++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศาลรัฐธรรมนูญตัวอย่างที่ดี

โดย ราวี เวียงพยัคฆ์     8 ธันวาคม 2551 18:03 น.
       พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา สถานการณ์การเมืองที่ค่อนข้างวิกฤตก็คลี่คลายลง
      
        พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบ าลหุ่น นายสมัคร สุนทรเวช ต่อทอดมาจนถึงรัฐบาลนอมินี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นเวลา 192 วัน ก็ยุติลง
      
        ขณะนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
      
        เป็นการช่วงชิงระหว่างพรรคเพื่อไทย ซึ่งกลายร่างมาจากพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์
      
        ระหว่างรอให้ฝุ่นจางหาย ขอพูดถึงการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมืองทั้ง 3 ก่อน เพราะยังมีประเด็นที่ค้างคาให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์อยู่
      
        ผู้คนในสังคมของเราส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะพวกที่อยู่กับระบอบทักษิณ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญทำกันอย่างเร่งรัด ไม่ให้ทั้ง 3 พรรคการเมืองที่ถูกร้องให้ยุบพรรคได้ให้พยานที่ทั้ง 3 พรรคเสนอต่อศาลเกือบ 200 รายยื่นให้การ
      
        แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดพูดถึงความยุติธรรมที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมา
      
        ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 ที่ถูกร้องเป็นเรื่องที่จะไม่เหนือความคาดหมายของผู้คนทั้งหลายทั้งปวงในประ เทศนี้ ทั้งที่เรียนกฎหมายและอ่านหนังสือภาษาไทยรู้เรื่อง
      
        พรรคพลังประชาชน รู้ว่าพรรคจะต้องถูกยุบ
      
        พรรคชาติไทย รู้ว่าพรรคจะต้องถูกยุบ
      
        และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก็รู้เช่นเดียวกันว่า จะต้องถูกยุบ
      
        เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า
      
        ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นกา รฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรม นูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.
      
        ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่งปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลยหรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้วมิได้ยับยั้ง หรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรมให้ถือว่า พรรคการเมืองนั้นกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68
      
        นายยงยุทธ ติยะไพรัช เป็นรองหัวหน้าพรรค ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งสอบสวนแล้วส่งให้อัยการ อัยการมีมติส่งศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง
      
        ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งตัดสินให้ใบแดง นายยงยุทธ ติยะไพรัช
      
        กรรมการการเลือกตั้งส่งให้อัยการเพื่อเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรค
      
        นายมณเฑียร สงฆ์ประชา เป็นรองเลขาธิการพรรคชาติไทย ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
      
        คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วให้ใบแดงนายมณเฑียร สงฆ์ประชา
      
        นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใบแดง
      
        ทั้งกรณีของพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ส่งมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ
      
        ผู้คนทั้งหลายทั้งปวงก็รู้ว่า ไม่มีทางที่จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น เพราะรัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ชัดเจนดังที่ได้ยกมาให้ดู
      
        แนวทางการต่อสู้ของทั้ง 3 พรรคก็คือ คิดแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ให้เป็นความผิดเฉพาะบุคคล
      
        กรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ไม่เกี่ยว
      
        ครั้นจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนซึ่งมีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำก็ชุมนุมคัดค้านอย่างเอาจริงเอาจัง จนกระทั่งแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ
      
        มีอีกทางหนึ่งก็คือ พยายามที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างล่าช้า อืดอาด โดยเสนอพยานเกือบ 200 ปาก
      
        ถ้าศาลกรุณาสอบพยานปากละเดือน สองเดือน รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ไม่เดือดร้อน
      
        อาจจะอยู่เกินอายุของสภาฯ ก็ได้
      
        แต่ศาลไม่เล่นด้วย
      
        และบอกให้รู้ว่า คดีนายยงยุทธแห่งพรรคพลังประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิจารณาและตัดสินแล้ว
      
        คดีของพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย กรรมการการเลือกตั้งก็สืบสวนสอบสวนจนเกลี้ยงแล้ว
      
        นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ไปแถลงศาลก็เพียงขอความเห็นอกเห็นใจ
      
        นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รักษาการหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ไปสะอึกสะอื้นให้ศาลเห็น
      
        แต่ก็ไม่มีทางที่จะพิจารณาเป็นอย่างอื่นไปได้
      
        ถ้าศาลพิจารณาเป็นอย่างอื่นสิครับ จะเป็นเรื่องแปลก หรือถ้าหากศาลประวิงเวลาทอดระยะในการพิจารณา 2 ปี 3 ปี สิครับ เป็นเรื่องแปลก
      
        เห็นคดีรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ไหมล่ะครับ
      
        คตส.พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ก็ไม่อาจจะมีมติได้ (อาจจะเพราะงานเยอะ) ส่งให้ ป.ป.ช.พิจารณา
      
        ถ้าหาก ป.ป.ช.พิจารณาเร็วกว่านี้ ก็ไม่ต้องเสียงบประมาณเลือกตั้งซ่อม
      
        ทุกวันนี้มีอยู่หลายคดีครับที่อยู่ในมือของตำรวจ อัยการ และป.ป.ช.
      
        หน่วยงานเหล่านี้ประวิงเวลา ประวิงคดีที่ทำให้บ้านเมืองของเราเสียความยุติธรรมไปเยอะ
      
        น่าจะเอาอย่างศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้บ้าง

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000144723

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น