++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ก่อนจะตัดสินใจเลือก “ปลื้ม”!

โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์     9 ธันวาคม 2551 19:52 น.
11 มกราคม 2552 ก็จะถึงวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การเลือกตั้งในแต่ละครั้งคนกรุงเทพฯ จะแสดงออกในการเลือกตั้งที่มีลักษณะเป็นความคิดพร้อมๆ กัน และมีลักษณะใช้เหตุผลในการเลือกตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง
      
       ที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ จะมีลักษณะการเทคะแนนไปทางใดทางหนึ่ง และมีเหตุผลรองรับอยู่ในจิตใจที่คล้ายคลึงกัน เช่น เลือก พลตรีจำลอง ศรีเมือง เพราะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต เลือกนายพิจิตต รัตตกุล เพราะให้โอกาสหลังจากพยายามมาหลายครั้ง เลือกนายสมัคร สุนทรเวช ให้เป็นรางวัลในบั้นปลายชีวิตทางการเมืองและเกลียดผู้สมัครคู่แข่งบางคน เลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะต้องการสั่งสอนรัฐบาลทักษิณ ฯลฯ
      
       แต่ในปีนี้ สถานการณ์ทางการเมืองมีความขัดแย้งสูงมาก และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งจะมีมติยุบพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล 3 พรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทั้งพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการเข้าสู่อำนาจรัฐด้วยการโกงการเลือกตั้ง ทำให้สถานการณ์การเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
      
        คนที่คิดว่าจะอยู่ “เป็นกลาง” ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายไหน “แทงกั๊ก” หรือคิดว่าจะได้แนวร่วมจากคนทั้งสองข้างอาจจะต้องพิจารณากันใหม่ เพราะคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เลือกข้างแล้ว
      
       นอกจากคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เลือกข้างแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะลงคะแนนคนที่มีโอกาสชนะมากที่สุดในข้างของตัวเองด้วยเป็นเ รื่องคุณสมบัติของคนคนนั้น!
      
       นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 อย่างชนิดที่เรียกว่า “ทิ้งขาด” ก็เพราะได้กระแสพรรคส่วนหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลหุ่นเชิด และจากคุณสมบัติส่วนตัวอีกประการหนึ่ง
      
       สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่กำลังจะมาถึง คนที่มีความคิดสนับสนุนหรือไม่ต่อต้านระบอบทักษิณ อีกทั้งมีแนวคิดอยู่ตรงกันข้ามกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีอยู่ 2 คนคือ 1. นายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทย และ 2. ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล (ปลื้ม) เป็นฝ่ายหนึ่งที่ต้องแย่งคะแนนจากฐานเสียงเดียวกัน
      
        อีกฝ่ายหนึ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณและไม่เป็นปฏิปักษ์กับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และ 2. นายแก้วสรร อติโพธิ ซึ่งคงต้องแย่งคะแนนกันเองจากกลุ่มฐานเสียงที่ใกล้เคียงกัน
      
        สำหรับฝ่ายหลัง แม้นายแก้วสรร อติโพธิ จะมีฐานเสียงของตัวเองจากการทำงานในการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในระบอบทั กษิณ ในฐานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แต่พอทันทีที่เลือกนายยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) เป็นทีมงานประชาสัมพันธ์ก็ได้ทำให้ฐานเสียงจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิป ไตยต้องเสียไปอย่างไม่ต้องสงสัย
      
        29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 แอ๊ด คาราบาว ไปเปิดคอนเสิร์ตที่โบนันซ่า เขาใหญ่ ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องการเมืองแบบเลือกข้างว่า การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้เพื่อนเขา 2 คน ที่ทำงานอยู่ไทยแอร์เอเชีย ต้องตกงาน อีกทั้งอยากให้หันหน้ามาเจรจากันแบบสันติวิธี เพราะบ้านเมืองบอบช้ำมามากแล้ว “แอ๊ด” ยังเยินยอว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนที่มาช่วยเหลือคนจน อุ้มชูเกษตรกร ในขณะที่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่มีใครทำ ฉะนั้นอย่าด่าแบบไร้เหตุผล ทั้งยังแดกดันอีกว่า คนที่มาชมคอนเสิร์ตเยอะกว่าไปม็อบพันธมิตรฯ เสียอีก
      
        ค ะแนนของ นายแก้วสรร อติโพธิ จึงจะต้องหายไปทั้งจากฝ่ายระบอบทักษิณ และฝ่ายตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณ คงเหลือแต่คะแนนความชื่นชอบส่วนบุคคลจริงๆ เท่านั้น ซึ่งคงจะไปตัดคะแนน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จากคนที่เคยเลือกอภิรักษ์ โกษะโยธินส่วนหนึ่ง
      
        ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบทักษิณและไม่เป็นปฏิปักษ์กับการต่อสู้ของพันธมิต รประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงต้องเทคะแนนให้กับคนที่มีโอกาสมากกว่า นั่นก็คือผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์
      
        แ ต่ต้องทำใจว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะไม่ได้ชนะขาดเหมือนกับนายอภิรักษ์ เพราะการจดจำได้และคุณสมบัติเฉพาะตัว ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ดูโดดเด่นน้อยกว่านายอภิรักษ์ และการเลือกตั้งคราวนี้เสียงแตกมากกว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551
      
       สำหรับค่ายที่ยืนสนับสนุนหรือไม่ต่อต้านระบอบทักษิณ และเป็นปฏิปักษ์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ดูเป็นที่รู้จักมากกว่า นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ไม่มีอะไรนอกจากภาพลักษณ์ความเป็นดาราซึ่งมาจากพรรคการเมืองที่เพิ่งถูกย ุบเพราะโกงการเลือกตั้ง
      
       เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เอแบคโพลล์ ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “โค้งแรกเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม. ใครนำใครตาม” พบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนต่อไปที่คนกรุงเทพฯ จะไปลงคะแนนให้นั้น
      
       อันดับแรก 37.0% ตั้งใจจะเลือก ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครอิสระ
      
       อันดับที่สอง 36.4% ตั้งใจจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์
      
       และอันดับที่สาม 17.3% ตั้งใจจะเลือกนายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทย
      
       9% ที่หายไปจากการเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ไปเลือกนายแก้วสรร อติโพธิ, เลือกคนอื่นๆ และยังไม่ตัดสินใจ
      
       ถ้าผลสำรวจครั้งนี้ถูกต้อง และยังมีสัดส่วนความคิดเห็นของประชาชนจากกลุ่มตัวอย่างระบุว่าอาจเปลี่ยนใจไ ด้อีกถึงร้อยละ 35.1 จึงย่อมต้องขอกล่าวถึง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ผู้ที่มีคะแนนนำในผลสำรวจ เพื่อให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้ใคร่ครวญ ทบทวน และตัดสินใจให้ดี
      
       ม. ล.ณัฏฐกรณ์ ได้แสดงความเห็นเป็นปรปักษ์ต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างชัดเจน และมีแนวคิดว่าถ้าตัวเองเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะไม่สนับสนุนรถสุขา หรือรถน้ำ และจะให้ทหารสลายผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลและในสนามบิน
      
       ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ไม่เคยสนใจว่า เหตุที่เขามาชุมนุมเพราะรัฐบาลขาดความชอบธรรมและมาจากการโกงการเลือกตั้ง และที่เขามาชุมนุมที่สนามบินก็เพราะถูกไล่เข่นฆ่าด้วยอาวุธสงครามและจำเป็นต ้องหยุดอำนาจรัฐบาลให้เร็วที่สุด
      
       ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ใส่ความผู้ชุมนุมว่า การปิดสนามบินคือการก่อการร้าย ทั้งๆ ที่การประท้วงด้วยการปิดสนามบินเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลกเป็นปกติ และสนามบินมาตรฐานทั่วโลกรวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิเขามีแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) ที่ต้องซ้อมกันทุกปี ไม่จำเป็นที่การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องสั่งปิดสนามบินเพราะเพียงแค่
      
       มีผู้ชุมนุมอยู่หน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งการประท้วงโดยกลุ่มแท็กซี่ ในบริเวณเดียวกันก่อนหน้านี้หลายครั้งสนามบินสุวรรณภูมิก็ไม่เคยสั่งปิดแต่ป ระการใด
      
       ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ต่างหากที่ไม่สนใจว่าคนที่ยิงระเบิดใส่ผู้ชุมนุมใจกลางพระนครรายวันจนมีผู้บ าดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากนั้นเป็นพวกก่อการร้าย ใช่หรือไม่?
      
       ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล คือตัวอย่างของคนหนุ่มที่ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง ไขว่คว้าหาชื่อเสียงในทุกวิถีทาง เป็นพิธีกรหลายช่อง เป็นนักร้อง เป็นนักแสดง ล้วนแล้วแต่มุ่งหวังชื่อเสียงทางลัด ชอบเป็นกระแสข่าวได้ทั้งทางบวกหรือลบเหมือนกับที่ดาราจำนวนไม่น้อยชอบทำกัน
      
       ประการสำคัญยิ่งกว่า การส่งเสริมให้สลายผู้ชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ที่กำลังทำหน้าที่ในการต่อสู้กับการทุจริต การกระทำผิดต่อจริยธรรม การโกงเลือกตั้ง และต่อสู้ให้กับพวกที่มาจาบจ้วงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ หากเลือกคนอย่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ไปเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่สนับสนุนการสลายการชุมนุม แน่ใจหรือว่ากรุงเทพมหานครจะไม่ลุกเป็นไฟ หรือลุกลามกลายเป็นจลาจล!
      
       ขอย้ำอีกที! เลือกปลื้มแล้ว แน่ใจหรือว่ากรุงเทพมหานครจะไม่ลุกเป็นไฟ หรือลุกลามกลายเป็นจลาจล!
      
       วุฒิภาวะแบบ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ แน่ใจหรือว่าจะไม่เกิดการประท้วงที่หนักยิ่งไปกว่าเดิม และแน่ใจแล้วหรือว่าจะไม่เกิดสงครามกลางเมือง?
      
       แน่ใจหรือว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นเมืองน่าอยู่ สะอาด เมื่อเราจะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่ส่งรถน้ำ รถสุขา ไปบริการให้กับผู้ชุมนุม เพราะมีความคิดส่วนตัวว่าไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ หรือไปตัดสินเอาเองว่าผู้ชุมนุมกลุ่มนั้นกลุ่มนี้กระทำด้วยชอบกฎหมายหรือไม่ ?
      
       กรุงเทพฯ จะสกปรก โสโครกมากขนาดไหน?
      
       ต ำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ควรจะต้องเป็นคนที่มีจิตเป็นสาธารณะ และมีจิตใจพร้อมบริการประชาชนโดยไม่เลือกฝ่ายในฐานะที่คนเหล่านั้นเป็นพลเมื องที่เป็นชาวกรุงเทพมหานคร มิใช่หรือ?
      
       เหนือสิ่งอื่นใด คนที่จะเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องไม่ดูถูกคนกรุงเทพฯ ว่า “โง่”
      
       ไม่ใช่ว่า เวลาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาชุมนุมก็หาว่าไม่เคารพในประชาธิปไตยเ สียงข้างมาก แต่พอคนกรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกวุฒิสภามาเป็น นางรสนา โตสิตระกูล ที่ไม่ถูกใจตัวเองก็กลับไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ และยังแสดงความเห็นเสมือนดูถูกว่าคนกรุงเทพฯ “โง่”
      
       ล องไปทบทวน คำแปลจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 ของ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนนี้
      
       รสนา ไม่ควรเป็นตัวแทนของนครที่เข้าใจคุณค่าของตลาดเสรี และลัทธิทุนนิยม เธอไม่ควรเป็นตัวแทนของนครที่พยายามจะเป็นศูนย์กลางการลงทุนของเอเชีย ถ้าจะมีที่ไหนที่คู่ควรให้เธอเป็นตัวแทน ผมนึกถึง เปียงยาง คาราคัส หรือฮาวานา ที่ซึ่งเธอจะได้เข้าพวกกับสาวกราอูล หรือแม้กระทั่ง Sucre หรือ Lapaz (เมืองหลวงของโบลิเวีย) ซึ่งเธอจะได้สวมชุดพื้นเมืองเต้นรำกับ Evo Morales (ประธานาธิบดีโบลิเวีย)
      
       อย่างไรก็ตาม ผมยังมีความหวังกับคนกรุงเทพฯ ว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ผ ู้มีสิทธิลงคะแนนที่ “ฉลาด” และพลังเงียบที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร จะเลือกคนที่สนับสนุนความเติบโต และความก้าวหน้ามากกว่าคนที่นิยมความตกต่ำ และความชะงักงัน ผมยังหวังว่า คนกรุงเทพฯ จะเลือกผู้ที่มีความเข้าใจว่า การเป็นเอ็นจีโอปีกซ้ายที่ใช้วิธีกระจายรายได้ ด้วยการโค่นเสาหลักของระบบทุนนิยม ไม่มีวันที่จะนำผลประโยชน์ที่แท้จริงมาสู่ผู้บริโภคได้ การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า คนกรุงเทพฯ ต้องปรับวิธีคิดในเรื่องการเลือกตั้งอีกมาก
      
       การเลือกตั้งครั้งนี้ “คนกรุงเทพฯ” หรือ “ปลื้ม” ใครเป็นคนจะถูกสั่งสอน น่าสนใจจริงๆ!

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000145188


    
   
ความคิดเห็นที่ 39        คุณปลื้ม
ผมไม่ปลื้ม
ได้ข่าวว่าพ่อคุณก็ไม่ปลื้มคุณเหมือนกัน

ก็คงปลื้มยาก....แค่อยากทบทวนให้ฟังนิดหน่อย
ไม่ต้องไปถึงจิตสาธารณะหรือการเคารพสิทธิมนุษยชน
ผมว่าคนอย่างคุณไปไม่ถึงคำยากๆ พวกนั้น
เพราะคุณค่าหรืออุดมการณ์ของคุณมันแปร่งปร่า
เอาแค่คุณสมบัติที่คุณมี
จบเมืองนอก ปริญญาโท ....ใครๆ ก็จบกัน
ฐานะดี.....มีตังค์แค่นี้ คนอื่นก็มีเยอะแยะไป
ภาษาอังกฤษดี....เดี๋ยวนี้นักข่าวทั่วไปก็ภาษาอังกฤษดีทั้งนั้น
กล้าพูด กล้าคิด....คนยุคใหม่ทั่วไปก็เป็น แต่ต้องถามว่าพูดอะไร และคิดอะไรด้วย ไม่ใช่กล้าอย่างเดียว
หน้าตา.....แย่กว่าตัวประกอบหรือช่างไฟ
หน้าหม้อ.....แต่ไม่มีปัญญา
ชาติตะกูล....หางแถวเจ้า
สมอง.....เล็กเท่าเมดถั่ว ดูจากคำพูดก็ได้
ใจคอ....คับแคบเพราะวิสัยทัศน์ปิด ไม่เข้าใจสังคมพหุนิยมและวัฒนธรรมของสังคมไทย

ส รุปแล้ว หาคุณสมบัติที่ดีพอจะเป็นคนดียังไม่ได้เลย จะเป็นผู้ว่าที่ดี รับผิดชอบความเป็นอยู่คนกรุงเทพ และให้ภาพลักษณ์ที่สง่างามได้อย่างไร
ผมเอง ไม่ปลื้มว่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น