“ฤาษีดัดตน” สุดยอดภูมิปัญญาไทย กัญจนา ดีวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เล่าถึงที่มาที่ไปของฤาษีดัดตน ว่า ตามร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานยืนยัน พบว่า ท่าฤาษีดัดตนมีในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แต่เชื่อกันว่าท่าฤาษีดัดตนน่าจะมีมานานแล้ว โดยท่าทางต่างๆ ของฤาษีดัดตนเป็นการฝึกสมาธิบำเพ็ญเพียรของฤาษีในอดีต เมื่อฤาษีเกิดอาการเมื่อยขบก็ใช้วิธีการดัดตนบรรเทาอาการจุดปวดเมื่อยต่างๆ “บางตำราบอกว่าไทยคัดลอกมาจากท่าโยคะของอินเดีย แต่เมื่อศึกษาเปรียบเทียบแล้วก็พบว่าไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะท่าดัดตนของไทยไม่ใช่ท่าผาดโผนหรือฝืนร่างกายจนเกินไป เพราะส่วนใหญ่เป็นท่าดัดตามอิริยาบถของคนไทย ซึ่งของเดิมมีอยู่ทั้งหมด 80 ท่า อย่างไรก็ตาม ฤาษีดัดตน ถือว่า ใช้หลักการเดียวกับโยคะ นั่นคือ การฝึกสมาธิและฝึกฝนกายกับจิตไปพร้อมกัน”กัญจนาแจกแจง กัญจนา เล่าต่อว่า ทั้งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รวบรวบรวมตำรายาและปั้นท่าฤาษีดัดตนด้วยดินปิดด้วย ทอง แต่ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปฤาษีดัดตนท่าต่างๆ รวม 80 ท่า โดยหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก เรียกว่า “ชิน” เพื่อให้รูปปั้นมีความคงทน โดยนำไปตั้งไว้ที่วัดโพธิ์ และมีศิลาจารึกบรรยายสรรพคุณแต่ละท่าไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ 80 โคลง | ||||
“พระองค์ ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับประกาศนียบัตรถวายเป็นพระเกียรติจาก สถาบันการแพทย์ของยุโรป และได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันทางการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ชาวต่างชาติในสยามเรียกขานพระองค์ว่า The Prince Doctor ผลงานของพระองค์ถือเป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยแด่ชน รุ่นหลังที่มีการพัฒนาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน”มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลเพิ่มเติม **เคลื่อนไหว-ลมหายใจหัวใจดัดตน สำหรับท่าฤาษีดัดตนที่สถาบันการแพทย์แผนไทยนำมาใช้นั้น กัญจนา บอกว่า ในสมัยที่ พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เป็นผู้ผลักดันริเริ่มให้มีการรวบรวมองค์ความรู้ คัดเลือกกายบริหารแบบฤาษีดัดตน ซึ่งมีทั้งที่ทำได้ง่ายและยากปะปนกัน โดบมีการคัดเลือกหลายรอบจนในที่สุดก็เหลือเพียง 14 ท่า ซึ่งเป็นท่าที่คนทั่วไปสามารถทำได้ด้วยตนเอง รวมกับอีก 1 ท่า ที่รศ.นพ.กรุงไกร เจนพาณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกและข้อ ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว ศึกษาค้นคว้าการนวดไทยโดยนำมา เป็นท่านวดบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อใช้นวดถนอมสายตา รวมเป็น 15 ท่าพื้นฐาน “การ นวดใบหน้าถือเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจ การบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้หน้าตึง คลายความเครียด ส่วนอีก 14 ท่า ก็มีการเรียงลำดับจากง่ายทำแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่หักโหม ช่วยให้สามารถบริหารร่างกายอยากคลอบคุมทุกส่วน ตั้งแต่คอ ไหล่ แขน อก ท้อง เอว ไปจนถึงเท้า” | ||||
ส่วนหลักการหายใจนั้น จะต้องหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ หายใจเข้าก็สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆ เบ่งช่องท้องให้ท้องป่องออก อกขยาย ซี่โครง สองข้างจะขยายออกปอดขยายใหญ่มากขึ้น ยกไหล่ขึ้น จะเป็นการหายใจเข้าให้ลึกที่สุด กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ ในช่วงนี้ผนังช่องท้องจะยุบเล็กน้อยหน้าอกจะยืดเต็มที่ จากนั้นหายใจออก โดยค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ท้องจะยุบ หุบซี่โครงสองข้างเข้ามา แล้วลดไหล่ลง จะทำให้หายใจออกได้มากที่สุด การหายในในลักษณะนี้จะทำให้ชีพจรเต้นช้าลง ร่างกายได้รับประโยชน์จากการหายใจอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ การทำท่าฤาษีดัดตนจะต้องไปเกร็งหรือฝืนร่างกายด้วย กัญจนา อธิบายถึงประโยชน์ของการบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนว่า ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของแขนขาหรือข้อต่างๆ เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว ทำให้ร่างกายตื่นตัว แข็งแรง ทำให้โลหิตหมุนเวียนเลือดลมเดินสะดวก และเป็นการพักผ่อน ช่วยยกระดับจิตใจให้พ้นอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด ความง่วง ความท้อแท้ ความเครียด และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจหากมีการฝึกหายใจถูกต้อง อีกทั้งท่าต่างๆ ที่ใช้ยังมีสรรพคุณในการต่อต้านโรคภัย บำรุงรักษาสุขภาพให้มีชีวิตยืนยาว | ||||
กัญจนา อธิบายต้นเหตุของความปวดเมื่อย และจุดเริ่มของการบริหารร่างกายว่า การที่คนเราอยู่ในท่าทางเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น ลุกๆ นั่งๆ ทั้งวันสะพายกระเป๋าหนักๆ ทุกวัน ก็ทำให้สมดุลของร่างกายเสียไป ซึ่งเนื้อเยื้อ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ จะสะสมความเครียด ทำให้เกิดการปวดเมื่อย หรือที่คนโบราณมักพูดว่า เลือดลมเดินไม่สะดวก ซึ่งหากทิ้งไว้ก็อาจเกิดการอักเสบ เรื้อรัง ถึงเวลานั้นการใช้ท่าฤาษีดัดตนอาจไม่ทันกาลแล้วก็เป็นได้ นอกจากนี้อาจทำให้เสียบุคลิกภาพเดินตัวเอียง เป็นต้น ซึ่งก่อนที่จะบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน ควรพิจารณาอาการผิดปกติของตนเองโดยการส่องกระจกพิจารณาตนเองเพื่อให้รู้ ปัญหาและยังสามารถเปรียบเทียบผลก่อนและหลังบริหารร่างกายได้อีกด้วย สำหรับท่าแรก กัญจนา อธิบายว่า เป็นท่านวดบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า 7 ท่า ซึ่งจะช่วยถนอมสายตา ท่าที่ 2 จึงจะเป็นท่าเริ่มต้นของฤาษีดัดตน โดยประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตนแก้ลมข้อมือ และแก้ลมในลำลึงค์ เป็นท่าที่มีการเตรียมความพร้อมของร่างกายและฝึกลมหายใจเป็นการดึงดันใน ลักษณะพนมมือในท่าเทพพนม ท่านี้ได้ผลทั้ง 2 ทาง คือ เป็นการบริหารข้อมือ และเมื่อเพิ่มการขมิบก้นเป็นการบริหารบริเวณฝีเย็บหรืออวัยวะเพศ | ||||
ท่าที่ 6 ดัดตนแก้กล่อนและแก้เข่าขัด เป็นการบริหารเข่า หลัง เอว ซึ่งกล่อนหมายถึง ความเสื่อม ท่าที่ 7 ดัดตนแก้กล่อนปัตคาตและแก้เส้นมหาสนุกระงับ กร่อนปัตคาต หมายถึงภาวะขัดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ อันเนื่องมาจากความเสื่อมจากการใช้งานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเลือด ภายใน โดยท่านี้เป็นการบริหารส่วนอกและขา เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 6 ท่าที่ 8 ดัดตนแก้ลมในแขนเป็นการบริหารส่วนแขน ข้อมือ และนิ้วมือ ท่าที่ 9 ดัดตนดำรงกายอายุยืน เป็นการบริหารส่วนขา มีการยืดร่างกายตามแนวดิ่ง | ||||
| ||||
กัญจนา แนะด้วยว่า การบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนมีหลักการเหมือนกันกับการออกกำลังกาย คือ ไม่ควรใช้ท่าบริหารหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ หากจะให้เห็นผลควรออกกำลังกายทุกวันวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่เริ่มฤาษีดัดต้นใหม่ๆ สามารถเริ่มตั้งแต่ท่าเตรียมทำต่อเนื่องจนครบทั้ง 15 ท่า ท่าละ 5-10 ครั้ง ก็จะใช้เวลาเท่ากับ1ชั่วโมงพอดี จากนั้นเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสมบูรณแบบ ควรเดินหรือวิ่งเยาะๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจก็จะให้ผลดีต่อสุขภาพไม่น้อย ด้าน นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน 15 ท่า เผยแพร่ โดยคาดว่าการ์ตูนแอนิเมชันนี้จะเป็นการสร้างกระแสสนใจการออกกำลังกายให้กับ เด็กๆ และเยาวชนในอีกทางหนึ่ง |
Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552
ยืดเส้นยืดสายด้วย “ฤาษีดัดตน” ภูมิปัญญากายบริหารแบบไทยๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อยากให้เสนอเป็น-ภาพการ์ตูน ลงใน www.ด้วยคะ
ตอบลบ