++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

นักวิชาการชี้แยกสอนเด็กสายวิทย์-ศิลป์ปิดกั้นการเรียนรู้ ทำขาดโอกาสเข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    


       นัก วิชาการชี้แยกเด็กเรียนสายวิทย์-สายศิลป์ เป็นการปิดกั้นช่องทางการเรียนรู้ของเด็ก ขณะที่ระบบคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัยก็แบ่งเด็กออกเป็น 2 สายเช่นกัน ทำให้เด็กขาดโอกาสในการค้นหาวิชาที่ตนเองสนใจ และต้องฝืนเรียนวิชาที่ตนเองไม่ชอบ เร่งสร้าง Liberal Arts Colleges/Education เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้หลากหลาย แนะเด็กปี 1-2 ยังไม่ควรเลือกสาขาเอก โดยอาจารย์ที่สอนต้องเก่งและเชี่ยวชาญที่สุด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มากสุดก่อนเข้าสู่วิชาชีพที่ตนเองเลือกในสาขาหลัก


       เมื่อวันที่ 30 มี.ค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมระดมความคิด เรื่อง รูปแบบและแนวทางการพัฒนา Liberal Arts Colleges/Education ในสถาบันอุดมศึกษาไทย โดย ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ผอ.ศูนย์วิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในอดีตนั้นมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้มีการวางรากฐาน Liberal Arts Colleges/Education ที่เด็กจะเรียนรู้รอบด้าน ไม่เฉพาะวิชาชีพของตนเองเท่านั้นเอาไว้ แต่ระยะหลังคณะศิลปศาสตร์กลายเป็นคณะจับฉ่าย และเป็นหน่วยสอนภาษาเท่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ที่สำคัญจะต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เด็กไทยใฝ่รู้ และรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
      
       “การ แยกเด็กมัธยมศึกษาเรียนเป็นสายวิทย์ และสายศิลป์ เป็นการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก ขณะเดียวกัน การสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็แยกเด็กออกเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน ทำให้เด็กถูกปิดช่องทางที่จะได้เรียนรู้วิชาการใหม่ๆ และไม่ได้ค้นพบวิชาที่ตนเองชอบ จึงมีเด็กจำนวนมากที่ต้องฝืนเรียนอยู่ในสาขาวิชาที่ตนเองไม่ชอบ แม้ว่าระบบแอดมิชชันมีความพยายามที่จะพิจารณาคะแนนเพื่อคัดเลือกเด็กเข้า เรียนมหาวิทยาลัยจากส่วนต่างๆ แต่การเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาก็ยังอยู่บนพื้นฐานของการปิดกั้นอยู่นั่น เอง”ดร.เกษมกล่าว
      
       ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า Liberal Arts Colleges/Education มีความหมายกว้างกว่าคำว่าศิลปศาสตร์ แต่รวมความถึงวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หากมหาวิทยาลัยสร้างความเป็น Liberal Arts Colleges/Education ได้ บัณฑิตที่ศึกษาจบในวิชาชีพแล้วจะนำเอาความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับ วิชาชีพของตนเองได้ด้วย ซึ่งการสร้าง Liberal Arts Colleges/Education ขึ้นในมหาวิทยาลัยต้องมีความเข้าใจตรงกันและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการทั้ง มหาวิทยาลัย ไม่เฉพาะคณะ/สาขาเท่านั้น โดยนักศึกษาต้องสามารถเรียนข้ามคณะ หรือเข้าฟังการเรียนการสอนในคณะอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียน และในช่วงปี 1-2 นักศึกษายังไม่ต้องเลือกสาขาหลัก ซึ่งอาจารย์ที่สอนในระดับนี้ต้องเก่งและเชี่ยวชาญ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มากที่สุด และหลากหลายสาขามากที่สุด ก่อนจะตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาใด แม้ว่าการสร้าง Liberal Arts Colleges/Education ในประเทศไทยจะเกิดได้อยาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น
      
       คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานอนุกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร Liberal Arts Colleges/Education ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย เนื่องจากต้องการให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษามีความรู้มากกว่าเฉพาะวิชาชีพที่ตน เองศึกษาเท่านั้น แต่ต้องมีองค์ความรู้รอบด้านและหลากหลาย ซึ่งประเทศไทยในอดีตได้มีหลักสูตรที่เน้น Liberal Arts Colleges/Education แต่ระยะหลังสถาบันอุดมศึกษามุ่งสอนเฉพาะวิชาชีพมากเกินไป จึงทำให้เกิดการผิดเพี้ยนจากหลักของ Liberal Arts Colleges/Education ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร และรายวิชาที่จะสอนนักศึกษา ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหิดล จะนำร่องในการพัฒนาสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็น Liberal Arts Colleges/Education โดยตนจะรวบรวมประเด็นที่ได้จากการประชุมนำเสนอต่อคณะกรรมการสภาการศึกษา เพื่อกำหนดเป็นนโยบายด้านการศึกษาต่อไป
      
       “การ แยกสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาออกเป็นสายวิทย์ สายศิลป์ค่อนเป็นปัญหามากในการสร้างให้นักเรียนสนใจเรียนรู้อย่างรอบด้าน และถือเป็นความเข้าใจผิดของครูและนักเรียนว่า หากเลือกสายศิลป์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเรียนวิทยาศาสตร์ ขณะที่เด็กสายวิทยาศาสตร์ก็เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ เรื่องมนุษยศาสตร์ ประวัติสาสตร์ หรือศิลปะ ขณะที่เด็กควรจะได้เปิดกว้างในการเรียนรู้ เพื่อเลือกสิ่งที่ตนเองชอบได้เหมาะสม ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะต้องมีการหารือและทำความเข้าใจกันต่อไป”คุณหญิงสุมณฑากล่าว

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000035971

1 ความคิดเห็น: