++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

3 ม.ดังนำทีมชิงชัย สุดยอด “กล้าใหม่..สร้างสรรค์ชุมชน”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ธันวาคม 2551 16:14 น.

จุฬา - แม่โจ้ - ม.อ. นำทีมเพื่อนพ้อง เข้ารอบชิง สุดยอด "กล้าใหม่..สร้างสรรค์ชุมชน” หนึ่งในกิจกรรม "กล้าใหม่..ใฝ่รู้" เน้นโครงการนำร่องพัฒนาชุมชน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมลงมือปฏิบัติให้เห็นผลจริง ก่อนชิงชนะ คว้าถ้วยถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 มกราคม 2552
       

      
       โครงการ “กล้าใหม่..ใฝ่รู้” จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการพัฒนาชุมชน จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทย นำเสนอโครงการที่หลากหลาย เน้นให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย การส่งเสริมงานหัตกรรมพื้นบ้าน การสร้างความผูกพันในชุมชน กระบวนการยุติธรรม การสร้างมูลค้าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น โครงการสิ่งแวดล้อม การสร้างนวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นการประยุกต์องค์ความรู้จากการศึกษามาสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน ์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน
      
       สำหรับกิจกรรมที่รับความสนใจมากที่สุดคือ โครงการ “กล้าใหม่..สร้างสรรค์ชุมชน” ที่รวบรวมเหล่านิสิต นักศึกษา 19 ทีม จาก 330 ทีม และคัดเหลือ 3 ทีมสุดท้าย เพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละทีมต้องนำเสนอโครงการที่สามารถนำมาลงมือปฏิบัติให้เห็นผล จริง เน้นการช่วยเหลือชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
      
       ไม่ว่าจะเป็น “อนุรักษ์รุ่นจิ๋ว สร้างอาชีพด้วยวิถีชาวมอญ” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เน้นส่งเสริมชุมชน สร้างรายได้ ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง และให้ความรู้ด้านการหาตลาดและบริหารจัดการเกี่ยวกับของจิ๋ว
      
       “จากเมล็ดสู่ต้นกล้า” จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ นครปฐม เน้นเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ให้เยาวชนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน อนุรักษ์ธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเป็นผู้ถ่ายทอดสู่ชุมชม
      
       “Diary ชุมชน สร้างสรรค์ชุมชนเข็มแข็ง” จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิต และขนมธรรมเนียมประเพณีของชุมชนที่ปฏิบัติสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน เล่าเรื่องจากคนเถ้าคนแก่ในหมู่ ผ่านใบลาน ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
      
       ทั้งนี้ ถึงเวลาประกาศผล 3 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ โครงการ “กล้าใหม่..สร้างสรรค์ชุมชน” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ โครงการ “ศิลปะชุมชน” จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , โครงการ “แกงไตปลาแห้ง กลุ่มแม่บ้านชุมชนทุ่งรี” จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา และ โครงการ “ธนาคารขยะลดภาวะโลกร้อน เพื่อความยั่งยืนของชาวบ้านร้องกวาง" จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
      
       “น้ำมนต์” นวรัตน์ แววพลอยงาม คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนโครงการ“ศิลปะชุมชน” เอ่ยถึงที่มาของโครงการดังกล่าว
      
       “ พวกเราใช้ศิลปะเป็นกิจกรรมเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนในชุมชน และต้องการจัดระบบให้เกิดระเบียบในการจัดชุมชน โดยวิธีอันนุ่มนวลของศิลปะ ให้คนชุมชนเกิดความสุขและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนมากขึ้น"
      
       สำหรับรายละเอียดของโครงการ น้ำมนต์ เล่าว่า ยังใช้ศิลปะเข้ามาขับเคลื่อนเชื่อมโยงให้เกิดวัฒนธรรมเล็กๆ โดยรวมกลุ่มเด็กและเยาวชน "เ ราเตรียมจัดกิจกรรม 3 กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ชุมชน ภาพครอบครัว ภาพพิมพ์รอยนิ้วมือ เรียกความสนใจกับน้องๆกลับคืนมาจากสิ่งไม่ดีต่างๆ มาอยู่ในพื้นที่และกิจกรรมที่เราจัดขึ้น และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ให้หายไปจากชุมชน”
       

       ถัดมาที่ โครงการ “แกงไตปลาแห้ง กลุ่มแม่บ้านชุมชนทุ่งรี” จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตัวแทนทีมเผยทีเด็ด นำวัตถุภายในท้องถิ่น คือแกงไตปลามาเพิ่มมูลค่า โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย ด้วยการทำแห้งด้วยวิธีคั่ว เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่วยให้ชุมชนมีรายได้เสริมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งร่วมกันทำกิจกรรม ก่อให้เกิดความสามัคคี ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างความเข็มแข็งให้กับสังคม
      
       “ การผลิตและจัดจำหน่ายแกงไตปลาแห้ง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาหารปักษ์ใต้อันเลื่องชื่อ ให้มีรสชาติ สะอาด ปลอดภัย อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม คงทน และสวยงาม รวมทั้งได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จรากสำนัดงานคณะกรรมกรรมการอาหารและยา และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย โดยอาศัยแรงงานจากสมาชิกในชุมชน”
      
       ท้ายสุดที่โครงการ “ธนาคารขยะลดภาวะโลกร้อน เพื่อความยั่งยืนของชาวบ้านร้องกวาง” จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ “เมย์” วราภรณ์ ศรีนาคเอี้ยว” นักศึกษาคณะเทคโนโลยีชีวภาพ ตัวแทนทีม เผยว่า โครงการนี้ต้องการปลูกจิตสำนึกให้กับกลุ่มเยาวชนและประชาชนนำสิ่งของเหลือใช ้ ไม่เป็นที่ต้องการตามบ้านเรือนมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน
      
       “ ด้วยสาเหตุของขยะที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในแต่ละวัน เราจึงคิดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือสังคม อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น และทำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ที่สำคัญเรายังเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดปริมาณ ขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมธนาคารขยะรับฝากขยะทุกชนิด เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเงิน ส่วนขยะที่ชาวบ้านมาฝากก็จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  อีกทั้งเรายังส่งเสริมการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พร้อมด้วยก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะชุมชน และจัดอบรมการใช้ปุ๋ยหมักจากขยะเปียก”
       

       ด้าน องค์กร อาภากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารงานสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารโครงการ “กล้าใหม่..ใฝ่รู้” กล่าวว่า ธนาคารมีนโยบายในการพัฒนาชุมชนโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ พร้อมปลูกฝังให้เยาวชนไทยมีจิตใจที่ตระหนักรับผิดชอบต่อสังคม
      
       “ เราจัดกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นโครงการที่ธนาคารริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2549 ในโอกาสครบรอบ 100 ปี จะจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว เราจึงย้ำในวัตถุประสงค์เดิมที่ส่งเสริมให้เยาวชนทุกช่วงวัยได้แสดงออกซึ่งค วามรู้ ความสามารถ ศักยภาพการแสดงออกและนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นทีม ส่งเสริมให้ทำประโยชน์แก่สังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ซึ่งในแต่ละปีมีโรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทีมที่ชนะเลิศ จะมีการต่อยอดขยายผลต่อ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และสร้างเครือข่ายระหว่างเยาวชนด้วยกัน”

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9510000149301 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น