดยปราศจากอคติ และเล็งเป้าหมายหลักไว้ที่ประชาชน
      
       หากรัฐบาลไม่ว่าชุดไหนทำได้เช่นนี้จะทำให้หลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง เข้มแข็ง ต่อเนื่องและเข้าถึงประชาชน การที่รัฐบาลหรือพรรคการเมืองทำงานโดยเอาเป้าหมายประชาชนเป็นหลัก โดยไม่มีอคติจะทำให้พรรคการเมืองหรือรับบาลชุดนั้นๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาด้วย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000035505

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น