++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

"รู้ลึก รู้จริง" เคล็ด(ไม่ลับ) สำหรับเตรียมตัวเข้ามหา'ลัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

เมื่อวันที่ 1 เม.ย.(วานนี้) Life On Campus มีโอกาสได้ร่วมงาน “โครงการร้อยกิจกรรมวันหนังสือเด็กแห่งชาติ” ณ อุทยานแห่งการเรียนรู้ TK Park ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมจาก นิตยสาร Mother& Care ไปรษณีย์ไทย มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก มูลนิธิพระดาบส และศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เยาวชน ตั้งแต่รุ่นเยาว์จากรั้วโรงเรียนถึงมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้ เทคนิคการอ่านหนังสือ ตั้งแต่หนังสือนิทานไปจนถึงการเตรียมตัวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
      
       ดร.สายสุนี จุติกุล ที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวว่า การพัฒนาเด็ก ต้องเริ่มตั้งแต่ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการอ่าน ต้องให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอย่างถูกต้อง เพราะภาษาคือชาติ และถ้าคนไทย เด็กไทยไม่สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ต่อไปคงไม่มีชาติไทย ดังนั้น การอ่าน เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กไทยพูดภาษาไทยได้ และเป็นการสร้างชาติเพื่อไปสร้างคน เช่นเดียวกับการสร้างตึก ฐานรากต้องแข็งแรก ยิ่งถ้าตึกสูงเท่าไร ฐานรากต้องลึกและเข้มแข็ง
      
       " ในการสร้างเด็กไทยให้เข้มแข็ง และรักการอ่านนั้น พ่อแม่ครูบาอาจารย์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยปลูกฝัง สร้างฐานรากลึกไปในจิตสำนึกของเด็ก อีกทั้งในส่วนของรัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน และปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กรักการอ่านอย่างจริงจัง เช่น ศธ.ต้องสอนให้เด็กคิดเป็น โดยต้องรู้ว่าคิดเป็นคืออะไร ไม่ใช่สอนเพียงอย่างเดียว เพราะการคิดเป็นนั้นคือการรู้ข้อมูล รู้จักแสวงหาข้อมูลมาประกอบแล้วพิจารณา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่สอนให้ฟังแล้วเชื่ออย่างที่ผ่านมา ส่วนกระทรวงสังคมและพัฒนามั่นคงของมนุษย์ ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าการสร้างมนุษย์ให้มั่นคงควรทำอย่างไร ซึ่งทุกๆ กระทรวงต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง”
      
       อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการอ่านที่ดีนั้น หนังสือก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ และเพิ่มเติมประสบการณ์ต่างๆ พ่อแม่ต้องรู้จักเลือกหนังสือดีๆให้รู้ได้อ่าน แต่เมื่อลูกโตขึ้น พ่อแม่ต้องปล่อยให้ลุกได้เลือกเอง แต่คอยชี้แนะ และอ่านเรียนรู้ไปพร้อมๆกับลูก ซึ่งหากพ่อแม่รู้จักลูก การสื่อสาร ความรัก ความอบอุ่นก็จะเข้าถึงกันได้ และปัญหาสังคมคงไม่เกิดขึ้น
      
       ด้าน นัทยา เพ็ชรวัฒนา ผู้จัดรายการเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM.101.5 แนะนำเทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ารั้วมหาวิทยาลัยว่า
      
       สิ่งสำคัญต่อนักเรียนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือแอดมิชชั่นส์ คือการอ่านที่ไม่ใช่แค่การทบทวนความรู้ม.ปลายทั้งหมด เพื่อนำไปสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่เป็นการอ่านสามารถสร้างเสริมประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่นักเรียนได้ ดังนั้นการอ่านต้องอ่านให้ลึกและรู้จริง
      
       “เรามีนวัตกรรมในการอ่านให้เป็นหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านแล้วอัดเสียงตัวเอง เสียงคนพิเศษ หรือจัดทำเป็นคลิปวีดีโอ เพื่อกลับมาเปิดฟังเวลาที่เราจะต้องทบทวนอีกรอบ และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นตัวก่อกวนทำให้ไม่ได้อ่านหนังสือ เช่น การอ่านหนังสือไปพร้อมๆกับการดูโทรทัศน์ หรือฟังเพลง เพราะคนเราไม่สามารถเรียนรู้ทุกอย่างไปพร้อมๆ กันได้
      
       บรรยากาศในการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ขอแนะนำการเปิดไฟ เพื่ออ่านหนังสือ อย่าเปิดหลายไฟดวง เพราะให้ปวดตาและเจ็บตา หรืออย่าเปิดไฟสลัว เพราะจะทำให้ง่วงนอน ควรเปิดอย่างพอดี ให้แสงสว่างจากไฟ ช่วยให้อ่านหนังสือได้อย่างสบาย ส่วนการทานขนมหรืออาหารระหว่างอ่านหนังสือนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิด เพราะหลังจากการทานอาหาร ร่างกายจะต้องเผาผลาญอาหาร ทำให้ง่วงนอนเช่นกัน จึงขอแนะนำให้จิบแค่น้ำอุ่นเท่านั้นแทน”
      
       สำหรับ น้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย ดีเจจากสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM.101.5 แนะนำว่าหลังจากทราบว่าการเป็นนักเรียนกำลังเปลี่ยนสถานะเป็นนักศึกษา ต้องเตรียมตัว
      
       “เราไม่ได้เปลี่ยนแค่ชุดแต่งกาย ไม่ได้เปลี่ยนแค่เข็มกลัดที่หน้าอก ไม่ได้เปลี่ยนแค่ที่ทรงผม แต่คุณต้องเปลี่ยนทุกอย่าง แม้กระทั่งการเรียนรู้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เพราะในระดับมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นเรื่องยาก ชีวิตอาจจะอิสระขึ้น ไม่มีใครต้องมาตามเราเหมือนอยู่โรงเรียน เราต้องเรียนรู้การปรับตัว ต้องไม่เป็นคนตื่นอิสระที่ได้รั้วมหาวิทยาลัย เหมือนกับการติดกระดุมเสื้อ เมื่อคุณติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อไปก็จะผิด รูปแบบทรงเสื้อก็จะเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับการเรียนมหาวิทยาลัย ถ้าคุณรู้จักการวางตัวที่ถูกต้อง รู้จักแบ่งเวลาการอ่านหนังสือ ดังนั้นเนื้อหาที่คุณเรียนจากมัธยมปลาย มีประโยชน์มาก เพราะมันจะพื้นฐานที่สำคัญในช่วงปีหนึ่ง
      
       บางสถาบัน บางมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาลงเรียนเอง ถ้าดังนั้นคุณต้องรู้ว่าจบปริญญาตรีนั้น จะต้องจบด้วยหลักสูตรกี่ตัว ลงเอกกี่ตัว บังคับกี่ตัว ถ้าลงไม่ครบก็จะไม่จบปี 4 พร้อมกับเพื่อน เราต้องเช็คตารางเรียนตลอด แม้จะมีแนวงาน แต่เราต้องรู้ตัวเอง อยู่โรงเรียนจะมีอาจารย์ดูแลให้ แต่อยู่มหาวิทยาลัย อาจารย์เป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น เพราะเขาจะมองว่า เราเป็นนักศึกษาที่พร้อมจะรับผิดชอบตัวเองได้แล้ว” นัทยา แนะนำทิ้งท้าย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000037422

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น