++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประเทศไทยของใคร: Thaksin Holding Group

ประเทศไทยของใคร:
ทักษิณโฮลดิ้งกรุ๊ป Thaksin Holding Group
วีระศักดิ์ นาทะสิริ

ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นบริษัทจำกัดในตลาดหลักทรัพย์ สภาผู้แทนก็คงเปรียบเสมือนเป็นตลาดหลักทรัพย์ ส่วนสมาชิกสภาของแต่ละพรรคก็คงเป็นหุ้นที่มีเจ้าของ(พรรคการเมือง)ถืออยู่ และถ้าคิดกันเล่นๆอย่างนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ก็คือ ใครที่ต้องการอำนาจในการบริหาร(ฮุบหรือยึด)กิจการบริษัทประเทศไทย คนผู้นั้นก็จะต้องพยายามที่จะเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัท หรืออย่างน้อยก็ควรซื้อให้ได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมด เพื่อที่จะได้มีอำนาจในการบริหารกิจการของบริษัทฯด้วยตนเอง หรือ โดยการแต่งตั้งผู้บริหารเข้าไปควบคุมดูแลกิจการของบริษัทนั้นแทนตน ในทำนองเดียวกันถ้าใครต้องการยึดครองประเทศไทยก็จำเป็นจะต้องมีสมาชิกสภาผู้ แทนจากพรรคต่างๆในสภาที่ให้การสนับสนุนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หรือยิ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งก็ยิ่งดี เพราะจะยิ่งทำให้มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งอาจรวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนและกลุ่มของตนไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหรือตามกระบวนการยุติธ รรม ระบบเสียงข้างมากในสภาเช่นนี้ทำให้เกิดระบบผูกขาดอำนาจ หรือระบบเผด็จการรัฐสภาในที่สุด
อย่างไรก็ดีแม้จะมีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ2550 เพื่อแก้ไขหรืออุดช่องโหว่ต่างๆของรัฐธรรมนูญ ฉบับ2540แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันการผูกขาดอำนาจหรือเผด็จการรัฐสภาหรือการกุมอำนาจเ บ็ดเสร็จทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ เหตุการณ์ที่กล่าวนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้(พ.ค. 2551)โดยพรรคพลังประชาชนซึ่งมีสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกมากที่สุดได้เป็นแกนน ำในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ พรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมา โดยมีเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ แต่เนื่องจากพรรคไทยรักไทยถูกตัดสินลงโทษให้ยุบพรรค จึงทำให้อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยถูกลงโทษห้ามลงเลือกตั้งและห้ามดำรง ตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและอดีตกรรมการพรรคจึงต้องอาศัยหรือใช้บุคคลที่ใกล ้ชิดกับตนหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน(ขอเรียกว่า ตัวแทนหรือผู้จัดการCEO)มาลงเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนตน ดังเช่นในกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช(คาดว่าได้รับการสนับสนุนจากอดีตนายกฯทักษิณ) ได้รับการติดต่อให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที ่เปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการCEOของบริษัทประเทศไทย นายชัย ชิดชอบ(บิดาของนายเนวิน ชิดชอบ)ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทน เป็นต้น
การใช้ตัวแทน(บุคคลที่มอบหมายหรือได้รับการสนับสนุนให้กระทำการอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน)ให้ลงเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนตน ได้ถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในขณะนี้เพื่อเป็นช่องทางที่จะทำ ให้นักการเมืองที่ได้รับโทษ(ให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี)ยังสามารถใช้อำนาจการเมืองผ่านตัวแทนของตน หรือยังคงได้รับประโยชน์ทาง
การเมืองจากการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆของตัวแทนของตน ตัวอย่างในกรณีนี้ก็คือ การที่ทั้งนายสมัคร สุนทรเวชและนายชัย ชิดชอบ ต่างออกมาแสดงการสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่สมาชิกสภาพรรคพลังประชาชนได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีข้อความระบ ุให้มีการยกเลิกคำสั่งต่างๆของคณะปฏิรูปการปกครองหรือคมช. ซึ่งหมายถึงการยกเลิกองค์กรอิสระต่างๆเช่น คตส. ปปช.
ศาลรัฐธรรมนูญ ฯ และรวมไปถึงคดีความต่างๆที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธร รม เป็นผลทำให้นักการเมืองและครอบครัวในคดีทุจริตต่างๆหลุดพ้นจากการถูกดำเนินค ดีกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อคดีต่างๆไม่ถูกนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลก็จะทำให้อดีตนายกฯทักษิณและครอบค รัวหลุดพ้นจากคดีทุจริตต่างๆไปด้วยโดยปริยาย จากพฤติกรรมดังกล่าวของนายสมัคร สุนทรเวส นายชัย ชิดชอบ และสมาชิกสภาพรรคพลังประชาชน จึงอนุมานได้ว่าในขณะนี้(พ.ค. 2551) บริษัทประเทศไทยได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมดูแลของอดีตนายกฯทักษิณแล้ว เช่นเดียวกับทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ดังแสดงในรูปที่ 1




















แสดงถึง ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการระหว่างประธานกลุ่มทักษิณโฮลดิ้งกับบุคคล หรือกลุ่ม บุคคล
แสดงถึง การควบคุมบังคับบัญชา รวมไปถึงการที่มีอิทธิพลต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคล
จากโครงสร้างในรูปที่ 1 จะเห็นว่านายสเวน โกรันอีริคสัน ผู้จัดการทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ก็มีสถานภาพเช่นเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีที่เปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการCEO บริษัทประเทศไทย ถ้านายสเวน โกรันอีริคสันปฏิบัติงานไม่ถูกใจ หรือผลการดำเนินงานของทีมฟุตบอลไม่บรรลุตามเป้าหมายก็อาจถูกปลด ในทำนองเดียวกันถ้านายสมัคร สุนทรเวชไม่เร่งรีบดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือไม่ทำประโยชน์ให้แก่ประธานกลุ่มทักษิณโฮลดิ้งก็อาจถูกปลด หรือถูกบีบให้ลาออกได้เช่นกัน นอกจากนี้ในโครงสร้างในรูปที่1ยังได้แสดงให้เห็นว่า ประธานกลุ่มทักษิณโฮลดิ้งสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อนายสมัคร สุนทรเวช(ผู้จัดการCEOหรือตัวแทนดังกล่าว)ได้โดยตรง หรือโดยผ่านนายชัย
ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประธานกลุ่มทักษิณโฮลดิ้งไม่จำเป็นต้องลงมาบริหารทีมฟุต บอล หรือบริษัทประเทศไทยด้วยตัวเอง แต่กลับใช้เวลาเดินทางไปสร้างภาพ และหาแนวร่วมในต่างประเทศเพราะเชื่อว่าจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเมืองต่ อตัวประธานกลุ่มทักษิณโฮลดิ้งในอนาคต
บทสรุป
แม้ว่าอดีตนายกฯทักษิณจะสามารถควบคุมฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปควบคุมฝ่ายตุลาการได้ เพราะระบบการควบคุมกลั่นกรองข้าราชการตุลาการค่อนข้างเข้มงวด ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการต่างๆที่จะทำให้สถาบันตุลาการไม่สามารถใช้อำนาจตุลา การที่อาจจะเป็นอันตรายต่ออดีตนายกฯทักษิณ และจากข้อมูลข่าวสารที่มีการเผยแพร่ทางหน้าหนังสือพิมพ์ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า ได้มีการใช้วิธีการต่างๆในการสกัดกั้นกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นข องคดี ซึ่งนิยมเรียกกันว่าจุดต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรมเพื่อมิให้น้ำ(คดีความต่า งๆ)ได้ไหลลงมาสู่ที่หมาย(ศาล) โดยเริ่มต้นตั้งแต่
1. การแก้กฎหมายซึ่งก็คือ การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อยุบเลิกองค์กรอิสระต่างๆและรวมทั้งการดำเนินคดีความต่ างๆซึ่งจะเป็นผลทำให้องค์กรอิสระต่างๆต้องยุติการดำเนินงานเพื่อส่งคดีต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของศาล
2. การเข้าไปควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่สอบสวนและจัดทำสำนวนคดีค วามต่างๆเพื่อยื่นฟ้องศาลซึ่งได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวอย่างในเรื่องนี้เช่น การดำเนินคดีความต่อกลุ่มนปก.ที่ไปทำลายทรัพย์สินที่หน้าบ้านประธานองคมนตรี และรวมไปถึงการขวางปาสิ่งของที่ทำให้ผู้ที่มาฟังการสัมมนาที่หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งปรากฎว่าไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
3. การเข้าไปควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดำเน ินการฟ้องร้องของรัฐซึ่งก็คือ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ(ปัจจุบ ันยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม)
อย่างไรก็ดีถ้าการดำเนินการสกัดกั้นกระบวนการยุติธรรมไม่บรรลุผลสำเร็จ คือไม่สามารถยุติกระบวนการดำเนินคดีต่างๆต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณได้ ก็จะทำให้อดีตนายกฯต้องขึ้นศาลและศูนย์เสียอำนาจหรืออิทธิพลในการควบคุมฝ่าย บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และในทางกลับกันอาจส่งผลดีให้ประเทศไทยของเราโดยเฉพาะระบบการเมืองและระบบสั งคมของเราสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศที่ยึดหลักธรรมาธิบาลและหลักนิติรั ฐในการบริหารประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ความขัดแย้งต่างๆในสังคมจะลดลง ความมีจริยธรรมและความเป็นระเบียบในสังคมจะกลับเข้ามาแทนที่ และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยจะไม่ตกไปอยู่ในมือของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ ่มหนึ่ง แต่ประเทศไทยจะกลับมาเป็นของเราประชาชนคนไทยทุกคนอย่างแท้จริง

฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿










วีระศักดิ์ นาทะสิริ | 07 มิถุนายน 2551 | 22:16:53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น