++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Satisfaction of People in Using the Highway Number 24

Satisfaction of People in Using the Highway Number 24

สุธี ใบบัว (Sutee Baibua) *

ภูมิจิต เรืองเดช (Poomjit Ruangdej) **

ประชัน คะเนวัน (Prachan Kankwan) ***

วุฒินันท์ รามฤทธิ์ (Wutinun Ramrit) ***

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้ทางหลวงหมายเลข 24 โดยภาพรวม และรายด้านต่าง ๆ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ตามสถานภาพของบุคคล ผู้วิจัยได้ศึกษาประชากรที่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 24 ตอนอำเภอหนองกี่ ถึงอำเภอนางรอง ระหว่าง กม. 69 + 000 ถึง กม. 73 + 000 โดยการแวะเติมน้ำมันในสถานีบริการน้ำมันจำนวน 7 แห่งในเขตเทศบาลอำเภอนางรอง เพื่อเดินทางสู่จุดหมายปลายทาง การเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบ ความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T – test และ ค่า F – test ผลการวิจัยพบว่า

โดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการใช้ทางหลวงหมายเลข 24 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชน พบว่า สถานภาพเพศชายและเพศหญิงมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันในด้านลักษณะของสภาพผิวทางหลวงและไหล่ทาง ด้านเครื่องหมายจราจรและเครื่องหมายนำทาง และด้านสัญญาณไฟจราจรและไฟฟ้าแสงสว่าง ส่วนทางด้านความพึงพอใจที่แตกต่างกันนั้น ได้แก่ ด้านที่หยุดรถประจำทางและที่พักริมทางหลวง พบว่า สถานภาพเพศหญิงมีความพึงพอใจมากกว่าเพศชาย การเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชน โดยการจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม และรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพของบุคลากร ในการพัฒนาทางหลวงของประเทศให้มีมาตรฐาน และตอบสนองความต้องการของประชาชนด้านความพึงพอใจ

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ ,การใช้ทางหลวง

Key words : Satisfaction, Vsing the highway

* นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

** รองศาสตราจารย์สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


ABSTRACT

This research aimed to study and to compare the satisfaction of people on using the Highway Number 24 according to people’s status. The sample of study was the people who traveled between Km. 69 + 000 and Km. 73 + 000 and stopped at 7 gas stations in Nangrong Municipality. The data were collected by using some instrument that had been approved by experts and analyzed by using SPSS program and statistic techniques: mean, standard deviation, t-test and F-test. The results found were as follows:

As a whole, the satisfaction of the people on using the Highway Number 24 was at the moderate level. When sex was considered, there was a significant difference of the satisfaction on bus stops and ret area, women’s satisfaction being higher than men’s. But there was no significant difference on the surface and the pavement, traffic signs and directional signs and traffic lights and road lamps. Besides, no significant difference of satisfaction was either found when age, education and career were taken into consideration.

There also was some suggestion from the people that governmental organizations and other related ones support development of personnel’s quality and efficiency to help standardize the country’s highways and try to answer the needs of the people.

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น