++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรที่มีผลต่อการพัฒนาโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดบุรีรัมย์

Learning Processes of Farmers Affecting Development of The New Theory Farming Project for Sufficiency Economy : A Case Study
of BURIRAM Province
ภูมิเอก เขมกุลวานิช (Poomeak Keamakunvanitch) *
ดร. สุนันทา วีรกุลเทวัญ (Dr. Sunanta Virakuntaewan) **
อนันต์ ลิขิตประเสริฐ (Anan Likitpraseart) ***
วิจิตรา สังข์ศักดา (Wichitra Sangsakda) ****
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการเรียนรู้กับผลการพัฒนาโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านการจัดการฟาร์มและด้านระบบบัญชี และ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับผลการพัฒนาโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี พ.. 2541 ถึง พ.. 2544 ตามแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนเกษตรกรที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.. 2548 ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประกอบด้วย 20 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ จำนวน 274 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 10.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ ค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรด้านการจัดการฟาร์มและด้านระบบบัญชี ด้านเทคนิคและรูปแบบในการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านการจัดการฟาร์มและด้านระบบบัญชีในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. การเปรียบเทียบของกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทยลาว ไทยโคราช ไทยเขมร และไทยกูยพบว่ามีเพียง 3 กลุ่มชาติพันธุ์ยกเว้นไทยกูยที่มีผลการพัฒนาโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านการจัดการฟาร์มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านระบบบัญชีทั้ง 4 กลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน
3. ผลการพัฒนาโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งด้านสภาพแวดล้อมพบว่า ดิน มีความชุ่มชื้น อุดมสมบูรณ์ การกักเก็บน้ำไว้ในบ่อทำให้นำน้ำมาใช้ในการเกษตรเกิดประสิทธิภาพ ด้านสังคมพบว่าทำให้คนในครัวเรือนใช้เวลาไปกับการทำงานประกอบอาชีพ ไม่ไปเที่ยวเตร่หรือใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ตลอดจนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในการประกอบอาชีพเกษตรอื่นเสริม ด้านเศรษฐกิจพบว่าชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีการเลี้ยงปลาในบ่อเพื่อเสริมรายได้ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ สามารถพึ่งตนเองได้ ทำให้มีรายได้พอเพียงและเหลือเก็บ
4. จากผลการวิจัยดังกล่าวพบว่าเกษตรกรในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ยังขาดกระบวนการเรียนรู้ในด้านขั้นตอน เทคนิคและรูปแบบในการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทั้งนี้พิจารณาจากค่าความสัมพันธ์ (r) มีค่าปานกลางค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมเยียนไร่นาของเกษตรกรในโครงการเป็นประจำ การให้เกษตรกรในโครงการทุกครัวเรือนจัดทำบัญชีฟาร์ม ถ้าเกษตรกรในโครงการร่วมแรงร่วมใจและหน่วยงานของรัฐให้ความสนใจ สนับสนุน ให้คำแนะนำปรึกษา จัดอบรม สัมมนา สาธิต จัดอภิปรายกลุ่มบ่อย ๆ ครั้ง อันเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกษตรกรเกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีการร่วมกันคิดร่วมกันทำร่วมกันแก้ไขก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้สนองต่อแนวพระราชดำริต่อไปในอนาคต
ABSTRACT
The purposes of this research were : 1) to analyze the relationship between the learning processes with the affects of the Development of The New Theory Farming Project for Sufficiency Economy concerning the farm management and accounting system, and 2) to compare between the ethnic groups with the affects of the development of The New Theory Farming Project for Sufficiency Economy. The quantitative data were collected. The population and sample were 274 farmers involving in The New Theory Farming Project for Sufficiency Economy during 1994 to 1997 following the survey forms for the registration of the farmers who were ready to join in the application of the sufficiency economy philosophy projects at 2005 in 20 districts and 2 sub-districts from Department of Agriculture and Cooperation, Buriram province.
The instrument employed in collecting the quantitative data was the interview form and data analysis was done by using SPSS for Windows Version 10.0. The Statistics for data analysis included the percentage, mean, standard deviation (S.D.) , Pearson Product- Moment Correlation Coefficient and One-way ANOVA Design. The results revealed that:
1. The steps for arranging the learning processes of farmers concerning the farm management and accounting system, the learning techniques and models, and the learning involvement were related positively


with the effects of the development of the New Theory Farming Project for Sufficiency Economy concerning the farm management and accounting system with the statistical significance level of .01.
2. The comparison among the 4 ethnic groups-Lao Thai, Korat Thai, Khmer Thai, and Kui Thai revealed that the development of The New Theory Farming Project for Sufficiency Economy concerning the farm management of the 3 groups, except the Kui Thai, were different with the statistical significance level of .05. While the accounting system of the 4 groups were not different.
3. The affects of the development of The New Theory Farming Project caused the changes in 3 aspects i.e. the environment, the society, and the economy. Concerning the environment, it revealed the freshness and the rich of the soil, the water reserved in the ponds was used for cultivation with highest efficiency and with some fish raising for additional income. Concerning the society, it revealed the family members’ time spending on making-ends-meat instead of wandering around without usefulness including the further study on additional agriculturing. Concerning the economy, it revealed the better living of most of the farmers involved in The New Theory Farming Project who had enough food to eat, enough space to live, enough money to spend, and being self-reliance with enough income and enough money for some savings.
4. Results have shown that farmers in this project have no learning process in terms of step technique, form, and participating in learning. The determined correlation (r-value) was of a medium to low value. These results should be taken seriously by the government offices directly responsible and steps should be taken to correct the problems. In addition, routine visits should be made to the farmers in the project to promote the keeping of farm records by the farmers. If the farmers in the collaborative project and the concerned government offices support, advice, train, hold seminars and group discussion frequently, this will subsequently stimulate the learning processes of the farmers. The Farmers will then receive new knowledge to help them cope with the problems. This will also improve development substantially for the future, according to the King’s concept.
คำสำคัญ : กระบวนการเรียนรู้ เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง
Key words : Learning processes, New Theory Farming Project, Sufficiency economy
* นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2552 เวลา 22:58

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. - คณะไหนน่าเรียน ?
    - อยากเรียนนิติฯ แล้วจะเลือก ม.ไหนดี ?
    - ค่าเทอมแพง จะคุ้มค่าไหม ?
    - เรียนจบแล้ว จะหางานได้ไหม ?
    ทุกคำถาม มีคำตอบที่นี่
    สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัย ( www.urank.info/rank.php )

    ตอบลบ