++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

สาวหน้าใสเผยทริคจบป.ตรีวัยกระเตาะ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

คนส่วนใหญ่เมื่ออายุครบ 21 -22 ปีบริบูรณ์ส่วนมากก็จะกำลังอยู่ในช่วงวัยวันผ่านระดับอุดมศึกษา แต่การได้เรียนแบบสั่งสมองค์ความรู้ก่อนในช่วงมัธยมปลาย นั้นทำให้ฉีกกฎของจังหวะอายุที่เคยมี รางวัลแห่งความสำเร็จนั้นตอบแทนผู้เรียนด้วยขวบปีศึกษาที่เร็วขึ้นกว่าคน อื่น ซึ่งเราเรียกระบบนี้กันว่า “Pre – Degree” โดยมีความหมายว่าการเรียนแบบที่ผู้เรียนสามารถศึกษาพร้อมกับการเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและสะสมหน่วยกิตไว้ เมื่อเรียนจบแล้วหน่วยกิตที่สะสมไว้ ก็พร้อมสามารถเทียบโอนจนจบปริญญาตรีได้ก่อนโดยระบบดังกล่าวนั้นก็มียอดนัก เรียนที่เข้าสมัครไม่ต่ำกว่าหมื่นคนในทุกปี

และแม้จะมีนักเรียนม.ปลายให้ความสนใจการเรียนรูปแบบนี้อยู่มากก็ตาม แต่ทว่าคบจบออกไปก็หาได้มีจำนวนเท่ากับผู้สมัครซะทีเดียว ด้วยทั้งหลักสูตรที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด และระยะเวลาที่ต้องบริหารให้ลงตัว
แต่กระนั้นเอง ก็ต้องยกนิ้วให้กับความพยายามและอดทน ที่ทั้งขยันและเรียนรู้จักการบริหารเวลา อย่าง “วาว -ฐานิศรา วงศ์ทองสวรรค์” บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เจ้าของปริญญาบัตรพ่วงดีกรีเกียตินิยมอันดับ 2 ด้วยวัยเพียง 19 ปี

โดยเธอศึกษาจบจากโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ตอนจบม.6 เธอก็สามารถสะสมหน่วยกิตได้ 100 กว่าหน่วยกิตแล้วเก็บหน่วยกิตที่เหลือต่อจนจบครบหลักสูตร ส่วนตอนนี้ก็กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีอีกใบหนึ่ง ที่คณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จุฬาฯค่ะ โดยสาขาที่วาวเรียนอยู่ตอนนี้ก็เป็นสาขาวิชาภาษาอังกฤษวาวเล่าถึงความสนใจ เรียนแบบเก็บหน่วยกิตก่อนอย่าง “pre degree” ว่า

“ปัจจุบัน ทุกคนต้องไขว่คว้าทางการศึกษาและสะสมองค์ความรู้ให้มากที่สุด รูปแบบเรียนควบคู่ก็ทำให้เราสามารถจบได้เร็วและสามารถเรียนได้หลายอย่างแบบ ไม่เสียเวลา พอรู้ว่ามีหลักสูตรอย่างนี้เปิดที่รามคำแหงก็มองเห็นว่าเป็นโอกาสที่น่าคว้า ไว้เลย อีกอย่างมองถึงความพร้อมของตัวเองด้วยตอนนั้นก็ประมาณตัวเองไว้ว่าน่าจะไม่ ยากเกินความสามารถในระดับของนักเรียนชั้นม.ปลายเลยตัดสินใจเรียนเลย”

แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยคำแหงที่ก้าวเข้ามาแล้วก็คว้าความ สำเร็จออกไปกันยาก ยิ่งด้วยวาวเองเรียนควบคู่ไปทั้งสองทางอีก วาวบอกหลักของความสำเร็จงานนี้อยู่ที่การแบ่งเวลา

“ ในการลงทะเบียนวิชาจะแบ่งการสอบออกเป็นสองครั้ง โดยแบ่งวิชาที่ยากและง่ายไว้ด้วยกัน ไม่สอบครั้งเดียวทุกวิชา โชคดีที่ช่วงสอบของรามฯไม่ตรงกับที่โรงเรียนทำให้แบ่งเวลาอ่านหนังสือและ มาสอบได้ไม่ขาด โดยจะเริ่มอ่าน ท่องจำพร้อมทำความเข้าใจตัวบทกฎหมายมาเรื่อยๆ เมื่อสอบที่โรงเรียนเสร็จแล้วก็จะเริ่มอ่านเตรียมตัวสอบนิติฯ”

เมื่อแบ่งเวลาอย่างเป็นสัดส่วน การเรียนทั้งสองส่วนก็เต็มที่ตามไปด้วย ในรั้วรามคำแหงเองวาวจะเข้าฟังบรรยายายตลอดเวลาตามที่เปิดให้เข้ารับบรรยาย

" รามคำแหงจะมีระบบการเรียนการสอนแบบ ทู อินวัน เปิดโอกาสให้เข้าเรียน หรือ อ่านหนังสือก็ได้"วาวให้ข้อมูล

ส่วนในห้องเรียนที่โรงเรียนวาวบอกเธอตั้งใจเรียนให้มากที่สุด เพราะจะส่งผลให้ไม่ต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบแอดมินชั่นเพิ่มเติมมาก และหยิบมาใช้ ประโยชน์ในการสอบหลายๆด้าน

“ เวลาเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆของรามคำแหง อย่าง ภาษาไทย คณิตศาสตร์ก็เป็นความรู้ที่วานำมาบริหารใช้ในการสอบแอดมินชั่นของตัวเองได้”

แต่ส่วนการเรียนวิชาประจำสาขา คณะนิติศาสตร์ การเตรียมตัวสอบกฎหมายนั้น วาวยอมรับว่าเป็นการเรียนรู้ใหม่ ต้องอ่าน วิชาเฉพาะ และเน้นการเข้าใจตัวบทกฎหมายอยางถ่องแท้ก่อน ซึ่งนับเป็นหัวใจของการเรียนนิติศาสตร์ คือความเข้าใจ แล้วเราก็จะสามารถปรับตัวบทเข้ากับอุทาหรณ์ได้ทุกแบบ

“ เหมือนเวลาเราเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการเข้าใจสูตรคณิตศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์กับโจทย์ปัญหาต่างๆ โดยวาวจะอ่านตำราของม.ร.ซึ่งอ่านเข้าใจง่าย แล้วนำไปประกอบการฝึกทำแนวคำถาม-ธงคำตอบของทางคณะ ทำให้เราสามารถสอบได้อย่างตั้งใจ”

ทั้งนี้การยอมเหนื่อยกว่านักเรียนและนักศึกษาคนอื่นๆที่เลือกเรียนใน ทางเดียว บัณฑิต “pre-degree”เผยว่าตัวเธอเดินตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ " มองว่าจะศึกษาต่อในสาขานิติศาสตร์ให้สูงที่สุดก่อนที่อนาคตมุ่งจะทำงานด้าน วิชาชีพกฎหมายตั้งใจจะเอาความรู้ที่ได้มาไปประกอบอาชีพและใช้ประโยชน์จริง อย่างต้องการที่จะนำทักษะของภาษาอังกฤษเสริมประกอบควบคู่กันไปกับภาคกฎหมาย”

แม้ ความสำเร็จทางการเรียนที่ได้มาด้วยความพยายามจะปูพื้นฐานไปสุ่ความสำเร็จทาง สายงาน ในอนาคตก็จริงแต่ทว่าอย่างไรก็ตามทั้งหมดก็ต้องขึ้นอยู่กับความพอดี และคู่คุณธรรม บัณฑิตกล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น