++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

เจาะลึกทุน“จุฬาฯ-ชนบท” สร้างฝันเด็กชนบทสู่รั้วมหา’ลัย

เจาะลึกทุน“จุฬาฯ-ชนบท” สร้างฝันเด็กชนบทสู่รั้วมหา’ลัย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

5 ธันวาคม พ.ศ. 2524
      
       “ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล” อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้นได้มีแนวคิดที่จะให้มีการรับนัก เรียนยากจนจากชนบทเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จึงเสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะกรรมการโครงการการเรียนการสอนเพื่อชนบท ซึ่งในที่สุดก็มีมติจัดตั้ง “โครงการรับนักเรียนยากจนจากชนบท โดยให้ทุนอุดหนุนการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หรือ “หน่วยจุฬาฯ – ชนบท” ขึ้น
      
       นับจากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 28 ปีเต็มที่หน่วยจุฬาฯ-ชนบทได้ผลิตบัณฑิตออกมารับใช้ประเทศมากมาย
      
       รศ.ดร.มานพ ม่วงใหญ่ หัวหน้าหน่วยจุฬาฯ – ชนบท ให้ข้อมูลว่า โครงการทุนจุฬาฯ – ชนบท ได้ดำเนินโครงการมาเป็นเวลา 28 ปี ด้วยการยึดมั่นตามวัตถุประสงค์เดิมที่ว่า ต้องการกระจายโอกาสให้เยาวชนที่ด้อยโอกาสได้เข้ามาศึกษาในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยแบ่งเขตพื้นที่ในการรับนิสิตออกเป็น 4 ภูมิภาค คือภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคตะวันออก
      
       นอกจากนั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้วยังได้มีการขยายพื้นที่ลงไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อเปิดโอกาสเด็กนักเรียนปอเนาะเข้ามาศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับอุดม ศึกษาในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ อีกด้วย
      
       ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคณะที่เปิดรับนิสิตใหม่จากโครงการทุนจุฬาฯ – ชนบท เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ เป็นต้น
      
       “บาง คณะกำหนดเงื่อนไขพิเศษ เช่น นิสิตที่เข้าศึกษาต่อในคณะครุศาสตร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องเรียนจบจะต้องใช้ทุนเป็นเวลา 4 ปี ในชุมชนของตนเอง หรือนิสิตที่เข้าศึกษาเฉพาะคณะทันตแพทยศาสตร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นทันตแพทย์ในโครงการแม่ฟ้า หลวง โครงการพัฒนาดอยตุง ในเขตพื้นที่ทรงงาน อำเภอดอยตุง จังหวัดเชียงราย โดยผู้สมัครที่สามารถพูดภาษาชาวเขาได้จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ”
      
       รศ.ดร.มานพ อธิบายถึงเกณฑ์ในการคัดเลือกว่า สำหรับตรวจสอบคะแนนและประวัติของผู้สมัคร จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริการหน่วยจุฬาฯ – ชนบท ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะนำผลคะแนนการสอบวัดความรู้ต่างๆ มาพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลของผู้สมัครแต่ละราย และมอบหมายให้กรรมการตรวจสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะครอบครัวของผู้สมัคร พร้อมทั้งเดินทางไปตรวจสอบสภาพบ้านของผู้สมัครในต่างจังหวัด ซึ่งหลังจากดำเนินการเสร็จเรียบร้อย คณะกรรมการจะร่วมกันพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้งก่อนที่จะเรียกตัวผู้สมัครที่ เห็นควรมารายงานตัว เพื่อสอบสัมภาษณ์และเข้าอบรมพิเศษก่อนเข้าเรียนในภาคเรียนต่อไป
      
       ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับทุนการศึกษาประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ทุนประเภท ก จะได้รับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ได้รับค่าอาหารและค่าใช้จ่ายส่วนตัวประจำเดือน ๆ ละ 4,000 บาทปีละ 10 เดือน ค่าอุปกรณ์การศึกษา ภาคการศึกษาและ 1,500 บาท ปีละ 3,000 บาท , ค่าเครื่องแต่งกาย ภาคการศึกษาละ 1,000 บาท ปีละ 2,000 บาท และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหอพัก ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ส่วนทุนประเภท ข จะได้รับเช่นเดียวกับทุนประเภท ก ยกเว้นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายส่วนตัว
      
       “ช่วง เวลา 2 อาทิตย์ หลังจากที่นิสิตใหม่รายงานตัว เราจะทำการสอนและอบรมการเรียนการสอนในวิชาหลักๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ในรูปแบบของทฤษฏีและปฏิบัติ พร้อมทั้งส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์ สร้างความคุ้นเคยก่อนเข้าสู่ระบบการเรียนจริงในภาคการเรียนต่อไป”
      
       “ด้วย ความที่เด็กใหม่ทุกคนมาจากต่างหวัด ไม่มีเพื่อน ไม่มีครอบครัวตามมาดูแล บางคนถึงขนาดร้องไห้ ขอกลับบ้านก็มี เราจึงต้องดูแลพวกเขาเป็นพิเศษ สอนให้ปรับตัว รู้จักเพื่อนใหม่ สถาบันการศึกษาใหม่ โดยอาศัยรุ่นพี่ฯ ในแต่ละคณะเข้ามามีส่วนร่วมดูแลน้องๆ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ สอนเทคนิคการเรียน การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้”
      
       ทีนี้ ลองมาฟังความรู้สึกของบรรดานิสิตที่ได้รับทุน อย่าง ”สายรุ้ง สารทลาชัย” นิสิตชั้นปี 1 คณะเภสัชศาสตร์ หนึ่งในผู้ได้รับทุนจุฬา-ชนบท รุ่นที่ 27 จากจังหวัดตราด เอ่ยถึงโอกาสที่ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้วยทุนจุฬาฯ-ชนบท " ตอนนั้นไม่รู้ว่าจะได้เรียนต่อหรือเปล่า เพราะฐานะทางบ้านที่ยากจน ค่าใช้จ่ายของครอบครัวต้องส่งให้พี่อีกสองคนที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย จึงคิดหาทุนเรียนต่อด้วยตัวเอง เพราะไม่อยากเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ครอบครัว
      
       จากนั้นก็ได้พยายามหาทุนเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา เข้าห้องแนะแนว ถามอาจารย์บ้าง ถามเพื่อนบ้าง จนกระทั่งทราบถึงโครงการจุฬาฯ-ชนบท ที่เปิดโอกาสให้เด็กยากจน แต่เรียนดี มีความประพฤติดีเข้าเรียนในจุฬาฯ จึงศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม และในที่สุดก็ได้รับการคัดเลือก”
      
       ยิ่งรู้ว่าตัวเองว่ามาจากต่างจังหวัด ทำให้สายรุ้งยิ่งต้องใช้เวลาปรับตัวมากกว่าคนอื่น จนทำให้ผลการเรียนลดลง “จาก ที่เคยได้ถึง 3.9 ก็เหลือแค่ 2.9 ทำให้เครียดมากกว่าเดิม เพราะมัวแต่คิดว่า เด็กจุฬาฯ ต้องเก่ง ต้องดีทุกอย่าง จนกระทั่งได้รับคำแนะนำจากเพื่อน และรุ่นพี่จากโครงการจุฬา – ชนบทในการปรับตัวและการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย”
      
       เช่นเดียวกับ “ซัน” นรูซัน และนาซิง และ “นิ” นิเซ็ง นิเงาะ นิสิตชั้นปี 1 คณะจิตวิทยา ตัวแทนนิสิตชาวปอเนาะ จากภาคใต้ที่ได้รับโอกาสจากโครงการทุนจุฬา – ชนบท
      
       ซัน เล่าว่า พวกเราเป็นรุ่นแรกที่ทุนจุฬา - ชนบทให้โอกาสเด็กปอเนาะมาเรียนต่อในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " ซึ่งจริงๆ แล้วโอกาสที่จะได้เรียนต่อนั้นมีน้อยมาก เพราะสถานการณ์ในเขตจังหวัดภาคใต้ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ ทำให้เศรษฐกิจแย่ ราคายางพาราต่ำ จนทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น บางคนเรียนจบมัธยมปลายแล้ว ต้องออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว"
      
       ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ซัน และ นิ ตัดสินแบ่งค่าใช้จ่ายส่วนตัวระหว่างเดือนที่ได้จากทุนจุฬา – ชนบทส่งกลับไปให้ครอบครัว
      
       “ยอม รับว่ามาอยู่ที่นี้ แตกต่างจากที่บ้านมาก โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้เราต้องรู้จักประหยัด แต่ก็อดห่วงที่บ้านไม่ได้ ซึ่งในแต่ละเดือนจะได้ค่าขนม และค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 4,000 บาท จึงแบ่งเก็บไว้ใช้จ่าย 3,000 บาท และส่งให้ครอบครัวอีก 1,000 บาท แม้ว่าจะน้อย แต่ก็อยากช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ที่บ้าน ถึงจะไม่ได้ช่วยแม่ทำงาน แต่เราก็แบ่งค่าขนมให้น้องที่บ้านได้”
      
       นิ เสริมว่า ทางหน่วยจุฬาฯ-ชนบทไม่มีข้อห้ามใด เพราะค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นสิทธิ์ของนิสิต ซึ่งในแต่ละครั้ง อาจารย์จะเรียกเข้าพบเพื่อถามถึงผลการเรียนและปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย “ค่า ใช้จ่ายมีเพียงค่าขนม และค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพราะเรื่องหอพักไม่ต้องเสีย ทำให้เราใช้เงินแบบ หรือบางทีถึงกับมีเงินเก็บพอที่จะส่งให้กับที่บ้านได้อีก"
      
       ส่วน “อ้อ” กาญจนา บรรจง นิสิตชั้นปี 4 คณะเศรษฐศาสตร์ พี่ใหญ่จากหน่วยจุฬา-ชนบท รุ่นที่ 24 ผู้เป็นตัวอย่างให้กับรุ่นน้อง ด้วยการใช้ความรู้ ความสามารถ รับงานเสริมจากการสอนพิเศษเด็กมัธยมปลาย เพื่อช่วยแบ่งเบาะค่าใช้จ่ายให้ครอบครัว
      
       “นอก จากจะได้รับโอกาสดีๆ จากทุนจากหน่วยจุฬา – ชนบทแล้ว อาจารย์ทุกคนยังสอนให้เรารู้จักใช้ความรู้ ความสามารถที่มี ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือครอบครัว ช่วงแรกที่เข้ามา ต้องปรับตัว จัดตารางการใช้จ่าย บางครั้งต้องจ่ายเพิ่ม จึงตัดสินใจหางานพิเศษทำในช่วงปี 2 ทำให้มีรายได้ต่อเดือนเพิ่มมากขึ้น แถมยังส่งเงินให้ที่บ้านได้อีก”

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000026812

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น