แนวคิด 70:30 ที่ให้น้ำหนักตัวแทนมาจากการคัดสรรหรือมาจากการสรรหาด้วยการแต่งตั้งนั้นเป็ นประชาธิปไตยครึ่งใบที่พยายามเอาชนะประชาธิปไตยแบบตัวแทนหรือประชาธิปไตยเลื อกตั้ง เนื่องจากอาจจะมองว่าโอกาสที่จะเอาชนะทุนผูกขาดเป็นไปได้ยากและปัญหาสองนครา ประชาธิปไตย ซึ่งไม่ว่าจะเลือกตั้งอย่างไรคนชนบทก็ยังคงเลือกพรรคฝ่ายทักษิณเข้ามาอยู่นั ่นเอง ซึ่งก็เป็นโจทย์ที่น่าใคร่ครวญอย่างมาก แต่การถอยหลังกลับไปเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบเพียงเพื่อหนีพรรคทักษิณนั้นเป็น แนวความคิดที่ดูถูกภูมิปัญญาคนไทยหรือไม่ และแน่นอนจะยิ่งทำให้สงครามกลางเมืองกลับจะยิ่งขยายตัวใหญ่โตยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้ปัญหาทักษิณก็ทำให้สังคมไทยแตกเป็นสองขั้วอยู่แล้วและเป็ นสงครามกลางเมืองทางน้ำลายที่ยังไม่มีการเสียเลือดเนื้อและหมิ่นเหม่เป็นอย่ างยิ่งหากกลุ่มพันธมิตรยังไม่ระมัดระวังการใช้คำพูดและใช้ลักษณะโจมตีบุคคลซ ึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งและจะทำให้การเคลื่อนไหวฟ่อไปในที่สุดคนจะถอยห่ างออกมาเพราะความไม่แน่ใจว่าพันธมิตรจะพามวลชนไปสู่อะไร?
การรับแนวค วามคิดการเมืองใหม่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยไม่สำรวจความเห็นประชาชนนั้นนับว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่งและทำให้ระบอบประชาธิปไตยถอยหลังเข้าคลองและงานเคลื่อน ไหวที่ดูเหมือนจะมีเจตนาดีต่อประเทศชาติกลับกลายเป็นมีวาระซ่อนเร้น แม้กลุ่มอมาตยาธิปไตยจะมีส่วนในการสร้างสรรค์สังคมไทยอยู่บ้าง กล่าวคือกลุ่มข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร เทคโนแครตผู้บริหารชั้นสูงทั้งในวงราชการและธุรกิจเอกชนแม้จะทรงอิทธิพลแต่ก ็เป็นเพียงชนชั้นนำที่ยังขาดรากฐานที่เข้าใจสังคมไทยอย่างลึกซึ้ง
กา รเคลื่อนไหวไล่ทักษิณรอบสองของพลังชนชั้นกลางและชาวบ้านที่มีพลังทางศีลธรรม ที่ตื่นรู้นั้น เป็นกลุ่มพลังที่ซึมซับความรักชาติรักประชาธิปไตยที่อย่างเห็นสังคมใหม่ที่ด ีกว่า แต่เขาไม่สามารถเข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศโดยผ่านกลไกอำนาจรัฐได้
ผ ู้นำการเคลื่อนไหวที่อยู่ในปีกพันธมิตรต้องทำการบ้านอย่างหนักและหาจุดจบให้ ได้จากการเคลื่อนไหวครั้งนี้และทางออกที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือการเปลี ่ยนผ่านอย่างสันติเปลี่ยนอำนาจรัฐใหม่เป็น "รัฐบาลแห่งชาติ" ที่มีตัวแทนมาจากผู้นำของเกษตรกร กรรมกร ชนชั้นกลาง กลุ่มอมาตยาธิปไตย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญสองส่วนคือหนึ่ง ดำเนินคดีความกับ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรมและปราศจากการแทรกแซง สอง ดำเนินการปฏิรูปการเมืองใหม่ให้เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงแล ะขจัดจุดอ่อนทีไม่สามารถเอาชนะกลุ่มเผด็จการรัฐสภาที่เข้ามากุมอำนาจรัฐได้ โดยระดมความคิดเห็นของผู้คนในสังคมอย่างแท้จริงและอาจทำการลงประชามติเพื่อใ ห้มีความชัดเจนมากขึ้นว่าประชาชนส่วนข้างมากต้องการจะเดินไปในทิศทางใด
....................................
อ ีกนิดสำหรับตัวแทนจากสาขาอาชีพที่หากเปลี่ยนจากการสรรหามาเป็นการเลือกตั้งก ็จะมีความชอบธรรมมากขึ้น กล่าวคือพัฒนาการประชาธิปไตยของไทยที่ก้าวกระโดดเร็วเกินไปส่วนหนึ่งอาจเกิด จากนักวิชาการที่ขาดความเข้าใจรากฐานของสังคมไทยและพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก ลุ่มพลังทางการเมืองและกลุ่มพลังทางเศรษฐกิจมีส่วนที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม ่ออก และภาพการเมืองที่ปลอยให้คนชายขอบและคนส่วนข้างมากในสังคมไม่มีเสียงหรือที่ นั่งในสภาก็ทำให้ภาคเศรษฐกิจของไทยดำเนินไปสู่สภาพ "รวยกระจุก จนกระจาย" มากขึ้น และผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจก็ยิ่งสามารถเข้าไปมีส่วนในการกำหนดทิศทางทางการเม ืองมากขึ้น และนำประเทศไทยไปสู่ทิศทาง "ทุนนิยมสามานย์" ที่ทำให้พี่น้องประชาชนไทยมีชีวิตอยู่อย่างยากจนข้นแค้นมากขึ้น สภาพครอบครัวล่มสลายและเต็มไปด้วยปัญหาสังคมนานัปการ
นั่นคือภาพที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ท ิศทางในการสร้างพัฒนาการทางการเมืองอย่างเป็นธรรมชาติก็คือการปล่อยให้ตัวแท นเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น สส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง การจดแจ้งพรรคการมืองเป็นไปได้โดยง่าย กระบวนการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีโครงสร้าง การบริหารการจัดการที่โปร่งใสตรวจสอบได้โดยที่มาของ กกต.อาจต้องให้ประชาชนมีส่วนในการเลือกด้วย
ผูแทนที่มาจากสาขาอาชีพเ ป็นไปได้หรือไม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งโดยเอาไปแทนที่สส.แบบสัดส่วน ส่วนจำนวนจะเป็นในอัตราส่วนเท่าไรกับ สส.แบบเลือกตั้งที่มาจากพรรคการเมืองก็คงต้องทำเป็นตุ๊กตาขึ้นมาเพื่อประเมิ นถึงจุดอ่อนจุดแข็งต่าง ๆ อาจเป็น 70 : 30 ก็ได้ เพราะมีที่มามาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน โดยอาจแบ่งกลุ่มอย่างที่คุณสนธิเคยนำเสนอเช่นแบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ ๆ คือเกษตรกร กรรมกร ชนชั้นกลางที่เป็นแรงงานรับจ้างและเจ้าของกิจการ กลุ่มอมาตยาธิปไตยอันประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่ละกลุ่มจะมีกี่เปอร์เซ็นต์นั้นก็ให้ดูจากความเป็นจริงจากบทบาทในการพั ฒนาประเทศ จำนวนประชากรของแต่ละกลุ่ม ฯลฯ โดยอาจเลือกตั้งแบ่งเป็นโซนเหมือนสส.แบบสัดส่วน โดยให้ผู้ลงคะแนนเลือก สส.แบบเลือกตั้งจากพรรคการเมืองกลุ่มหนึ่ง และเลือก สส. จากสาขาอาชีพ 5 กลุ่มจำนวนห้าคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งควรคุยถกเถียงในเรื่องช่องโหว่ต่าง ๆ อีกครั้งและหาทางเลือกที่ดีที่สุด
................................................
การเมืองใหม่อีกครั้ง เป็นการเสนอเพื่อเป็นตุ๊กตาให้ต่อยอดกันต่อนะครับ
ก ่อนอื่นที่มองเห็นจุดอ่อนคือการฟอร์มรัฐบาลจาก สส.สองส่วนนั้นจะสร้างเอกภาพได้อย่างไร เพราะ สส. ที่มาจากสาขาอาชีพเข้ามาในลักษณะที่กระจัดกระจาย แต่หากช่วงที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งถ้ามีการจับกลุ่มกันก่อนและให้ผู้มีสิท ธืออกเสียงได้รู้ว่ากลุ่มนั้น ๆ มีนโยบายในการที่จะเข้าไปผลักดันการสร้างชาติอย่างไร เช่น กลุ่ม A(เป็นกลุ่มอิสระชั่วคราว) ส่งตัวแทนแบบสาขาอาชีพลงในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ และสามารถหาเสียงให้กลุ่มในด้านนโยบายที่จะเอาไปทำหลังจากได้รับการเลือกตั้ งและอาจจะบอกว่าจะเป็นพันธมิตรกับ สส.แบบพรรคการเมืองพรรคใดด้วยก็ได้เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์สามารถพิจารณาในการใช ้สิทธิ์ได้มากขึ้น
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นสำหรับรัฐบาลอย่างมากก็คือเรื่ องการแปรพักตร์ของตัวแทนที่เป็นฐานเสียงในการเข้าร่วมรัฐบาล จะทำอย่างไรให้ระบบนี้ได้รัฐบาลที่อยู่ในลักษณะที่สมดุลทำงานได้ไม่มีเสียงป ริ่มน้ำ ซึ่งช่วงแรกอาจจะมีตัวแทนจากการสรรหาประมาณ 1 ใน 3 เพื่อเป็นพี่เลี้ยง และสส.ที่มาจากพรรคการเมืองและสาขาอาชีพก็อาจเป็นส่วนละ 1 ใน 3 เช่นกัน และกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป สส.ที่มาจากการสรรหาจะยกเลิกไป ให้มีตัวแทนมาจากการเลือกตั้งสองส่วน คือ สส. ที่มาจากพรรคการเมืองและสส. ที่มาจากสาขาอาชีพ
และที่ต้องต่อยอด เพื่มเติมคือการให้ความสำคัญของการเมืองภาคพลเมืองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การให้มีสภาพลเมืองรายจังหวัดเพื่อเป็นองค์กรตรวจสอบนอกสภา และที่มาขององค์กรอิสระต่าง ๆ ต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้โดยให้ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมมีส่วนในการส รรหาด้วย
รวมพล คนรักชาติ
ที่มา http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000074892
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น