++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

หลักสูตรนานาชาติ ต้องอินเตอร์จริงๆ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

      การเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีหลายทางเลือกให้นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือผู้มีวุฒิเทียบเท่า (ปวช. ฯลฯ) ได้เลือกสอบเข้าเรียน ทั้งสอบตรงเข้าคณะในมหาวิทยาลัยที่อยากเรียน สอบแอดมิชชัน ไม่ว่าจะเป็นการสอบแบบใด หนึ่งในนั้นจะมีหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งนักเรียนที่สนใจอยากที่จะเข้าเรียนในวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษนั้น
       บางรายยังสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าหากเข้าเรียนแล้วจะคุ้มค่ากับ เงินที่จ่ายไป เพราะการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นค่าหน่วยกิตแพงกว่าการเรียนการสอน ในหลักสูตรภาษาไทย
      
       ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (เอสไอไอที) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมา เป็นจำนวนมาก แต่โดยมากแล้วเป็นการเปิดสอนเพื่อหารายได้ให้กับหน่วยงาน
      
       “โดย มากแล้วเปิดหลักสูตรนานาชาติทั้งๆ ที่ยังไม่มีความพร้อมกันสักเท่าไหร่ ดูง่ายๆ บางที่มีหลักสูตรปกติซึ่งสอนเป็นภาษาไทยอยู่แล้วก็ไปเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ แล้วไปเรียกว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติ อย่างนี้ผมคิดว่าน่าจะเรียกเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษมากกว่าที่จะใช้คำว่าหลัก สูตรนานาชาติ เพราะว่าเพียงเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามาโดยใช้บุคลากรเดิมที่มีอยู่ มาทำงาน ผมคิดว่านั่นไม่ได้เป็นการให้บริการเต็มที่กับผู้เรียนนักในแง่ของการเรียน การสอน”
      
       ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังกล่าวอีกด้วยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) น่าจะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ และแยกแยะว่าการเรียนการสอนแบบใดถึงจะเรียกว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษ แบบใดถึงจะเรียกว่าหลักสูตรนานาชาติ
      
       “หลัก สูตรนานาชาติที่ดีในมุมของผมนี่ ต้องมีอาจารย์พร้อมสำหรับบริหารจัดการการเรียนการสอน ต้องมาดูแลตรงนี้โดยตรงเลย ไม่ใช่ว่าเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาไทยแล้วมาบริหารการเรียนการสอนหลัก สูตรนานาชาติ ทำเหมือนกับว่าหลักสูตรนานาชาติเป็นพาร์ตไทม์ ซึ่งหลายๆ แห่งที่สอนวิศวกรรมศาสตร์ก็ทำแบบนี้
      
       นี่ล่ะคือสาเหตุที่ผมคิดว่าทาง สกอ.น่าจะมีเกณฑ์ขึ้นมา แม้แต่หลักสูตรภาษาอังกฤษก็น่าจะมีเกณฑ์อะไรบ้างถึงจะยอมให้เปิดได้ ไม่ใช่คนอยากเปิดก็เปิดได้ทั้งหมดเลย หรือหลักสูตรนานาชาติ จะต่างกับหลักสูตรภาษาอังกฤษอย่างไรบ้างก็ต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมา เช่นอาจจะมีส่วนประกอบอย่างจำนวนนักศึกษาต่างชาติ จำนวนอาจารย์ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ คุณภาพอาจารย์ต่างชาติมีคุณภาพได้มาตรฐานอะไรบ้าง และส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งถ้าสกอ.ทำเป็นมาตรฐานขึ้นมา การเรียนการสอนก็จะมีมาตรฐานมากขึ้น ไม่ใช่ว่าใครอยากจะเปิดอยากจะเรียกว่าหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรอินเตอร์ฯ ก็เปิดกันตามที่อยากจะเปิด แล้วส่งผลต่อตัวเด็ก ต่อผู้ปกครองซึ่งก็ไม่รู้ว่าอะไรเหมาะกับเขามากที่สุด”
      
       เรื่องของภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเรียนนั้น ทุกสถาบันการศึกษาน่าจะมีหลักเหมือนกันในการคัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษา คือผู้ที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติหรือภาคภาษาอังกฤษควรมีพื้นฐานภาษา อังกฤษอยู่บ้าง
      
       “พื้น ฐานภาษาอังกฤษนี่เอาแค่เพียงพอหรือพอเพียงที่จะเข้าเรียนได้ก็พอแล้ว พอเพียงคือพอที่จะฟังได้รู้เรื่อง คือฟังแล้วเข้าใจ แม้ว่าจะเรียนโรงเรียนไทยมาก็ตามก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องพูดภาษาอังกฤษ ได้แบบคล่องเปรี๊ยะ เหมือนผู้ที่เรียนโรงเรียนนานาชาติมา แต่ก็ต้องพอฟังได้รู้เรื่อง และเมื่อเข้ามาเรียนแล้วต้องขยันฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลา 4 ปีที่เรียนก็สามารถที่จะจบการศึกษาได้และภาษาก็จะดีไปด้วย”
      
       ส่วนเรื่องค่าหน่วยกิตในการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติซึ่งสูงกว่า หลักสูตรภาษาไทยนั้น ดร.สวัสดิ์กล่าวว่า หากมีการจัดการเรียนการสอนดีอย่างแท้จริงแล้ว ในเรื่องของเนื้อหาทางวิชาการก็ไม่แตกต่างกัน และผู้เรียนก็มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า
      
       “สิ่ง ที่ได้แตกต่างกันระหว่างเรียนที่ต่างประเทศกับเรียนหลักสูตรนานาชาติใน ประเทศไทย น่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม แน่นอนว่าไปเรียนที่ต่างประเทศผู้เรียนอยู่กับสิ่งแวดล้อมแบบนั้นก็ได้เรียน รู้วัฒนธรรมแบบประเทศที่ไปเรียนอยู่ด้วย แต่เรื่องวิชาการก็อย่างที่บอกล่ะว่าถ้าเรียนที่ที่ได้มาตรฐานแล้วไม่ต่าง กัน ซึ่งอย่างตอนนี้ไปเรียนที่อเมริกาผมคิดว่าไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านต่อปี แต่ถ้าเรียนในเมืองไทยก็ประมาณ 2 – 3 แสนต่อปี ตรงนี้เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งในการเลือกว่าคุ้มไหมที่จะไปเรียนต่างประเทศ และได้เรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้กลับมาของผู้เรียน”
      
       ทั้งนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (เอสไอไอที) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นมา โดยในเนื้อหารายวิชาที่เปิดสอนนั้นมีการอิงกับหลักสูตรของต่างประเทศ ดังนั้นในเรื่องของเนื้อหาทางวิชาการแล้วเรียกว่าเท่าเทียมกัน และอาจารย์ผู้สอนจะต้องจบปริญญาเอกเท่านั้น
      
       “เราปรับหลักสูตรของเราทุกปี คือในแต่ละปีการศึกษาเราเห็นว่าอะไรเป็นจุดอ่อน และควรปรับปรุงให้ดีขึ้น เราก็ปรับปรุง เพราะเราเห็นว่าวิชาการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมันก้าวไปเร็วมาก ถ้าไม่ปรับปรุงทุกปีก็จะกลายเป็นล้าหลังไป”

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000028240

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น